คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การกินนมแม่ช่วยป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูง

                รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                     ไขมันในเลือดสูงเป็นได้ทั้งในส่วนของโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่สูง การให้ทารกจะช่วยป้องกันการเกิดไขมันในเลือดจากโคเลสเตอรอลที่สูงเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า การกินนมแม่จะมีความสัมพันธ์กับระดับโคเลสเตอรอลที่ต่ำกว่าเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกินนมแม่อย่างเดียว1 กลไกที่อธิบายเรื่องนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่ในนมแม่มีโคเลสเตอรอลที่สูง ทำให้ร่างกายทารกถูกตั้งระบบการเผาพลาญหรือเมตาบอลิซึมที่ดีของไขมันนี้ไว้ตั้งแต่ในระยะทารก เพื่อควบคุมให้ระดับโคเลสเตอรอลมีระดับที่เหมาะสม และระบบนี้ทำงานอย่างต่อเนื่องเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Owen CG, Whincup PH, Kaye SJ, et al. Does initial breastfeeding lead to lower blood cholesterol in adult life? A quantitative review of the evidence. Am J Clin Nutr 2008;88:305-14.

 

การกินนมแม่ช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง

                รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ เส้นเลือดในสมองแตกที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์และอัมพาตได้ การให้ทารกได้กินนมแม่จะป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า การกินนมแม่จะช่วยป้องกันความดันโลหิตขึ้นสูงในเด็กอายุ 7 ปี1 ซึ่งการกินนมแม่จะมีผลต่อดีต่อความดันโลหิตทั้งในขณะที่หัวใจบีบตัวและคลายตัว2,3 สำหรับกลไกการป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงเชื่อว่าเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Hosaka M, Asayama K, Staessen JA, et al. Breastfeeding leads to lower blood pressure in 7-year-old Japanese children: Tohoku Study of Child Development. Hypertens Res 2013;36:117-22.
  2. Amorim Rde J, Coelho AF, de Lira PI, Lima Mde C. Is breastfeeding protective for blood pressure in schoolchildren? A cohort study in northeast Brazil. Breastfeed Med 2014;9:149-56.
  3. Martin RM, Gunnell D, Smith GD. Breastfeeding in infancy and blood pressure in later life: systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2005;161:15-26.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือทางเลือก

IMG_3957

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารก ซึ่งจะช่วยให้ทารกเจริญเติบโต เฉลียวฉลาด และมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยทั่วไปมารดาที่คลอดบุตรควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่บางครั้งมีคำถามที่เกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือเป็นทางเลือกที่มารดาสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกที่จะให้นมบุตรหรือไม่ ก่อนที่ตอบคำถามนี้คงต้องมาดูถึงความหมายของคำว่า ?หน้าที่? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน คำว่า หน้าที่ หมายถึง กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ จะมีคำว่า ?ต้อง? และ ?ความรับผิดชอบ? ซึ่งเป็นการกำหนดหรือบังคับกระทำด้วยมีผลต่อความรับผิดชอบ หากไม่ปฏิบัติจะขาดความรับผิดชอบ ดังนั้น หากตีความว่าเป็นหน้าที่ของมารดา มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจรู้สึกผิด หรือรู้สึกด้อยค่าหากมารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1 แต่หากให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นทางเลือก ก่อนที่จะเลือกมารดาควรรับฟังข้อมูลทางเลือกของอาหารสำหรับทารกอย่างครบถ้วนและเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองและทารก การไม่เลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ถือเป็นสิ่งที่ผิด อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมารดาและทารกก่อน ดังนั้นไม่ว่ามารดาจะเข้าใจว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือทางเลือกบนพื้นฐานแห่งการรับรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา หากไม่เกิดผลเสียแก่มารดาและทารก บุคลากรทางการแพทย์ควรเคารพความคิดเห็นของมารดาโดยหากมีข้อจำกัดและเหตุผลที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การให้คำปรึกษาที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่มารดาและทารกต้องเผชิญก่อน เป็นสิ่งที่ควรกระทำ แต่หากอุปสรรคนั้นไม่สามารถจะผ่านไปได้ การประคับประคองความรู้สึกของมารดา ลดความรู้สึกผิดหรือด้อยค่า ก็ยังเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Woollard F, Porter L. Breastfeeding and defeasible duties to benefit. J Med Ethics 2017.

 

ข้อแนะนำในการสอนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์

images (5)

???????????

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? -การให้ความรู้ก่อนการคลอดจะมีความสำคัญในมารดาที่กลับบ้านเร็วก่อน 24 ชั่วโมง เนื่องจากมารดาจะมีเวลาเรียนรู้หลังคลอดได้น้อย การให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์จะทำให้มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการบริหารจัดการเรื่องนมแม่

??????????? -มารดาจำเป็นต้องมีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั่นคือจะต้องมีการพูดคุยเรื่องที่มารดาวิตกกังวลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือแนวทางการปฏิบัติที่จะช่วยให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดี

??????????? -การให้ความรู้โดยการบรรยายอาจจะไม่เหมาะสมกับการให้ความรู้ในมารดา เนื่องจากมารดาอาจจะมีความรู้ในบางเรื่องที่บรรยายมาแล้ว จึงอาจทำให้มีความสนใจน้อย รูปแบบการให้ความรู้ที่น่าจะเหมาะสมกว่าคือการอภิปรายเฉพาะราย หรือการอภิรายแบบกลุ่มซึ่งสามารถจะให้ความรู้ในส่วนที่มารดาต้องการหรือสนใจ และมารดาสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับมารดาท่านอื่นหรือกล้าที่จะพูดในบางเรื่องที่อาจจะรู้สึกอาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง หรือวิธีที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากมารดาจำเป็นต้องแยกจากทารก ???

??????????? -ต้องไม่ลืมว่าการให้ความรู้ต้องให้กับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล โดยจัดการอภิปรายรายกลุ่มและจัดแยกรายบุคคลด้วย

??????????? -หากทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเป็นพิเศษ เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด สิ่งที่จำเป็นที่ต้องพูดคุยกับมารดาคือความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสิ่งสนับสนุนที่มารดาจะเข้าถึงได้หากทารกต้องการการดูแลเพิ่มเป็นพิเศษ

??????????? -บางครั้ง มารดาบางคนอาจมีข้อจำกัด ไม่สามารถมาโรงพยาบาลได้หลายครั้ง และมีเวลาน้อยในการมาโรงพยาบาลเพื่อพูดคุยอภิปรายในแต่ละครั้ง

??????????? -หากมารดามีคำถาม ควรเตรียมข้อมูลในเรื่องความแตกต่างระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม ค่าใช้จ่ายในการใช้นมผสม และการเรียนรู้ในเตรียมนมผสมให้ปลอดภัยในกรณีที่เลือกใช้นมผสม

??????????? -การอภิปรายกลุ่มในระยะฝากครรภ์ไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมในการสอนการเตรียมนมผสม มารดาที่ตัดสินใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสมควรได้รับการพูดคุยรายบุคคลถึงวิธีการเตรียมนมผสมอย่างปลอดภัย และระยะเวลาที่ให้ข้อมูลควรเป็นระยะใกล้กำหนดการคลอดบุตร

??????????? -การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมในระหว่างฝากครรภ์ หากทำเป็นประจำและเน้นให้ความสำคัญมาก อาจจะมีอิทธิพลต่อมารดาที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเปลี่ยนเป็นเลี้ยงลูกด้วยนมผสม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

แบบตรวจสอบความครบถ้วนในการให้ข้อมูลเรื่องอาหารทารก

images (5)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจสอบความครบถ้วนในการให้ข้อมูลสำหรับการให้อาหารทารก

??????????? หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ควรได้รับการข้อมูลทั้งหมดดังต่อไปนี้ โดยเซ็นชื่อผู้ให้ข้อมูลและวันที่ที่ให้ข้อมูลในแต่ละหัวข้อที่ให้ข้อมูล ตามใบประเมินตามเอกสารแนบ

ใบตรวจสอบการให้ข้อมูลในเรื่องอาหารของทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009