คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

มารดาที่รู้สึกด้อยค่าเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_0712

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การรู้สึกด้อยค่ามักพบในมารดาที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยพบว่า มารดาที่รู้สึกด้อยค่าหรือมีอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งเดือนแรก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์นอกจากจะต้องใส่ใจกับการสังเกตการณ์เข้าเต้าและการกินนมที่เหมาะสมของทารกแล้ว ยังต้องสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของมารดาร่วมกันไปด้วยเสมอ เนื่องจากการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเกิดจากความพร้อมของทั้งมารดาและทารก

? ? ? ? ? แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับช่วยลดการเกิดการซึมเศร้าหลังคลอด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ในช่วงสามเดือนหลังคลอด2 และความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบในมารดาที่ให้นมแม่ร้อยละ 2.5 ขณะที่พบร้อยละ 19.4 ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่3

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:836-40.
  2. Figueiredo B, Canario C, Field T. Breastfeeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014;44:927-36.
  3. Tashakori A, Behbahani AZ, Irani RD. Comparison Of Prevalence Of Postpartum Depression Symptoms Between Breastfeeding Mothers And Non-breastfeeding Mothers. Iran J Psychiatry 2012;7:61-5.

?

 

 

การกินนมแม่จะช่วยให้ทารกอารมณ์ดี

 

IMG_0721

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การกินนมแม่นั้น ขณะที่มารดาให้นมบุตร ได้ส่งผ่านความรักความอบอุ่นผ่านทางการสัมผัส การสบตา และการพูดจาระหว่างการให้นม ซึ่งหากมารดาได้ใช้โอกาสนี้ในการสื่อสารและถ่ายทอดอารมณ์ไปยังทารก เชื่อว่าทารกจะสัมผัสและรับรู้ได้ อย่างไรก็ตาม อารมณ์ของทารกเป็นสิ่งที่วัดยาก มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการกินนมแม่กับอาการหงุดหงิดร้องกวนของทารก ซึ่งพบว่า ระยะเวลาของการกินนมแม่แปรผกผันกับการหงุดหงิดหรือร้องกวนของทารกที่อายุเก้าเดือน (OR = 0.98, 95% CI: 0.97-0.99)1 หมายความว่า ทารกที่กินนมแม่นานจะหงุดหงิดหรือร้องกวนน้อยกว่าทารกที่กินนมแม่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งอาจจะตีความเป็นนัยว่า ?ทารกอารมณ์ดีมากกว่า? นอกจากนี้ การให้ทารกกินนมแม่ยังช่วยพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกที่คลอดครบกำหนด โดยทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่กินนมผสมเมื่อเปรียบเทียบที่อายุหนึ่งปีครึ่ง เจ็ดปีครึ่งและแปดปี2 และทารกที่คลอดครบกำหนดจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นได้ดีกว่าทารกที่กินนมผสม3 รวมทั้งทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปดีกว่า4 และมีการพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเนื้อสมองสีขาวดีกว่าด้วย5

เอกสารอ้างอิง

  1. Taut C, Kelly A, Zgaga L. The Association Between Infant Temperament and Breastfeeding Duration: A Cross-Sectional Study. Breastfeed Med 2016.
  2. Lucas A, Morley R, Cole TJ, Lister G, Leeson-Payne C. Breast milk and subsequent intelligence quotient in children born preterm. Lancet 1992;339:261-4.
  3. Jorgensen MH, Hernell O, Lund P, Holmer G, Michaelsen KF. Visual acuity and erythrocyte docosahexaenoic acid status in breast-fed and formula-fed term infants during the first four months of life. Lipids 1996;31:99-105.
  4. Bouwstra H, Boersma ER, Boehm G, Dijck-Brouwer DA, Muskiet FA, Hadders-Algra M. Exclusive breastfeeding of healthy term infants for at least 6 weeks improves neurological condition. J Nutr 2003;133:4243-5.
  5. Isaacs EB, Fischl BR, Quinn BT, Chong WK, Gadian DG, Lucas A. Impact of breast milk on intelligence quotient, brain size, and white matter development. Pediatr Res 2010;67:357-62.

 

ลักษณะหัวนมมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

breast stimulation2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในการเข้าเต้าดูดนมของทารก ทารกจะอมหัวนมและลานนมเข้าไปในปาก ใช้ลิ้นที่ยื่นออกมากดไล่น้ำนมในท่อน้ำนมที่ลานนมโดยกดเข้ากับเพดานปาก แรงดูดของทารกร่วมกับกลไกน้ำนมพุ่ง (oxytocin reflex) จะช่วยให้น้ำนมไหลออกมาได้ดี ทารกดูดและกลืนน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ทารกมีหัวนมที่มีลักษณะหัวนมบอด แบนหรือสั้น อาจจะทำให้การอมหัวนมและลานนมในทารกบางรายอาจเลื่อนหลุดได้ง่าย และในกรณีที่ลักษณะหัวนมใหญ่ บวมและยาวก็อาจจะทำให้ทารกอมได้เฉพาะหัวนมโดยอมไม่ถึงลานนม การเข้าเต้าดูดนมอาจทำได้ยากขึ้น1 อย่างไรก็ตาม ทารกส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นปัญหากับลักษณะหัวนมของมารดา ทารกจะเรียนรู้และปรับตัวในการเข้าเต้า ในกรณีที่เป็นปัญหาในการเข้าเต้าได้ยาก อาจต้องใช้การป้อนนมจากการบีบหรือปั๊มนมในระยะแรก เมื่อทารกโตขึ้น อ้าปากได้กว้างขึ้น อมหัวนมและลานนมได้ลึกขึ้น จะสามารถเอาชนะอุปสรรคในเรื่องลักษณะหัวนมของมารดาได้ หากบุคลากรทางการแพทย์ได้อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงเรื่องนี้ มารดาลดความวิตกกังวลลง ความมั่นใจที่จะคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากขึ้น

? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย ความเชื่อเรื่องลักษณะของหัวนมที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีอยู่อย่างแพร่หลายและมีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องความยาวปกติ ความยาวหัวนมที่สั้นและลักษณะของหัวนมที่มีผลต่อการเข้าเต้าและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลายการวิจัย2-4 แต่ต้องจำไว้เสมอว่า จะมีทารกเพียงบางส่วนเท่านั้นที่อาจจะเข้าเต้าได้ยากขึ้นในระยะแรก ดังนั้น การไม่ไปตีตราว่ามารดามีปัญหาเรื่องหัวนมจนทำให้มารดาเชื่อว่าตนเองมีปัญหาจนให้นมไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ การเอาใจใส่ติดตามในการเข้าเต้าของมารดาและทารกในแต่ละคู่จนกระทั่งมารดาให้นมได้อย่างมั่นใจก่อนกลับบ้านในมารดาหลังคลอดทุกรายเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยหากมารดายังเข้าเต้าไม่ได้ดีและจำเป็นต้องอนุญาตให้กลับบ้าน การนัดติดตามดูอย่างใกล้ชิดในสัปดาห์แรกเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งยวด ซึ่งในสัปดาห์แรกเป็นเสมือนสัปดาห์ทองในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.
  3. Chanprapaph P, Luttarapakul J, Siribariruck S, Boonyawanichkul S. Outcome of non-protractile nipple correction with breast cups in pregnant women: a randomized controlled trial. Breastfeed Med 2013;8:408-12.
  4. Thanaboonyawat I, Chanprapaph P, Lattalapkul J, Rongluen S. Pilot study of normal development of nipples during pregnancy. J Hum Lact 2013;29:480-3.

ทารกมีน้ำนมไหล อันตรายหรือไม่

IMG_9424

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ทารกหลังคลอดใหม่ๆ หากได้รับฮอร์โมนเพศหญิงที่ผ่านไปจากมารดามาก อาจมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมโดยมีเต้านมขยาย (breast bud) และมีน้ำนมไหลได้ ร่วมกับอาจพบลักษณะของอวัยวะเพศหญิงบริเวณแคมบวมร่วมกับมีเมือกออกจากช่องคลอดได้ในกรณีที่ทารกเป็นเพศหญิง ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองในช่วงหนึ่งสัปดาห์หรืออย่างช้าหนึ่งเดือนเมื่อฮอร์โมนจากมารดาหมดไป ?ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์อาจให้คำปรึกษาและสร้างความเข้าใจให้กับมารดาและครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจว่ามารดายังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้

? ? ? ? ?เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ในสมัยก่อนในยุโรป ยุคที่มีความเชื่อเกี่ยวกับแม่มด ทารกที่มีน้ำนมไหลถูกเชื่อว่าเป็นทารกที่ถูกสาปจากแม่มด ซึ่งการแก้ไขต้องให้แม่มดถอนคำสาปหรือปราบแม่มด อย่างไรก็ตาม ความเชื่อหลายๆ อย่างในยุคก่อน เกิดจากความไม่รู้หรือไม่สามารถอธิบายได้ การช่างสังเกตและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์บนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์ จะสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเกิดเต้านมอักเสบในมารดาที่ให้นมลูกพบร้อยละ 8 ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด1 และพบร้อยละ 10.3-20 ในช่วงหกเดือนหลังคลอด2,3 มีการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ1-4 พบว่า การมีประวัติเต้านมอักเสบมาก่อนเพิ่มความเสี่ยง 1.74-4 เท่า (95%CI 1.07-2.81, 95%CI 2.64-6.11) มารดาที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเพิ่มความเสี่ยง 1.93 เท่า (95%CI 1.18-3.16) การผ่าตัดคลอดเพิ่มความเสี่ยง 3.52 เท่า (95%CI 1.09-11.42) มารดาที่รู้สึกเครียดเพิ่มความเสี่ยง 3.15 เท่า (95%CI 1.56-6.37) การให้นมก่อนที่น้ำนมจะมาเพิ่มความเสี่ยง 2.76 เท่า(95%CI 1.03-7.40) การมีหัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.44-3.4 เท่า (95%CI 1.00-2.07, 95%CI 2.04-5.51) การมีท่อน้ำนมอุดตันเพิ่มความเสี่ยง 2.43 เท่า (95%CI 1.68-3.49) การเริ่มให้นมในเต้านมอีกข้างเมื่อให้นมครั้งถัดไปเพิ่มความเสี่ยง 2.28 เท่า (95%CI 1.50-3.44) การใช้เครื่องปั๊มนมเพิ่มความเสี่ยง 3.3 เท่า (95%CI 1.92-5.62) และการใช้ครีมทาหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.83 เท่า (95%CI 1.22-2.73)

? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ประวัติการมีน้ำนมมาช้ากว่า 24 ชั่วโมงหลังคลอด ประวัติการแยกมารดาและทารกนานกว่า 24 ชั่วโมง และการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ระหว่างการให้นมยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดเต้านมอักเสบของมารดาด้วย ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่ในมารดากลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ หลีกการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้มารดาและทารกแยกจากกันหลังคลอด ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อยๆ ให้น้ำนมมาเร็ว ไม่ควรใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะสมหรือเริ่มเร็วเกินไป จัดท่ามารดาและทารกให้เข้าเต้าเหมาะสมเพื่อการดูดนมที่มีประสิทธิภาพ ลดการเจ็บหัวนมและเต้านม ท่อน้ำนมอุดตัน และควรดูดนมให้เกลี้ยงเต้าในเต้านมข้างเดิมในการดูดนมครั้งถัดไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเต้านมอักเสบได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.
  2. Tang L, Lee AH, Qiu L, Binns CW. Mastitis in Chinese breastfeeding mothers: a prospective cohort study. Breastfeed Med 2014;9:35-8.
  3. Kinlay JR, O’Connell DL, Kinlay S. Risk factors for mastitis in breastfeeding women: results of a prospective cohort study. Aust N Z J Public Health 2001;25:115-20.
  4. Foxman B, D’Arcy H, Gillespie B, Bobo JK, Schwartz K. Lactation mastitis: occurrence and medical management among 946 breastfeeding women in the United States. Am J Epidemiol 2002;155:103-14.

?