คลังเก็บหมวดหมู่: คุณพร้อมจะเป็น ?คุณแม่? หรือยัง?

คุณพร้อมจะเป็น ?คุณแม่? หรือยัง?

การมีน้ำนมมาช้ามีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หลังมารดาคลอด หากน้ำนมมารดามาช้ากว่า 72 ชั่วโมงหรือ 3 วันหลังคลอดจะได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะน้ำนมมาช้า ซึ่งภาวะน้ำนมมาช้าจะสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในเดือนที่สามและเดือนที่หกหลังคลอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และร้อยละ 14 ตามลำดับ1 ดังนั้น การลดหรือช่วยแก้ไขปัญหาการมีน้ำนมมาช้าจะเป็นกระบวนการเชิงรุกในการช่วยลดปัญหาการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดและการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหกเดือนหลังคลอด ซึ่งการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างน้ำนมแก่มารดาและการช่วยกระตุ้นให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และการให้ทารกกระตุ้นดูดนมแม่บ่อย ๆ วันละ 8-12 ครั้งในมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำนมมาช้าจะช่วยลดปัญหานี้ได้

เอกสารอ้างอิง

1.        Huang L, Xu S, Chen X, et al. Delayed Lactogenesis Is Associated with Suboptimal Breastfeeding Practices: A Prospective Cohort Study. J Nutr 2020;150:894-900.

อาหารขณะที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหลังคลอด การดูแลเรื่องอาหารของมารดาในช่วงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะทำให้นมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก โดยทั่วไประหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและครบส่วน วิตามินและแร่ธาตุในนมแม่ที่มีปริมาณขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาและปริมาณสารอาหารที่สะสมอยู่ในร่างกายได้แก่ วิตามิน A, B1, B2, B3, B6, B12, C, D กรดไขมัน และไอโอดีน ส่วนปริมาณแคลอรี่ โปรตีน โฟเลต และแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาที่รับประทาน

??????????? สำหรับวิตามินที่แนะนำให้เสริมในทารก ได้แก่ วิตามิน D และวิตามิน K เนื่องจากในน้ำนมพบวิตามินเหล่านี้ต่ำ สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้เสริมวิตามินเหล่านี้โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงการรับประทานอาหารและอาหารเสริมที่ให้แก่มารดา1-5

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Butte NF, Garza C, Stuff JE, Smith EO, Nichols BL. Effect of maternal diet and body composition on lactational performance. Am J Clin Nutr 1984;39:296-306.

2.???????????? Greer FR, Marshall S, Cherry J, Suttie JW. Vitamin K status of lactating mothers, human milk, and breast-feeding infants. Pediatrics 1991;88:751-6.

3.???????????? Greer FR, Marshall S. Bone mineral content, serum vitamin D metabolite concentrations, and ultraviolet B light exposure in infants fed human milk with and without vitamin D2 supplements. J Pediatr 1989;114:204-12.

4.???????????? Pietschnig B, Haschke F, Vanura H, et al. Vitamin K in breast milk: no influence of maternal dietary intake. Eur J Clin Nutr 1993;47:209-15.

5.???????????? Greer FR, Mummah-Schendel LL, Marshall S, Suttie JW. Vitamin K1 (phylloquinone) and vitamin K2 (menaquinone) status in newborns during the first week of life. Pediatrics 1988;81:137-40.

?

 

คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่

คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่

 

1. อายุเท่าไรนะ ที่เหมาะสมจะมีบุตร ?
? ? ? ? ? อายุที่เหมาะสมของสตรีคือ 20-30 ปี ปัจจุบันผู้หญิงจะแต่งงานช้าลงและมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นการมีบุตรจะเกิดขึ้นยาก การแท้งจะพบสูงขึ้น และในผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะเสี่ยงต่อการมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ (Down?s syndrome) ซึ่งเป็นลักษณะของเด็กปัญญาอ่อนประเภทหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมซึ่งเป็นสารพันธุกรรม ความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดนี้พบสูงขึ้นตามอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น การตรวจน้ำคร่ำเป็นทางเลือกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบความผิดปกติชนิดนี้ก่อนคลอดได้ สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 18 ปี มักมีปัญหาเรื่องการให้กำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อยและทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปัญหาเรื่องการไม่เตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ความไม่ต้องการมีบุตร ปัญหาเรื่องยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

2. รับประทานอาหารดี มีประโยชน์และเหมาะสมไหม ?
? ? ? ? ??คุณควรมีโอกาสที่จะมีการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์และมีบุตรที่แข็งแรงได้ หากเลือกรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และกินผักผลไม้เป็นนิสัย พยายามรับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและในปริมาณที่พอเหมาะ สำหรับในคนไทย การเพิ่มโปรตีนโดยเฉพาะจากเนื้อปลาที่ย่อยง่ายและการเพิ่มอาหารจำพวกนมเพราะค่าเฉลี่ยของการรับประทานนมในคนไทยยังน้อยยังมีความจำเป็น ส่วนผักผลไม้ในประเทศไทยมีค่อนข้างหลากหลายอยู่แล้ว งดอาหารดิบหรือปรุงไม่สุก หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่รักษาสิวหรือลดความอ้วนควรงดยาที่ใช้ เพื่อหลักเลี่ยงอันตรายเมื่อเกิดการตั้งครรภ์

 

3. ออกกำลังเพียงพอหรือไม่ ?
? ? ? ? ??คุณควรพยายามออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ควรเลือกออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำหรือวิ่งเหยาะๆ อาจพิจารณาออกกำลังกายโดยเลือกเล่นชนิดกีฬาที่ชอบก็ได้ โดยในการออกกำลังกายควรเลือกกีฬากลางแจ้งที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้แรงมากแต่มีกิจกรรมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 นาทีและสัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าสามครั้ง เมื่อมีสุขภาพแข็งแรง เซลล์สืบพันธุ์ก็จะมีความสมบูรณ์ไปด้วย

 

4. มีโรคประจำตัวไหม ?
? ? ? ? ??ถ้าคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เสมอ เพราะการตั้งครรภ์ขณะที่โรคยังมีความรุนแรงอาจเป็นอันตรายแก่ทั้งมารดาและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยาที่ใช้ในการรักษาอาจส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการวางแผนในช่วงที่โรคไม่กำเริบและควบคุมอาการได้ดี ผลของการตั้งครรภ์ก็จะดีตามไปด้วย

 

5. ในครอบครัวของทั้งสองฝ่าย มีโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ ?
? ? ? ? ??จะรู้ได้อย่างไรว่ามีโรคทางพันธุกรรม อาจจะสังเกตได้จากคุณ สามี พ่อแม่ หรือญาติใกล้ชิดมีความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดอะไรบ้าง โดยโรคบางอย่างสามารถจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย (โรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง พบมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย) โรคผนังหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคฮีโมฟีเลีย (โรคที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด จะทำให้เลือดไหลไม่หยุด) เป็นต้น ถ้าคุณ สามี พ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคดังกล่าวอาจถ่ายทอดมาสู่ลูกของคุณได้ จึงควรขอคำปรึกษาจากสูติแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เพื่อรับทราบความเสี่ยง วางแผนการป้องกันและการตรวจสอบความพิการก่อนการคลอดได้อย่างเหมาะสม

 

6. ได้รับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันมาก่อนไหม ?
? ? ? ? ??หัดเยอรมัน อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ โดยเฉพาะหากเป็นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรเข้ารับการตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์เสมอ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนถ้าพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน และหลังจากฉีดวัคซีนควรคุมกำเนิดอีกอย่างน้อย 3 เดือน สำหรับผู้ที่จำไม่ได้ว่าเคยเป็นหัดเยอรมันหรือได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง สามารถเจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกันได้ โดยหากมีภูมิคุ้มกันแล้วจะมีอยู่ตลอดชีวิต

 

7. เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ?
? ? ? ? ??โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ โรคบางชนิดแสดงอาการชัดเจน เช่น หนองใน แต่บางชนิดอาจไม่แสดงอาการ เช่น ซิฟิลิส (syphilis) พาหะไวรัสตับอักเสบบี การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือโรคเอดส์ ดังนั้น การตรวจเลือดก่อนการวางแผนการตั้งครรภ์จะทำให้สามารถรักษาและวางแผนการตั้งครรภ์ได้เหมาะสม

 

8. ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ไหม ?
? ? ? ? ??ถ้าอยากให้ลูกมีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้องหยุดเหล้าและบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ เพราะทั้งสองอย่างนี้มีผลต่อการเจริญเติบโต และความพิการของการทารกในครรภ์ได้ สำหรับยาเสพติดอื่นๆ ก็ไม่ควรใช้ในระหว่างการเตรียมตัวตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน

 

9. คุณและครอบครัวมีความพร้อมทางด้านจิตใจและเศรษฐานะที่จะเป็นคุณแม่หรือไม่ ?
? ? ? ? ??เมื่อทุกอย่างพร้อม ต้องกลับมามองความพร้อมของครอบครัวในด้านจิตใจว่า คุณและสามีพร้อมที่จะเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่หรือไม่ มีเวลาที่จะให้กับการให้ความอบอุ่นและการเลี้ยงดูบุตรหรือไม่ สำหรับครอบครัวคนไทยปู่ย่าตายายก็มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูเด็ก พี่เลี้ยงอาจจะจำเป็นในยุคนี้ที่ผู้หญิงทำงานแต่หายากและมีค่าจ้างสูง จึงจะต้องมองสภาพแวดล้อมของครอบครัว ฐานะการเงินเพื่อจะได้วางแผนสร้างครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์และมีความสุข

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

คุณพร้อมจะเป็น ?คุณแม่? หรือยัง?

คุณพร้อมจะเป็น ?คุณแม่? หรือยัง?

คุณพร้อมจะเป็น ?คุณแม่? หรือยัง?

? ? ? ? ?เมื่อคุณคิดจะเป็นคุณแม่? การวางแผนล่วงหน้า? จะทำให้การตั้งครรภ์และการมีบุตรมีความสมบูรณ์แบบ? การวางลำดับขั้นตอนอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่เพิ่มให้คุณมีโอกาสการตั้งครรภ์สูงขึ้นเท่านั้น? ยังให้โอกาสแก่คุณที่จะมีลูกที่มีความสมบูรณ์และปกติด้วย? การเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์คู่สมรสควรมีการเตรียมตัวอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 เดือนและเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ในช่วงเดือนแรกๆ ของการตั้งครรภ์จะเป็นช่วงเวลาที่เกิดความกระทบกระเทือนและเกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ง่ายที่สุด ดังนั้น การรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์และกินอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ จะทำให้มั่นใจได้ว่า คุณได้เตรียมพร้อมแล้วสำหรับลูกน้อยในครรภ์

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์