คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านม

การให้นมแม่ในมารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

มารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านมจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นฝีที่เต้านมซ้ำสููงขึ้น ดังนัั้น ข้อแนะนำจึึงควรสอนให้มารดาเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะลดการเกิดการเจ็บหัวนมที่จะนำไปสู่หัวนมแตก เต้านมอักเสบ และเกิดฝีที่เต้านมซ้ำ ในมารดารายนี้ที่เต้านมด้านขวาข้างบนจะเห็นรอยแผลเป็นจากการที่เคยเป็นฝีที่เต้านมและได้รับการเจาะดูดหนองเพื่อรักษา ดังแสดงในวิดีโอด้านล่าง

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งปากมดลูกที่รักษาด้วยรังสีรักษา

radiation_hazard_poster

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มารดาที่เป็นมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา รูปแบบจะมีลักษณะการให้รังสีรักษา 2 รูปแบบ คือ การฉายรังสีรักษาภายนอก (external beam radiation therapy) บริเวณอุ้งเชิงกรานโดยจะให้รังสีรักษาขนาด 1.8?2 Gy เป็นระยะเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ นาน 5?6 สัปดาห์ และการฝังแร่ (brachytherapy) ในโพรงมดลูกเพื่อให้ได้รับรังสีรักษาขนาด 80-85 Gy1 ซึ่งจะมีทั้งให้แบบรังสีขนาดสูงในระยะเวลาสั้นที่สามารถดูแลผู้ป่วยในลักษณะผู้ป่วยนอกและให้รังสีขนาดต่ำที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1-2 วัน2 จะเห็นว่ามารดาในกลุ่มนี้จะได้รับการฉายรังสีรักษาภายนอกนานเป็นเดือน ซึ่งระหว่างการได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา มารดาจะมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องเสีย ทางเดินอาหารอักเสบ การดูดซึมสารอาหารผิดปกติ3,4 รับประทานอาหารได้น้อย แม้จะไม่ได้รับรังสีบริเวณเต้านม ทารกสามารถกินนมแม่ได้ แต่มารดาอาจอ่อนเพลียและรับประทานอาหารได้น้อย การสร้างนมแม่อาจไม่เพียงพอ การขอรับนมบริจาคจากธนาคารนมแม่หรือการเสริมนมผสมอาจจำเป็นในกรณีที่ทารกมีการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ สำหรับช่วงที่มารดาได้รับการฝังแร่ มารดาต้องงดการให้นมลูก แต่การกระตุ้นโดยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมอาจจำเป็นเพื่อคงให้การสร้างน้ำนมมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

หนังสืออ้างอิง

  1. Matsuura K, Okabe T, Fujita K, Tanimoto H, Akagi Y, Kagemoto M. Clinical results of external beam radiotherapy alone with a concomitant boost program or with conventional fractionation for cervical cancer patients who did not receive intracavitary brachytherapy. J Radiat Res 2012;53:900-5.
  2. Hareyama M, Sakata K, Oouchi A, et al. High-dose-rate versus low-dose-rate intracavitary therapy for carcinoma of the uterine cervix: a randomized trial. Cancer 2002;94:117-24.
  3. Petereit DG, Sarkaria JN, Chappell R, et al. The adverse effect of treatment prolongation in cervical carcinoma. Int J Radiat Oncol Biol Phys 1995;32:1301-7.
  4. Gothard L, Cornes P, Brooker S, et al. Phase II study of vitamin E and pentoxifylline in patients with late side effects of pelvic radiotherapy. Radiother Oncol 2005;75:334-41.

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งปากมดลูก

IMG_7236

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? มารดาที่ได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูกโดยการผ่าตัดอย่างเดียว หลังผ่าตัดหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน การกระตุ้นน้ำนมสามารถทำได้ และการดูแลให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยผ่าตัดคลอด

 

 

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รักษาร่วมด้วยฮอร์โมน

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การรักษาร่วมด้วยฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ tamoxifen ยานี้ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยา 7 วัน มีรายงานการเกิดอวัยวะเพศกำกวม (ambiguous genitalia) ในทารกเพศหญิงที่มารดาได้รับยานี้ระหว่างการตั้งครรภ์1 และยานี้ยังออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งน้ำนม2,3 ดังนั้นจึงเป็นข้อห้ามในการใช้ยานี้ระหว่างการให้นม

หนังสืออ้างอิง

  1. Tewari K, Bonebrake RG, Asrat T, Shanberg AM. Ambiguous genitalia in infant exposed to tamoxifen in utero. Lancet 1997;350:183.
  2. Shaaban MM. Suppression of lactation by an antiestrogen, tamoxifen. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 1975;4:167-9.
  3. Masala A, Delitala G, Lo Dico G, Stoppelli I, Alagna S, Devilla L. Inhibition of lactation and inhibition of prolactin release after mechanical breast stimulation in puerperal women given tamoxifen or placebo. Br J Obstet Gynaecol 1978;85:134-7.

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รักษาร่วมด้วยยา monoclonal antibody

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การรักษาร่วมด้วยยา monoclonal antibody ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านม ยาที่ใช้อยู่ ได้แก่ Trastuzumab โดยยานี้จะออกฤทธิ์เจาะจงในการจับการโปรตีน human epidermal growth factor receptor 2 (HER2) ค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยา 1-32 วัน ยานี้ผ่านน้ำนมได้ มีรายงานการใช้ยานี้ระหว่างการตั้งครรภ์และพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย1 ยังไม่มีรายงานการใช้ยานี้ระหว่างการให้นมลูก ดังนั้นการให้นมแม่ขณะได้รับยาควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากค่าครึ่งชีวิตของยายาวนาน

หนังสืออ้างอิง

  1. Watson WJ. Herceptin (trastuzumab) therapy during pregnancy: association with reversible anhydramnios. Obstet Gynecol 2005;105:642-3.