คลังเก็บป้ายกำกับ: งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (1)

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (20)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานหญิงแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง (Lived experience of breastfeeding among incarcerated women at one prison in lower northern area) โดยประทุมา? ฤทธิ์โพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิจัยประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานหญิงแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การดำเนินกระบวนการกลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังที่คลอดลูกและมีหรือเคยมีเด็กติดผู้ต้องขังไม่เกิน 1 ปี จำนวน 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังขาดอิสรภาพและเข้ามาสู่ที่ทัณฑสถานพร้อมการตั้งครรภ์ ประสบการณ์ที่เผชิญมี 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ความรู้สึกไม่แน่ใจต่อบทบาทมารดา ระยะที่ 2 ภาวะอารมณ์สองฝักสองฝ่ายที่เลี้ยงลูกในทัณฑสถาน ระยะที่ 3 เผชิญสถานการณ์ปัญหาและทุกข์ใจในชีวิต และระยะที่ 4 เฝ้ารอคอยอิสระเสรีและเตรียมความพร้อมในการแสดงบทบาทมารดาที่ดี สำหรับขั้นตอนความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทัณฑสถาน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพร้อมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่เลี้ยงในทัณฑสถาน ขั้นตอนที่ 2 หนึ่งปีกับบทบาทหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทัณฑสถาน ขั้นตอนที่ 3 พรากจากบุตรอันเป็นที่รักหลังกฎอนุญาตเลี้ยงลูกในทัณฑสถานหนึ่งปี และขั้นตอนที่ 4 ยอมรับกฎแห่งการพลัดพราก สรุปประสบการณ์ที่หญิงในทัณฑสถานต้องเผชิญและขั้นตอนความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีระยะและขั้นตอนที่อธิบายได้ ความเข้าใจในประสบการณ์และแนวคิดของผู้ต้องขังจะทำให้การเสริมพลังอำนาจเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้อย่างเหมาะสม

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (19)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ผลการใช้สื่อ 3 มิติคัดกรองเต้านมด้วยตนเองของหญิงตั้งครรภ์ (The results of ?3D media on self breast screening of pregnant women) โดยวริญญา คงพิจิตร และละมุล คงเพชร โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้สื่อ 3 มิติช่วยในการคัดกรองเต้านมด้วยตนเองกับการตรวจคัดกรองเต้านมแบบไม่ใช้สื่อในหญิงตั้งครรภ์ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 ราย พบว่าหญิงตั้งครรภ์ตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบไม่ใช้สื่อได้คะแนนการตรวจที่ถูกต้องในเรื่องลักษณะเต้านม ขนาดลานนม ความยืดหยุ่นของลานนม ชนิดหัวนมด้านซ้ายและด้านขวาคิดเป็นร้อยละ 58.27, 65.47, 77.70, 36.69, 34.53 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่นำสื่อ 3 มิติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับการตรวจด้วยตนเองสามารถคัดกรองได้ถูกต้องในเรื่องเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 96.40, 100, 100, 98.56, 100 ตามลำดับ สรุปการนำสื่อ 3 มิติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องสูงกว่าการที่มารดาตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองโดยไม่ใช้สื่อ

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (18)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการผ่านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Model development of breastfeeding support in workplaces using empowerment process) โดยประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ และคณะ เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการผ่านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิด Conger & Kanungo การเสริมสร้างพลังอำนาจ มี 6 กระบวนการ ได้แก่ การจุดประกายความรับผิดชอบต่อสังคม การสะท้อนจุดอ่อนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การบูรณาการนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานสนับสนุนสวัสดิการของบุคลากร การสนับสนุนข้อมูลและแนวทางดำเนินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ 5) เสริมพลังบทบาทการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของลูกจ้าง และการติดตามและสนับสนุนการเป็นต้นแบบสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการศึกษาทำโดยการสอบถามผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการลูกจ้าง จำนวน 100 แห่ง? และพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 2 แห่งด้วยการประเมินผลจากลูกจ้างหลังคลอด การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า การให้ความสำคัญการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ลูกจ้างอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.57-5.82? และมีเพียงร้อยละ 40 ที่จัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรดำเนินการ สรุปการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านกระบวนการเสริมอำนาจได้ผลปานกลาง และยังมีการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรดำเนินการน้อย

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (17)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ตู้นมพอเพียง ฝากได้ไม่จำกัด (Sufficient milk storage is unlimited) โดยรติกาล เลิศศิริ อนงค์ แหลมเขาทองและดาวรุ่ง บัวผัน โรงพยาบาลแปลงยาว เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการเก็บน้ำนมแม่เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเลียงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่แม่ทำงานนอกบ้านและมีกำลังทรัพย์น้อย จึงได้จัดบริการรับฝากนมแม่ขึ้น โดยเปิดบริการรับฝาก-เบิก จ่ายนมได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการปรับให้มีสมุดคู่ฝากประจำตัวผู้รับบริการเพื่อให้มารดาทราบปริมาณนมใน stock ของตนเองและให้มีเชือกสีประจำตัวผู้รับบริการเพื่อสะดวกในการค้นหา มีการตรวจเช็ค stock นมทุกเดือน พบว่ามารดามีที่สำรองในการจัดเก็บน้ำนมเพิ่มขึ้น โดยไม่มีปัญหาเรื่องตู้เก็บนมเต็ม

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (16)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของทารกเกิดก่อนกำหนด (Effect of program enhancing Self-efficacy in breastfeeding with family?s participation on duration of breastfeeding and weight gain in preterm infant) โดยพัชรพร แก้ววิมล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิจัยผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อระยะเวลาการให้นมแม่และน้ำหนักตัวทารก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองจะได้ดูสื่อวิดิทัศน์เกี่ยวกับทารกเกิดก่อนกำหนดและวางแผนการดูแลทารกร่วมกัน? ครอบครัวจะได้รับความรู้เรื่องนมแม่ตั้งแต่ระยะที่ 1 (วันที่ 1-5) เริ่มฝึกบีบเก็บน้ำนม ระยะที่ 2 (วันที่ 6-14) ครอบครัวช่วยเหลือประคับประคองให้บีบเก็บน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 3 (วันที่ 15-60) ทารกฝึกดูดนมจากเต้าและประเมินความพร้อมก่อนกลับบ้าน มารดาจะบันทึกข้อมูลทั้งหมดในแบบบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชุดที่ 1-3 และผู้วิจัยบันทึกน้ำหนักตัวของทารกลงบนกราฟ ผลการศึกษาพบว่าทารกกลุ่มทดลองมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (2,929.23 ?403.63 กรัม) สูงกว่ากลุ่มควบคุม(2,615 ?360.22 กรัม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมารดากลุ่มทดลองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (เฉลี่ย62.67 ?13.11วัน) นานกว่ากลุ่มควบคุม (46.93 ?9.40วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลทารกจะช่วยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องและทารกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากการได้รับนมแม่

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์