คลังเก็บป้ายกำกับ: การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรทำอย่างไร

IMG_0726

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติมีทั้งการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขาดความครบถ้วนในการให้การดูแล รายละเอียดที่ต้องประเมินสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

  • ทบทวนประวัติฝากครรภ์ ประวัติการคลอด และการดูแลทารกหลังเกิดใหม่
  • พูดคุยกับมารดาถึงเวลาและกระบวนการที่มารดาให้นมลูกครั้งแรกหลังคลอด
  • สอบถามมารดาว่า เคยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนหรือไม่
  • มารดาปฏิบัติอย่างไรในการให้นมลูก และรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทารกจำเป็นต้องกระตุ้นหรือปลุกให้ตื่นเพื่อกินนมหรือไม่
  • ทารกเข้าเต้าง่ายหรือกระตือรือร้นที่จะกินนมหรือไม่
  • ทารกได้รับการเข้าเต้าเพื่อให้นมกี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  • ทารกได้รับการเสริมด้วยอาหารอื่นใดนอกจากนมแม่หรือไม่
  • จำนวนครั้งในการเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกแฉะใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระของทารกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • มารดารู้สึกสบายในการให้นมหรือมีการเจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • มารดารับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า หากบุคลากรทางการแพทย์ให้การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความตั้งใจและขั้นตอนในการให้นมลูกซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ จะทำให้มีข้อมูลที่จะให้คำแนะนำมารดาและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรูปแบบอื่น

latch1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีการประเมินในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ได้แก่ การประเมินเบื้องต้นข้างเตียง โดยใช้หลักคำย่อ ABC ซึ่งได้แก่ A คือ attachment หมายถึงการอ้าปากอมหัวนมและลานนม B คือ breast milk production หมายถึงการสร้างน้ำนม C คือ calorie หมายถึงพลังงานที่ทารกได้รับ หากมีการอ้าปากอมหัวนมและลานนมดี มีการสร้างน้ำนมดี ทารกได้รับพลังงานที่เพียงพอ น่าจะแสดงถึงการเลี้ยงลูกนมแม่น่าจะดี การใช้แบบสังเกตการให้นมทารก การจดบันทึกการให้นมลูก การสังเกตอาการแสดงของการให้นมลูกที่มีประสิทธิภาพของมารดาและทารก การใช้การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมแม่ และการใช้กราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของทารกขององค์การอนามัยโลก

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน

มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ได้แก่ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นดูดนมและการเข้าเต้า
ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก
สังเกตเห็นการดูดนมแรง
มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง
มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้
หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผล
ไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไร โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อสำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-953

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 6)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Lactation Assessment Tool (LAT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน รายละเอียด
การเข้าเต้า สังเกตทารกตอบสนองต่อการกระตุ้น คาบอมหัวนมและลานนม ประกบปากและดูดนม
มุมของการอ้าปากที่เต้านม อย่างน้อย 160 องศา
ริมฝีปากปลิ้นออก ริมฝีปากบนและล่างไม่หุบเข้า
ตำแหน่งศีรษะทารก จมูกและคางติดกับเต้านม
เส้นแนวของแก้มทารก เส้นแนวของแก้มทารกเรียบ
ระดับความสูงของทารกที่เต้านม จมูกจะอยู่ตรงกับหัวนมขณะเริ่มดูดนม
การหมุนหันลำตัวของทารก หน้าอกทารกจะติดกับหน้าอกมารดา
ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา ทารกอยู่ในแนวระดับพาดข้ามหน้าอกมารดา
พลศาสตร์การดูดนม ลักษณะการดูดและกลืนเป็นจังหวะ โดยมีอัตราการดูดต่อการกลืน 2 ต่อ 1หรือ 1 ต่อ 1 และเห็นการเคลื่อนไหวของเต้านมเป็นจังหวะตามการดูดนม

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 9 ตัวแปรคือ การเข้าเต้า มุมของการอ้าปากที่เต้านม ริมฝีปากปลิ้นออก ตำแหน่งศีรษะทารก เส้นแนวของแก้มทารก ระดับความสูงของทารกที่เต้านม การหมุนหันลำตัวของทารก ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา และพลศาสตร์การดูดนม ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีการเจ็บเต้านม โดยหากปฏิบัติได้ตามเกณฑ์จะลดความเจ็บปวดในของเต้านมลง3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.???????? Cadwell K, Turner-Maffei C, Blair A, Brimdyr K, Maja McInerney Z. Pain reduction and treatment of sore nipples in nursing mothers. J Perinat Educ 2004;13:29-35.

4.???????? Blair A, Cadwell K, Turner-Maffei C, Brimdyr K. The relationship between positioning, the breastfeeding dynamic, the latching process and pain in breastfeeding mothers with sore nipples. Breastfeed Rev 2003;11:5-10.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ The Mother?Baby Assessment (MBA)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียดที่ต้องสังเกต

สัญญาณความพร้อมในการดูดนม (signaling)

1

มารดา: เฝ้ามองและสังเกตลักษณะของทารก โดยอาจจะอุ้มจับ ขยับหรือโยกตัว พูดกับลูก กระตุ้นลูกหากลูกง่วง ซึมหรือสับสน

1

ทารก: ลักษณะความพร้อมในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง
ท่าทางในการดูดนม (position)

1

มารดา: ประคองลูกให้อยู่ในท่าทีดีในการเข้าเต้า ลำตัวลูกโค้งงอเล็กน้อย โดยด้านหน้าของลำตัวของลูกสัมผัสกับลำตัวแม่ ศีรษะและไหล่ของลูกได้รับการประคองไว้

1

ทารก: ลูกจะตอบสนองต่อการกระตุ้นของเต้านมได้ดี โดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง
การเข้าเต้า (fixing)

1

มารดา: จับเต้านมช่วยลูกเมื่อจำเป็น นำลูกเข้าแนบชิดเมื่อลูกอ้าปากกว้าง อาจบีบน้ำนมช่วย

1

ทารก: การเข้าเต้า โดยลูกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน
การไหลของน้ำนม (milk transfer)

1

มารดา: รู้สึกกระหายน้ำ ปวดมดลูก น้ำคาวปลาเพิ่มขึ้น ปวดหรือเสียวเต้านม ผ่อนคลาย ง่วงนอน มีน้ำนมไหลจากเต้านมอีกข้าง

1

ทารก: ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากลูก ลูกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที
การหยุดดูดนม (ending)

1

มารดา: รู้สึกโล่งสบายเต้านม โดยให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะนุ่มหลังการให้นมลูก ไม่พบก้อน ไม่ตึงคัดหรือเจ็บหัวนม

1

ทารก: ปล่อยเต้านมออกมาเอง อิ่ม ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ สัญญาณความพร้อมในการดูดนม ท่าทางในการดูดนม การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การไหลของน้ำนม และการหยุดดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาล การนำมาใช้ทำโดยใช้ติดตามพัฒนาการมารดาและทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3 ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบว่ามี 0.33-0.664

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Mulford C. The Mother-Baby Assessment (MBA): an “Apgar score” for breastfeeding. J Hum Lact 1992;8:79-82.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

4.???????? Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.