คลังเก็บหมวดหมู่: คลอดปกติไม่ได้ จะทำอย่างไร?

คลอดปกติไม่ได้ จะทำอย่างไร?

การคลอดทางหน้าท้อง

?การคลอดทางหน้าท้อง

? ? ? ? ? การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอด? ทางการแพทย์เรียก? ซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section)? จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้? เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่า และเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติ? โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้องจึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติ? คุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัด? แต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัด? การทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอดจะลดความวิตกกังวลในการผ่าตัดลงได้

? ? ? ? ? ขั้นตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอด? เริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ? ให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะ? ย้ายเข้าห้องผ่าตัด? เตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบหรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลัง? ซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารกและอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้?? การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วย? หลังได้รับยาระงับความรู้สึกแพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง? แผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือ? แผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าวกับแผลตามขวางหรือแผลบิกินี? ซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อย? สำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอดและไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหมหรืออาจใช้กาวปิดแผลผ่าตัดซึ่งไม่ต้องตัดไหมเช่นเดียวกัน? การเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่? ลักษณะของแผลผ่าตัด? แรงตึงของแผล? และลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคน? ดังนั้นคุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยและระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ? มากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็น? หลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้วจะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง? จากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด? สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด? ปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน? 3-5 วันหลังคลอด

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

การคลอดทารกที่ส่วนนำเป็นก้น

 

? ? ? ? ? ทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น? เมื่อครบกำหนดคลอดพบ 3 ใน 100 รายของการคลอด การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น? จะยากกว่าปกติ? เนื่องจากศีรษะที่เป็นส่วนที่โตที่สุดของร่างกายจะคลอดเป็นลำดับสุดท้าย ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำคลอด? การเลือกวิธีการคลอดว่าจะคลอดทางช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องนั้น? ขึ้นอยู่กับ? ลำดับครรภ์? ขนาดทารก ลักษณะอุ้งเชิงกรานของแม่และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น สายสะดือย้อย รกเกาะต่ำ ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดนั้นคุณแม่จะได้รับคำแนะนำเรื่องข้อมูลจากแพทย์และทำการตัดสินใจพร้อมครอบครัว ปัจจุบันแนวโน้มการคลอดทางช่องคลอดของทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นลดน้อยลง ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตาม การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องมีกุมารแพทย์ร่วมดูแลขณะทำการคลอดด้วยเสมอ

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

? ? ? ? ? หลังจากคุณแม่เข้าสู่ระยะเบ่งคลอดแล้ว ในกรณีที่มีความผิดปกติของท่าของทารก ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ความผิดปกติของแรงเบ่งของแม่หรือแรงหดรัดตัวของมดลูก การคลอดอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด โดยคุณหมอจะพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือไม่ร่วมกับปรึกษาคุณแม่และชี้แจงขั้นตอนการช่วยคลอดและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

?เครื่องมือที่ใช้ช่วยคลอดมี 2 ชนิดคือ

  1. คีมช่วยคลอด
  2. เครื่องดูดสุญญากาศ

เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ใช้ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง? โรคหัวใจ เป็นต้น? หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรีบให้คลอดในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้วและทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด? การเลือกใช้เครื่องมือช่วยคลอดแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับ? ท่าของทารก? ความชำนาญของผู้ทำคลอด? และความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบทำคลอด

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยใช้คีม? ก่อนที่จะช่วยคลอด แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณอุ้งเชิงกราน แล้วสอดคีมเข้าไปด้านข้างของศีรษะทารกทีละข้าง? จากนั้นจึงทำการดึงอย่างนุ่มนวลผ่านช่องคลอด? คุณแม่อาจช่วยการคลอดได้โดยเบ่ง? เมื่อศีรษะเด็กเคลื่อนลงมาต่ำจึงทำการตัดฝีเย็บ? แล้วทำคลอดส่วนศีรษะ คลายคีมออก ทำคลอดส่วนลำตัวและแขนขาตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้ มักพบรอยแดงบริเวณคีมคีบ? ซึ่งจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยเครื่องสุญญากาศ? เช่นเดียวกันจะต้องทำการฉีดยาบริเวณอุ้งเชิงกราน? แล้วใส่โลหะกลมหรือยางซิลิโคนรูปร่างคล้ายถ้วยเล็กๆ เข้าไปดูดกับหนังศีรษะทารกจากนั้นดูดอากาศในถ้วยออกเพื่อให้เป็นสุญญากาศแล้วดึงให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาพร้อมกับแรงเบ่งของคุณแม่? เมื่อศีรษะลงมาต่ำ ตัดฝีเย็บ ทำคลอดส่วนศีรษะปิดเครื่องดูดสุญญากาศ ถ้วยจะหลุดออก แล้วทำคลอดส่วนที่เหลือของทารกตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้? มักมีศีรษะนูนเป็นลักษณะคล้ายจุก ซึ่งเกิดจากแรงดูดของเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งปกติจะหายไปใน 2-3 วัน

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด? หากไม่พบภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และทารก คุณแม่สามารถจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ในระยะเดียวกันกับการคลอดปกติ

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์