คลังเก็บป้ายกำกับ: สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในน้ำนม

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การกินนมแม่จะช่วยลดการติดเชื้อและการอักเสบ1 หัวน้ำนมจะอุดมไปด้วยสารที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันและส่งเสริมอัตราการรอดชีวิตของทารก2 แบ่งตามบทบาทหน้าที่ได้ดังนี้

-การส่งต่อระบบโปรแกรมและการภูมิคุ้มกันป้องกันที่มีชีวิตโดยผ่านเซลล์ในน้ำนม

-การสื่อสารระหว่างเซลล์โดย cytokine และ chemokine

-การป้องกันการติดเชื้อ

ซึ่งแต่ละบทบาทจะส่งเสริมกลไกที่ช่วยให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาไปสู่ทารกโดยผ่านนมแม่ที่ธรรมชาติได้สร้างให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันเพื่อส่งเสริมให้ทารกรอดชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป

?

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Goldman AS. Modulation of the gastrointestinal tract of infants by human milk. Interfaces and interactions. An evolutionary perspective. J Nutr 2000;130:426S-31S.

2.???????????? Gao X, McMahon RJ, Woo JG, Davidson BS, Morrow AL, Zhang Q. Temporal changes in milk proteomes reveal developing milk functions. J Proteome Res 2012;11:3897-907.

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยควบคุมการเผาพลาญและส่วนประกอบของร่างกาย

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สารที่ช่วยควบคุมการเผาพลาญและส่วนประกอบของร่างกาย ได้แก่ adiponectin และฮอร์โมนอื่นๆ ฮอร์โมน adiponectin จะทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น? การควบคุมการเผาพลาญของร่างกาย และการออกฤทธิ์ระงับการอักเสบ ฮอร์โมนนี้มีปริมาณมากในน้ำนม เมื่อผ่านเข้าไปในลำไส้สามารถผ่านเข้าไปในผนังลำไส้และออกฤทธิ์ต่อการเผาพลาญอาหารของร่างกาย1,2 ระดับของ adiponectin จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับน้ำหนักและดัชนีมวลกายทารกในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มีสมมุติฐานว่าฮอร์โมนนี้จะช่วยลดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเมื่อทารกโตขึ้น1,3 ?สำหรับฮอร์โมนอื่นๆ ที่ควบคุมการเผาพลาญของร่างกายที่พบในน้ำนม ได้แก่ leptin, resistin และ ghrelin ซึ่งจะควบคุมการสร้างพลังงาน ส่วนประกอบของร่างกาย และความอยากอาหาร4-7

?

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Newburg DS, Woo JG, Morrow AL. Characteristics and potential functions of human milk adiponectin. J Pediatr 2010;156:S41-6.

2.???????????? Martin LJ, Woo JG, Geraghty SR, et al. Adiponectin is present in human milk and is associated with maternal factors. Am J Clin Nutr 2006;83:1106-11.

3.???????????? Woo JG, Guerrero ML, Guo F, et al. Human milk adiponectin affects infant weight trajectory during the second year of life. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2012;54:532-9.

4.???????????? Savino F, Sorrenti M, Benetti S, Lupica MM, Liguori SA, Oggero R. Resistin and leptin in breast milk and infants in early life. Early Hum Dev 2012;88:779-82.

5.???????????? Savino F, Liguori SA. Update on breast milk hormones: leptin, ghrelin and adiponectin. Clin Nutr 2008;27:42-7.

6.???????????? Palou A, Sanchez J, Pico C. Nutrient-gene interactions in early life programming: leptin in breast milk prevents obesity later on in life. Adv Exp Med Biol 2009;646:95-104.

7.???????????? Dundar NO, Dundar B, Cesur G, Yilmaz N, Sutcu R, Ozguner F. Ghrelin and adiponectin levels in colostrum, cord blood and maternal serum. Pediatr Int 2010;52:622-5.

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สารที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด ได้แก่ erythropoietin สารนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดง? erythropoietin จะพบมากในนมแม่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดจากการเสียเลือด พยาธิสภาพในลำไส้ หรือการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ของระบบการสร้างเม็ดเลือดซึ่งจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาการของทารกผิดปกติ1 การให้ erythropoietin จะช่วยเพิ่มการความเข้มข้นของเลือดแต่ควรพิจารณาการเสริมธาตุเหล็กให้เพียงพอ2-4 นอกจากนี้ erythropoietin ยังช่วยให้รอยต่อของเซลล์ที่ผนังลำไส้เกาะติดกันแน่นขึ้น5 มีรายงานว่าอาจช่วยลดการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก6และลดการเกิด necrotizing enterocolitis ลงได้5,7

?

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Kett JC. Anemia in infancy. Pediatr Rev 2012;33:186-7.

2.???????????? Carbonell-Estrany X, Figueras-Aloy J, Alvarez E. Erythropoietin and prematurity–where do we stand? J Perinat Med 2005;33:277-86.

3.???????????? Kling PJ, Willeitner A, Dvorak B, Blohowiak SE. Enteral erythropoietin and iron stimulate erythropoiesis in suckling rats. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2008;46:202-7.

4.???????????? Pasha YZ, Ahmadpour-Kacho M, Hajiahmadi M, Hosseini MB. Enteral erythropoietin increases plasma erythropoietin level in preterm infants: a randomized controlled trial. Indian Pediatr 2008;45:25-8.

5.???????????? Shiou SR, Yu Y, Chen S, et al. Erythropoietin protects intestinal epithelial barrier function and lowers the incidence of experimental neonatal necrotizing enterocolitis. J Biol Chem 2011;286:12123-32.

6.???????????? Arsenault JE, Webb AL, Koulinska IN, Aboud S, Fawzi WW, Villamor E. Association between breast milk erythropoietin and reduced risk of mother-to-child transmission of HIV. J Infect Dis 2010;202:370-3.

7.???????????? Claud EC, Savidge T, Walker WA. Modulation of human intestinal epithelial cell IL-8 secretion by human milk factors. Pediatr Res 2003;53:419-25.

?

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต

 

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สารที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ vascular endothelial growth factor (VEGF) สารนี้จะมีผลต่อการสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยจะพบว่าปริมาณของ VEGF จะสูงในหัวน้ำนม1 ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงในเรื่องตาบอดจากภาวะ retinopathy of prematurity (ROP) ซึ่งเกิดจากการให้ออกซิเจนและการทำงานที่ผิดปกติของการเจริญของหลอดเลือดของจอประสาทตา2,3 การให้ทารกได้กินนมแม่จะช่วยให้กลไกการสร้างหลอดเลือดเป็นปกติและเชื่อว่าอาจลดภาวะแทรกซ้อนของการเกิด ROP ได้

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Loui A, Eilers E, Strauss E, Pohl-Schickinger A, Obladen M, Koehne P. Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) and soluble VEGF receptor 1 (sFlt-1) levels in early and mature human milk from mothers of preterm versus term infants. J Hum Lact 2012;28:522-8.

2.???????????? Reynolds JD. The management of retinopathy of prematurity. Paediatr Drugs 2001;3:263-72.

3.???????????? DiBiasie A. Evidence-based review of retinopathy of prematurity prevention in VLBW and ELBW infants. Neonatal Netw 2006;25:393-403.

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยการเจริญเติบโตเนื้อเยื่อ

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ได้แก่? สารในกลุ่มของ insulin-like growth factor ชนิดของ insulin-like growth factor จะมี insulin-like growth factor-1(IGF-1) และ insulin-like growth factor-2 (IGF-2) สารเหล่านี้พบในน้ำนมโดยจะพบมากในหัวน้ำนมและลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป1-3 ลักษณะของ insulin-like growth factor ในน้ำนมจะจับกับโปรตีนและเอนไซม์ การออกฤทธิ์จะช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและลดความรุนแรงในการเกิดการฝ่อของลำไส้4,5 นอกจากนี้ IGF-1 ยังออกฤทธิ์ช่วยป้องกัน enterocyte จากการถูกทำลายโดย oxidation stress6 และการให้ IGF-1 จะช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดได้7

หนังสืออ้างอิง

1.????? Blum JW, Baumrucker CR. Colostral and milk insulin-like growth factors and related substances: mammary gland and neonatal (intestinal and systemic) targets. Domest Anim Endocrinol 2002;23:101-10.

2.????? Burrin DG. Is milk-borne insulin-like growth factor-I essential for neonatal development? J Nutr 1997;127:975S-9S.

3.????? Milsom SR, Blum WF, Gunn AJ. Temporal changes in insulin-like growth factors I and II and in insulin-like growth factor binding proteins 1, 2, and 3 in human milk. Horm Res 2008;69:307-11.

4.????? Peterson CA, Gillingham MB, Mohapatra NK, et al. Enterotrophic effect of insulin-like growth factor-I but not growth hormone and localized expression of insulin-like growth factor-I, insulin-like growth factor binding protein-3 and –5 mRNAs in jejunum of parenterally fed rats. JPEN J Parenter Enteral Nutr 2000;24:288-95.

5.????? Murali SG, Nelson DW, Draxler AK, Liu X, Ney DM. Insulin-like growth factor-I (IGF-I) attenuates jejunal atrophy in association with increased expression of IGF-I binding protein-5 in parenterally fed mice. J Nutr 2005;135:2553-9.

6.????? Elmlinger MW, Hochhaus F, Loui A, Frommer KW, Obladen M, Ranke MB. Insulin-like growth factors and binding proteins in early milk from mothers of preterm and term infants. Horm Res 2007;68:124-31.

7.????? Kling PJ, Taing KM, Dvorak B, Woodward SS, Philipps AF. Insulin-like growth factor-I stimulates erythropoiesis when administered enterally. Growth Factors 2006;24:218-23.

?

?

?