คลังเก็บหมวดหมู่: ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด

ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด

การช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจช่วยลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และในมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่จะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร โดยในมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักพบว่ามีปัญหาการเข้าเต้ายากได้บ่อย ซึ่งจะส่งกระทบต่อสุขภาพทางด้านจิตใจของมารดามากขึ้น การที่บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปช่วยให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา ทำให้มารดาสามารถเข้าเต้าและให้นมลูกได้ พบว่าช่วยส่งผลดีต่อภาวะซึมเศร้าของมารดา1 ซึ่งข้อมูลนี้ช่วยย้ำความสัมพันธ์ที่แปรผกผันระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดามากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1.        Da Silva Tanganhito D, Bick D, Chang YS. Breastfeeding experiences and perspectives among women with postnatal depression: A qualitative evidence synthesis. Women Birth 2020;33:231-9.

ยิ่งมารดาอ้วน ยิ่งมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การที่จะบอกว่ามารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้น ต้องดูจากค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งต้องใช้น้ำหนักของมารดาก่อนการตั้งครรภ์มาคำนวณ ในกรณีที่พบว่ามารดามีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วน จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรเพิ่มขึ้น1 แต่ปัจจัยที่จะมีผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การที่มารดามีอายุมากขึ้น หรือมารดาที่เป็นครรภ์หลังจะลดความเสี่ยงที่จะมีการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร เนื่องจากการที่มารดามีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อน ดังนั้น การส่งเสริมให้ความรู้แก่สตรีที่มีการวางแผนที่จะมีบุตรให้มีการดูแลให้มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการที่จะป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และคลอด และยังเป็นการช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.        Claesson IM, Myrgard M, Wallberg M, Blomberg M. The Association Between Covariates, with Emphasis on Maternal Body Mass Index, and Duration of Exclusive and Total Breastfeeding. Breastfeed Med 2020.

การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจมะเร็งเต้านมในสตรีที่ให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจุบันเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเครื่องอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการช่วยการวินิจฉัยโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเต้านมในระหว่างที่มารดาอยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยที่โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถจะใช้ช่วยในการวินิจฉัย ได้แก่ เต้านมอักเสบ ฝีและเต้านม และมะเร็งเต้านม ซึ่งในการให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมนั้นพบว่า การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจมะเร็งเต้านมในสตรีที่ให้นมบุตรมีประสิทธิภาพดีในกรณีที่คลำพบก้อนที่เต้านมมารดาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีความจำเป็นในการตรวจเพิ่มเติมโดยใช้การเอ็กซเรย์เต้านม (mammogram) เนื่องจากจะมีการพบผลบวกลวงเพิ่มขึ้น1 ดังนั้น การจัดอบรมให้มีการเรียนรู้ศึกษาถึงการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจเต้านมสำหรับแพทย์ที่มีหน้าที่ในการดูแลมารดาหลังคลอดหรือมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการดูแลมารดากลุ่มนี้

เอกสารอ้างอิง

1.        Chung M, Hayward JH, Woodard GA, et al. US as the Primary Imaging Modality in the Evaluation of Palpable Breast Masses in Breastfeeding Women, Including Those of Advanced Maternal Age. Radiology 2020:201036.

การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์และอุ้งเชิงกราน

 

?

?การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์และอุ้งเชิงกราน

เนื่องจากพบได้บ่อยจึงจะกล่าวในรายละเอียดดังนี้

การติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด ?(postpartum uterine infection)? พบว่ามีชื่อเรียกหลากหลายได้แก่ metritis,? endometritis,? endomyometritis,? และ endoparametritis? เนื่องจากการติดเชื้อไม่ได้อยู่เพียงแค่ในเยื่อบุโพรงมดลูก? แต่ยังมีการติดเชื้อของกล้ามเนื้อมดลูกและบริเวณข้างเคียง? จึงมักนิยมใช้คำว่า ?metritis with pelvic cellulitis?? ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดภาวะนี้พบว่าได้แก่? ?วิธีการคลอดบุตร (route of delivery)?? ซึ่งพบว่าการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงสูง

กลไกการเกิดการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด? ได้แก่ มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในมดลูก? โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ? การตรวจภายในบ่อยครั้ง? การตรวจติดตามทารกในครรภ์โดยเครื่องตรวจอิเล็กโทรนิคส์ในโพรงมดลูก? การคลอดที่เนินนาน? และการผ่าตัดคลอด? ปัจจัยส่งเสริมได้แก่? บาดแผลจากการผ่าตัด? สารแปลกปลอม (foreign body)? เนื้อเยื่อที่มีเลือดไปเลี้ยงน้อย? และการสะสมของเลือดและน้ำเหลืองในบริเวณที่ผ่าตัด? ทำให้เกิดการแบ่งและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อและเกิดการติดเชื้อ เชื้อที่พบในบริเวณนี้? แสดงดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3? แสดงแบคทีเรียที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์

 

 

อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด? ได้แก่? มีไข้สูง? กดเจ็บบริเวณมดลูก? น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น? อย่างไรก็ตามก็พบว่า บางครั้งการติดเชื้อโดย b-hemolytic streptococci? มีน้ำคาวปลาปริมาณเล็กน้อยและไม่มีกลิ่นได้?? พบว่ามีคำกล่าวว่า ?ไข้หลังคลอดหลังจากตรวจสอบสาเหตุอื่นๆ แล้วไม่พบ? เป็นลักษณะสำคัญในการให้การวินิจฉัยการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด ?

สำหรับการรักษา? ส่วนใหญ่นิยมให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกว้างเข้าเส้นเลือดดำ? โดยครอบคลุมเชื้อที่พบบ่อยในตารางที่ 3 และมักนิยมให้ยาหลายตัว สูตรยาที่ใช้ตัวอย่างได้แก่

– Ampicillin + Gentamicin

– Clindmycin + Gentamicin

– Ampicillin + Gentamicin + Metronidazole

การใช้ยาปฏิชีวนะในสองสูตรแรกเป็นระยะเวลานาน? จะสามารถทำให้เกิดภาวะ pseudomem-??? branous? colitis? ซึ่งเกิดจากเชื้อ Clostidium difficile ได้? ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิต? การรักษาภาวะนี้จำเป็นต้องใช้ vancomycin? หรือ metronidazole? ร่วมกับการรักษาพยุงอาการอื่นๆ

การตอบสนองต่อการรักษาหลังให้การรักษาการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอดโดยปกติจะแสดงผลใน 48-72 ชั่วโมง? หลังจากไข้ลง 24 ชั่วโมงสามารถเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นยากินได้? และให้ต่อเนื่องไปจนครบ 7-10 วัน

การติดเชื้อของแผลผ่าตัดคลอด? อุบัติการเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6? ในกรณีที่ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกัน? อุบัติการจะลดเหลือร้อยละ 2 หรือน้อยกว่า? ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้คือ? ความอ้วน? เบาหวาน? การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน? ภาวะซีด? การดูแลเรื่องความสะอาดปราศจากเชื้อระหว่างการผ่าตัดและเทคนิคการหยุดเลือดที่ไม่ดีรวมทั้งการเกิด hematoma??? การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ? สำหรับกรณีที่เป็นหนอง? จะต้องเปิดทางระบายหนองด้วย

การเกิดปีกมดลูกอักเสบและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ?? ส่วนใหญ่เป็นจากการอักเสบจากตัวมดลูกลุกลามไปที่ท่อนำไข่? รังไข่? และเกิดเป็นหนอง? ซึ่งเมื่อแตกออกจะเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบไปทั่วๆ ท้อง? ในกรณีที่เกิดการอักเสบเป็นก้อนแข็งบริเวณ? parametrium? ใต้ broad ligament จะเรียกเป็น ?parametrium phlegmon?? การรักษาภาวะเหล่านี้จะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด? สำหรับกรณีที่มีการสะสมของหนองหรือเนื้อตายมาก? การผ่าตัดอาจจำเป็น

การติดเชื้อของหลอดเลือดดำอักเสบในอุ้งเชิงกราน(septic pelvic thrombophlebitis)? กลไกการเกิดมักจะเกิดจากการติดเชื้อบริเวณมดลูก? โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นที่เกาะของรก? ซึ่งอยู่บริเวณ fundus? เมื่อติดเชื้อจะมีการอักเสบของเส้นเลือดในบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก? จากนั้น จะลุกลามเข้าไปใน ovarian vien? ซึ่งข้างขวาจะเทเข้า infevior vena cava? ข้างซ้ายจะเทเข้า renal vein? สำหรับอาการที่ตรวจพบที่สำคัญ คือ อาการปวดบริเวณที่มีการอักเสบโดยปกติมักจะเป็นในวันที่สองหรือสามหลังคลอด? โดยอาจจะมีไข้หรือไม่มีก็ได้? ลักษณะอาการปวดมักจะปวดบริเวณท้องน้อยด้านล่างและปวดบริเวณสีข้าง (flank) อย่างใดอย่างหนึ่ง? หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน? การให้การวินิจฉัยมักจะสังเกตอาการไข้ซึ่งไม่พบสาเหตุภายนอกอื่นๆ ร่วมกับอาจจะมีการตรวจพบก้อนบริเวณ parametrium? กดเจ็บตามเส้นเลือดที่มีการอักเสบ? การตรวจ CT หรือ MRI อาจช่วยยืนยันการวินิจฉัย? สมัยก่อนมีการใช้ heparin challenge test ช่วยในการวินิจฉัย คือ ถ้าให้ heparin แล้วไข้ลงก็ให้การวินิจฉัยภาวะนี้?? ในปัจจุบันการรักษาการติดเชื้อของหลอดเลือดดำอักเสบในอุ้งเชิงกรานที่สำคัญ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ? ส่วนการให้ heparin ร่วมด้วยเชื่อว่าอาจทำให้ไข้ลดลงช้าลง

การติดเชื้อของแผลบริเวณฝีเย็บ?? พบไม่บ่อยในการคลอดปกติทางช่องคลอด? อุบัติการร้อยละ 0.3-0.5? การติดเชื้อของแผลบริเวณฝีเย็บจะพบลักษณะแผลบวมแดง? บริเวณขอบแผลอาจพบเนื้อตายและมีน้ำเหลือง? น้ำเหลืองปนเลือด หรือหนองออกมาจากบาดแผล?? จากนั้นการแตกแยกของแผลตามมา? อาการที่ตรวจพบได้แก่ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ? ปัสสาวะจะแสบขัด (อาจพบร่วมกับ urinary retention)? มีหนองบริเวณบาดแผล และมีไข้? ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการเกิดการติดเชื้อ คือภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ? การสูบบุหรี่? และการติดเชื้อ? human papillomavirus

สำหรับการรักษาการติดเชื้อของแผลบริเวณฝีเย็บ? ดั้งเดิมจะแนะนำในการรักษาแผลผีเย็บแยกจากการติดเชื้อโดยการรอให้แผลหายเอง? 3-4? เดือน? ถ้าไม่หายจึงพิจารณาการตกแต่งซ่อมแซม? ปัจจุบันมีการรักษาโดยการตกแต่งซ่อมแซมแผลบริเวณฝีเย็บเร็วขึ้น (early repair)? โดยเฉลี่ยพิจารณาทำในวันที่ 6 หลังรักษา? เมื่อสังเกตว่าแผลเริ่มมี granulation tissue ดีและไม่มีลักษณะการติดเชื้อแล้ว?? โดยเตรียมตัวก่อนการเย็บตกแต่งซ่อมแซมดังนี้

  1. ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
  2. เปิดปากแผลตลอดแนวและตัดดึงไหมที่เย็บเดิมออก
  3. การดูแลแผล? โดยตัดเนื้อตายออกให้หมดแล้วล้างแผลวันละ 2 ครั้งด้วย betadine ร่วมกับนั่งแช่ก้นวันละ 3-4 ครั้ง
  4. สวนอุจจาระคืนก่อนวันผ่าตัด
  5. งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน

ในการเย็บตกแต่งซ่อมแซมจะทำในห้องผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึกให้เพียงพอ? การเย็บนิยมเย็บเป็น interrupted? และเย็บเว้นระยะระหว่างเข็มห่าง

การดูแลหลังการผ่าตัด? แนะนำปฏิบัติดังนี้

  1. ให้รับประทานอาหารที่มีกากน้อย
  2. แช่ก้นวันละ 3-4 ครั้ง
  3. ส่องไฟบริเวณฝีเย็บ (heat lamp)

 

การติดเชื้อของแผลในช่องคลอดและปากมดลูก?? แผลในช่องคลอดอาจจะเกิดการติดเชื้อโดยตรงหรือลุกลามมาจากฝีเย็บ? ซึ่งจะพบลักษณะบวมแดงและมีเนื้อตาย? เมื่อเป็นมากอาจลุกลามเข้าทางเดินน้ำเหลืองและเกิดการอักเสบ (lymphangitis)? ใน parametrium ได้? สำหรับการติดเชื้อในบริเวณปากมดลูก? เกิดได้บ่อยกว่า? เนื่องจากในการคลอดมักมีการฉีกขาดของปากมดลูกเสมอและในบริเวณปากมดลูก? ยังพบเป็นแหล่งที่หลบซ่อนของเชื้อโรค? ในกรณีที่มีการฉีกขาดของแผลบริเวณปากมดลูกเข้าไปลึก? อาจลุกลามเข้าเกิดการอักเสบของทางเดินน้ำเหลืองบริเวณ? parametrium และ broaad ligament ได้? การรักษาทั้งสองภาวะนี้ที่สำคัญคือการให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ

Necrotizing fasciitis? ?พบได้น้อย? แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากและมีโอกาสเกิดการเสียชีวิตสูง? ปัจจัยเสี่ยงได้แก่? เบาหวาน? ความอ้วน? ความดันโลหิตสูง? อายุที่มากกว่า 50 ปี?? การขาดสารอาหาร? การเป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease)? มะเร็ง? ตับแข็ง? และการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น? สาเหตุของการเกิดโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อ b-hemolytic streptococci? เดี่ยวๆ หรือที่พบบ่อยกว่าคือ จากเชื้อหลายตัว (polymicrobial)? การให้การรักษาที่สำคัญคือ ? การตัดเนื้อตายออกให้เพียงพอ (extensive surgical debridement) ?? และการให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกว้าง

Toxic shock syndrome? พบน้อยหลังคลอดแต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ถึง 10-15%? มักเกิดในสตรีอายุน้อยที่นิยมใช้ผ้าอนามัยแบบสอด? ซึ่งพบมีเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Staphylococcus aureus? เกาะกลุ่ม colonization อยู่ในช่องคลอดถึงร้อยละ 10 ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดติดเชื้อในระยะหลังคลอด?? นอกจากนี้การลืมผ้าหรือสำลีซับเลือดไว้ในช่องคลอดก็เป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะนี้? การเกิดภาวะนี้เป็นการเกิดความผิดปกติของหลายอวัยวะ? จากการบาดเจ็บของ capillary endothelial จาก? staphylococcal exotoxin? ซึ่งมีชื่อเรียก? toxic shock syndrome toxin-1 (เดิมมีชื่อเรียก enterotoxin F และ pyogenic exotoxin C)? อาการที่ตรวจพบ ได้แก่? มีไข้? ปวดศรีษะ? สับสน? เป็นผื่นแดง? บวม? คลื่นไส้อาเจียน? ถ่ายเป็นน้ำ? ช็อค? และมีภาวะ disseminated intravascular coagulation? การรักษาภาวะนี้? ต้องรักษาแบบพยุงอาการ (supportive treatment)? ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ

 

 

ความผิดปกติอื่นๆ ระยะหลังคลอด

 

มดลูกเข้าอู่ช้า (subinvolution)? มักจะพบร่วมกับการมีน้ำคาวปลานานและมากผิดปกติ? สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตกค้างของเศษของรกในโพรงมดลูก? และการติดเชื้อ? การรักษาในกรณีที่มีการตกเลือดร่วมด้วยจะให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกอันได้แก่? methylergonovine? ถ้าการตกเลือดเกิดมากอาจจะต้องขูดมดลูกร่วมด้วย? สำหรับการติดเชื้อรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ

การหย่อนตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน (pelvic relaxation)? การเกิดการบาดเจ็บและฉีกขาดมากของบริเวณผีเย็บระหว่างการคลอด? อาจจะมีผลทำให้เกิดการหย่อนตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้? ฉะนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการคลอดที่ลำบากเนิ่นนาน? ซ่อมแซมฝีเย็บอย่างถูกวิธีร่วมกับการบริหารหลังคลอดจะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ได้

Galactocele? เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนม? ทำให้เกิดสะสมของน้ำนมในเต้านม? อาจคลำได้เป็นก้อนถ้ามีการสะสมมากจะมี? fluctuation การรักษาโดยปกติจะหายเอง? ถ้าไม่หายใช้การเจาะดูดออก (aspiration)

การมีเต้านมจำนวนมากกว่าปกติ (supernumerary breast)? พบร้อยละ 0.3-0.5? เต้านมที่พบเกินจากปกตินี้อาจพบมีขนาดเล็กมากจนคล้ายกับไฝ? ในกรณีที่ไม่มีหัวนม (nipple)? อาจคล้าย? lipoma? ซึ่งจะเรียงตัวอยู่ในแนว? milk line? ปกติพบอยู่ใต้เต้านมปกติบ่อยกว่าและมักเป็นคู่? ไม่เป็นอันตราย? แต่อาจเจ็บคัดได้? การรักษาเพียงแค่รักษาตามอาการ? แต่ถ้ามีอาการมากพิจารณาตัดออก

หัวนมบอด (inverted nipple)? โดยปกติจะแนะนำและให้การรักษาในระหว่างฝากครรภ์? โดยใช้การจับและดึงบริเวณหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บ่อยๆ? ถ้าพบในระยะคลอดการแก้ไขโดยใช้เครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้า (electrical pump)? เพื่อให้นมแก่ทารก

หัวนมแตก (nipple fissures)? ส่วนใหญ่เกิดจากการให้นมทารกในลักษณะที่ไม่เหมาะสมทารกจึงขบและกัดบริเวณหัวนม? ทำให้เกิดการแตก? การรักษาเพียงป้องกันการแตกของหัวนมเพิ่มและป้องกันการเกิดการอักเสบของเต้านม? อาจใช้ที่ป้องกันหัวนม (nipple shield)? เช่น? ประทุมแก้ว? ร่วมกับการทาครีมรักษาด้วย? ในการให้นมแก่ทารกสามารถให้ได้ในเต้านมข้างที่ปกติ?? สำหรับข้างที่มีหัวนมแตกอาศัยการปั๊มน้ำนมออกโดยวิธีที่เหมาะสม

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด? อาจแบ่งตามความรุนแรงและระยะที่เกิดได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่? postpartum blues,? postpartum depression,? postpartum psychosis? รายละเอียดของความผิดปกติดังตารางที่ 4

คลิกตารางเพื่อดูภาพใหญ่

 

Obstetrical paralysis? เกิดจากการกดทับบริเวณเส้นประสาทซึ่งพบในการจัดท่าระหว่างการคลอดและการผ่าตัดคลอด?? อาการจะพบอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับการกดทับเส้นประสาทเส้นใด? ตัวอย่างเช่น? มีอาการอ่อนแรงของการ dorsiflexion? ของข้อเท้า? และ extension? ของนิ้วเท้า? เกิด footdrop? จากการกดทับเส้นประสาท? external popiteal nerve?? นอกจากนี้เส้นประสาทอื่นๆ ก็สามารถเกิดอันตรายได้? ได้แก่? femoral,? obturator? และ? sciatic nerve? แต่พบบ่อยน้อยกว่า

การแยกของกระดูกหัวเน่าหรือข้อต่อกระดูก sacroiliac? ซึ่งเกิดในระยะคลอดพบไม่บ่อย? แต่ทำให้เกิดการปวด? เดินและเคลื่อนไหวลำบาก? การรักษาโดยการพักและให้ยาบรรเทาอาการปวด

 


หนังสืออ้างอิง

 

  1. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 547-67.
  2. ชัยรัตน์? คุณาวิกติกุล. ระยะหลังคลอด. ใน: ธีระ? ทองสง, ชเนนทร์? วนาภิรักษ์. บรรณาธิการ.? สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์?? เซนเตอร์, 2541 : 169-78.
  3. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 533-46.
  4. Callahan TL, Caughey AB, Heffner LJ, Chen A, Feinberg BB. Blueprints in obstetrics and gynecology.Massachusetts. Blackwell Science, 1998 : 76-80.
  5. Sakala EP. Obstetrics and gynecology.?Maryland: William & Wikins, 1997 : 187-209.
  6. Miller AWF, Hanretty KP, Callander R, Ramsden I. Obstetrics illustrated.New York: Churchill Livingstone, 1997 :333-51.

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด

obgyn

 

? ? ? ? ? การมีไข้หลังคลอด (puerperal morbidity)? หมายถึง? การที่สตรีหลังคลอดมีไข้เท่ากับหรือมากกว่า 38.0 .C (100.4 .F )? อย่างน้อย 2 ใน 10 วัน? โดยไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยการวัดอุณหภูมิทางปากด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน

? ? ? ? ? การวินิจฉัยแยกโรคแม้ว่า? การมีไข้หลังคลอดส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ? แต่ก็พบว่าอาจจะมีสาเหตุอื่นด้วย? การติดเชื้อที่พบหลังการคลอดมากที่สุดคือ ?การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์และในอุ้งเชิงกราน? นอกจากนี้สาเหตุของการมีไข้ที่พบได้คือ

– ภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ

– การเกิดภาวะกรวยไตอักเสบ

– ?การตึงคัดเต้านมและการอักเสบของเต้านมจากการติดเชื้อ

– การอักเสบของหลอดเลือดดำ

– การเกิดหนองของแผลผ่าตัด? ซึ่งอาจพบในรายที่มีการผ่าตัดคลอด

? ? ? ? ? ภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ? ส่วนใหญ่จะพบใน 24 ชั่วโมงแรกของการคลอด และพบในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดคลอด? ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่? atelectasis??? ภาวะปอดบวมจากการสำลัก(aspiration pneumonia)? และภาวะปอดบวมจากการติดเชื้อ atelectasis? จะป้องกันได้โดยการไอหรือการหายใจเข้าออกลึกๆ? สม่ำเสมอ? หรือทุก 4 ชั่วโมงหลังการดมยาสลบ? การมีการอุดตันทางเดินหายใจจากเสมหะที่เหนียวจะลดกลไกการไอและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้? ไข้ที่เกิดจากภาวะนี้ เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของเชื้อที่อยู่ในบริเวณนั้น (normal flora)? ซึ่งเพิ่มจำนวนลงไปในทางเดินหายใจส่วนปลายที่มีการอุดตัน? ถ้ามีอาการรุนแรงควรสงสัยภาวะปอดบวมจากการสำลัก? ซึ่งจะพบมีไข้สูงมาก? ฟังเสียงปอดมี wheezing? และพบอาการแสดงของภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia) ชัดเจน

? ? ? ? ? ภาวะกรวยไตอักเสบ? ในกรณีที่มีอาการชัดเจนจะพบมีเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรียในปัสสาวะ? เจ็บบริเวณ costovertebral angle? และมีไข้สูง? บางครั้งอาจพบการมีไข้สูงเพียงอย่างเดียวก่อนจะมีอาการอื่นๆ? จึงอาจแยกยากจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน? การรักษาให้ดื่มน้ำมากๆ ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อ

? ? ? ? ?การตึงคัดเต้านม? ในสตรีหลังคลอดบุตรพบว่ามีไข้จากการตึงคัดเต้านมถึง 15%? ส่วนใหญ่แล้วมีไข้มักจะสูงไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส? กินเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง? และมักพบใน 2-3 วันแรกหลังคลอด? ซึ่งจะตรงข้ามกับการอักเสบของเต้านม? จะพบว่าเกิดในช่วงเวลาหลังจากนั้นและไข้สูงกินเวลานานร่วมกับมีการเจ็บเต้านมมากในเฉพาะบริเวณที่อักเสบ? ในรายที่มีการอักเสบจนลุกลามเป็นหนองพบ 10% ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดการระบายหนอง? สาเหตุของการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งจะผ่านจากบาดแผลหรือรอยถลอกเล็กน้อยบริเวณเต้านม? การระบาดของเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ระมัดระวังในการล้างมือขณะจับต้องทารกของบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? การอักเสบของหลอดเลือดดำ (thrombophlebitis)? อาจเกิดบริเวณหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นหรือลึกบริเวณขาก็ได้?? จะพบขาบวมปวด? เจ็บบริเวณน่อง? หรือบางครั้งเจ็บบริเวณ femoral triangle? การรักษาโดยใช้ heparin? ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ? นอกจากนี้ ยังอาจพบมีการอักเสบของเส้นเลือดดำในอุ้งเชิงกรานได้ด้วย

? ? ? ? ? เพื่อให้เข้าใจและจดจำสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอดได้?? จึงสรุปสาเหตุของการมีไข้หลังคลอดดังตารางที่ 1? และปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 1? สรุปสาเหตุของการมีไข้หลังคลอดและคำช่วยจำ

 

คลิกที่ตารางเพื่อดูภาพใหญ่

 

 

ตารางที่ 2? ปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอด

 

?คลิกที่ตารางเพื่อดูภาพใหญ่

 

 

หนังสืออ้างอิง

 

  1. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 547-67.
  2. ชัยรัตน์? คุณาวิกติกุล. ระยะหลังคลอด. ใน: ธีระ? ทองสง, ชเนนทร์? วนาภิรักษ์. บรรณาธิการ.? สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์?? เซนเตอร์, 2541 : 169-78.
  3. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 533-46.
  4. Callahan TL, Caughey AB, Heffner LJ, Chen A, Feinberg BB. Blueprints in obstetrics and gynecology.Massachusetts. Blackwell Science, 1998 : 76-80.
  5. Sakala EP. Obstetrics and gynecology.?Maryland: William & Wikins, 1997 : 187-209.
  6. Miller AWF, Hanretty KP, Callander R, Ramsden I. Obstetrics illustrated.New York: Churchill Livingstone, 1997 :333-51.

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์