การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 10

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ข้อมูลผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่พบว่าสูงร้อยละ 230.90-279.76 ซึ่งแสดงว่าภาระงานที่คลินิกนมแม่นั้นมีมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรที่ทำงานอยู่จริง สอดคล้องกับการคิดภาระงานและอัตรากำลังที่คิดคำนวณได้ ดังนั้น จะเห็นว่าในการดำเนินงานการเปิดคลินิกนมแม่นั้น มีภาระงานที่เป็นกลุ่มมารดาหลังคลอดที่จำเป็นต้องนัดติดตามดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกนมแม่หรือเป็นภาระงานจากการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมรองรับอยู่แล้ว ในการวางแผนกำลังคนเพื่อจัดสรรในการตั้งคลินิกนมแม่ อาจพิจารณาได้จากจำนวนการคลอดที่มีในโรงพยาบาล โดยนำมาคำนวณตามอัตราการนัดติดตามที่คลินิกนมแม่และการโทรศัพท์ติดตาม จะทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นได้ถึงจำนวนอัตราของพยาบาลที่ต้องการหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดให้บริการคลินิกนมแม่แล้ว กลุ่มผู้รับบริการที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองอาจมีเพิ่มขึ้น การปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภาระงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริง

เอกสารอ้างอิง

  1. . Knowledge, attitudes and practices regarding breastfeeding support among village health volunteers in Nakhon Nayok, Thailand. . Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:89-96.
  2. . Nursing workload and patient safety–a mixed method study with an ecological restorative approach. Rev Lat Am Enfermagem 2013;21 Spec No:146-54.
  3. . Implementation of work sampling methodology. Nurs Res 1994;43:120-3.
  4. . Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.
  5. -Pallas L, et al. Nursing staffing, nursing workload, the work environment and patient outcomes. Appl Nurs Res 2011;24:244-55.
  6. . A human factors framework and study of the effect of nursing workload on patient safety and employee quality of working life. BMJ Qual Saf 2011;20:15-24.