คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมุมมองของแม่ที่เป็นผดุงครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            ในกรณีที่มารดาเป็นบุคลากรทางการแพทย์เองที่มีความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างดี ในกรณีนี้มารดามักตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไว้สูง เมื่อเกิดปัญหาที่ทำให้จำเป็นต้องหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักจะทำให้มารดามีความเครียด เนื่องจากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ตั้งไว้ได้1 แม้ว่าเรื่องของการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นเรื่องตามธรรมชาติ ที่บางครั้งทารกจะเริ่มปฎิเสธนมแม่เองเมื่ออายุของทารกเริ่มเพิ่มขึ้น ตัวอย่างนี้อาจแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่สูงของบุคลากรทางการแพทย์อาจจะไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา สามารถสร้างให้เกิดความกดดันหรือความเครียดให้แก่มารดาได้ มุมมองเมื่อผดุงครรภ์มีบทบาทเป็นแม่เองได้สะท้อนถึงความคาดหวังที่เกิดขึ้นนี้

เอกสารอ้างอิง

  1. LoGiudice JA. A Breastfeeding Journey Through the Eyes of a Midwife Mother. Nurs Womens Health 2018;22:96-5.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นเอสแอลอี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โรคเอสแอลอี หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตนเองแทนที่จะมีหน้าที่ปกป้องร่างกายกลับทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อของตนเองในหลาย ๆ ระบบ เช่น ระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อและข้อ ไต และระบบการหายใจ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม และถูกกระตุ้นโดยปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยเอสแอลอีมักเป็นในผู้หญิงและช่วงที่อาการเกิดกำเริบก็มักจะเป็นในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งแม่ได้รับการรักษาให้อาการของโรคเริ่มสงบลงแล้ว หากไม่ได้วางแผนเรื่องการคุมกำเนิด จะพบผู้ป่วยเอสแอลอีตั้งครรภ์ ซึ่งเมื่อมีการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนของโรค และผลเสียจากการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาการของโรคมักไม่กำเริบรุนแรงและเมื่อเลือกใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่ำที่จะมีผลต่อทารก การดูแลการตั้งครรภ์ก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เมื่อทารกคลอดออกมา พบว่าการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกนั้นพบน้อยกว่า ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่า และเหตุผลที่หยุดการให้นมนั้นคือ กระบวนการรักษา ซึ่งก็คือ ความวิตกเรื่องการใช้ยา ทั้ง ๆ ที่ความเสี่ยงจากการใช้ยามีอยู่ต่ำเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่มารดาและทารกจะได้รับจากการให้ลูกได้กินนมแม่1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสนใจ และมีความเข้าใจว่ามารดาที่เป็นเอสแอลอีต้องถือว่าความเสี่ยงในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกก่อนเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น การดูแลให้ความรู้เรื่องโรค การรักษา และการใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่ำนั้น หากมารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็สามารถทำได้ และเมื่อมารดาเข้าใจได้ดีแล้ว ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่เป็นโรคเอสแอลอีนั้น น่าจะยาวนานขึ้นโดยปราศจากความวิตกกังวลในเรื่องของการใช้ยาเพื่อรักษาอาการของโรค

เอกสารอ้างอิง

  1. Acevedo M, Pretini J, Micelli M, Sequeira G, Kerzberg E. Breastfeeding initiation, duration, and reasons for weaning in patients with systemic lupus erythematosus. Rheumatol Int 2017;37:1183-6.

 

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ

พยัพ แจ้งสวัสดิ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? บริษัทไทยซัมมิท ฮาร์เนส? นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เป็นตัวอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ

แนวคิดหลักการพัฒนางานนมแม่

? ????????????? ด้วยองค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งความสุข มีการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace ในองค์กร และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสอดคล้องในทุกมิติของการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace จึงทำให้การพัฒนางานนมแม่ขับเคลื่อนไปพร้อมกับการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace ในองค์กร โดยมีแนวคิดที่ว่า ?การดูแลพนักงานหญิงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ และเรามองว่าลูกพนักงานก็คือลูกของเรา เราจึงคาดหวังว่าลูกของเราจะต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุดตั้งแต่แรกเกิด นั่นคือ นมแม่? ทั้งนี้ทางบริษัทฯ ได้ใช้หลักการบริหารเพื่อให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดผลสัมฤทธิ์ ดังนี้?

1. บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ รวมถึงการให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกัน

2. ตัดวงจรการเข้าถึงนมผง หรือนมผงของพนักงานในองค์กร โดยไม่อนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายเข้ามาประชาสัมพันธ์ หรือแจกผลิตภัณฑ์ในองค์กร

3. บริษัทฯ สนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้ โดยการส่งทีมงานเข้ารับการอบรมทั้งในหลักสูตร Facilitator และ Train the Trainer นมแม่ รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ ที่จัดโดยมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เพื่อให้ทีมนี้สามารถให้คำแนะนำและเป็นวิทยากรนมแม่ของบริษัทฯ ได้

4. การจูงใจ การฝึกอบรมและการดูแล ติดตามพนักงานที่ตั้งครรภ์ โดยบริษัทฯ เรามีการขึ้นทะเบียนพนักงานที่ตั้งครรภ์และโทรศัพท์ติดตามเป็นระยะ รวมถึงให้คำแนะนำตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งคลอดและเลี้ยงลูก โดยทีมงานที่บริษัทฯส่งไปอบรมนั่นเอง

5. การสนับสนุนให้พนักงานที่เป็นคุณแม่มาบีบหรือปั๊มนมได้โดยไม่จำกัดเวลา และจำนวนครั้ง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พนักงานนั้นมีความสบายใจและไม่รู้สึกอึดอัดที่ต้องสละเวลางานมาปั๊มนม

6. บริษัทฯ สนับสนุนอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบีบหรือปั๊มนมให้กับพนักงานทั้งหมด โดยที่พนักงานไม่ต้องนำอุปกรณ์อะไรมาเลย

7. มีการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

8. พนักงานที่มาใช้บริการห้องนมแม่ทุกคน ทางบริษัทฯจะมีการมอบประกาศนียบัตรเป็นคุณแม่ที่เห็นคุณค่าในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความรู้ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทีมงานมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในองค์กร รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย (Lifestyle) ของพนักงาน การสังเคราะห์องค์ความรู้ให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้ในการสื่อสารให้กับพนักงาน พนักงานที่เป็นคุณแม่ เพื่อร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร และองค์กร ต้องสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งต่อเป้าหมายองค์กร และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในความสำเร็จที่มีความท้าทายต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์กร

??????????????? ด้วยบริษัทฯ มีจำนวนพนักงานหญิงถึง 81% มีพนักงานที่ตั้งครรภ์ต่อปีโดยเฉลี่ย 120 คนและผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ครอบคลุมถึงครอบครัวของลูกจ้าง เพื่อยกระดับสู่งานที่มีคุณค่าประกอบกับได้รับคำเชิญชวนจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ทางบริษัทฯ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบการเมื่อปี พ.ศ.2552 และ มีการดำเนินการบริหารจัดการห้องนมแม่อย่างเต็มรูปแบบในปี 2554 โดย ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกรรมการบริหาร ได้ลงนามและประกาศนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554

? ? ? ? ? ? ? ? ขั้นตอนการปฏิบัติดูแลคุณแม่และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเริ่มจากการขึ้นทะเบียนพนักงานที่ตั้งครรภ์ทุกคนและเปลี่ยนงานเป็นลักษณะงานเบาที่มีความปลอดภัย และนั่งทำงาน จากนั้นทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่ อีกทั้งได้จัดให้มีคลินิกนมแม่ เพื่อเปิดสอนและให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทีมงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร นมแม่มือโปร จากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จากนั้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 8 เดือนจนกระทั่งคลอด เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องนมแม่จะทำการโทรศัพท์ติดตามพนักงานที่ขึ้นทะเบียนไว้ทุกคนเพื่อกระตุ้น จูงใจ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหลังคลอดเกี่ยวกับสถานที่คลอด การให้นมแม่ และการเลี้ยงบุตรหลังคลอด ทั้งนี้เมื่อพนักงานกลับมาเริ่มงานก็จะมีการฝึกอบรมหน้างานในการใช้อุปกรณ์ให้กับพนักงานอีกครั้งหนึ่ง

??????????????? สถิติจำนวนพนักงานที่มาใช้บริการห้องนมแม่ตั้งแต่เปิดทำการมีทั้งหมด 133 คน ปริมาณน้ำนมที่ได้จากการปั๊มเก็บเท่ากับ 212,218 ออนซ์ หรือ 6,367 ลิตร ซึ่งมีพนักงานเข้ามาปั้มนมทั้งหมด 39,593 ครั้ง

??????????????? จำนวนสมาชิกที่มาใช้บริการห้องนมแม่ ณ ปัจจุบัน คือ 15 คน โดยทางบริษัทฯได้มีการส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานที่เลี้ยงลูกอยู่ต่างจังหวัด ทำสต๊อกนม และส่งนมกลับบ้านไปให้ลูก ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานส่งนมให้ลูกผ่านรถทัวร์โดยระยะทางที่ไกลที่สุดอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ใช้เวลาประมาณ 12 ชม. สำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการปั๊มนมที่บริษัทฯ จัดเตรียมให้นั้นประกอบด้วย เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้แช่นม โต๊ะ เก้าอี้ โชฟา อุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาด เป็นต้นหรืออีกนัยหนึ่ง คือ พนักงานสามารถมาปั๊มนมโดยไม่ต้องนำอะไรติดตัวมาเลย และด้วยการบริหารจัดการห้องนมแม่ที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการมาทั้งหมดนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลมุมนมแม่ต้นแบบในสถานประกอบกิจการ รางวัลองค์กรนำร่องโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานและครอบครัว (เริ่มด้วยนมแม่) และจากการใช้เครื่องมือ Happinometer วัดระดับความสุขจากทุกมิติในปี 2559 พบว่ามีค่าคะแนนเท่ากับ 59.7 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรในองค์กรอยู่ในระดับมีความสุข?

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน สโลแกนในการบริหารจัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ?กระตุ้นเตือน ตามติดชิดคุณแม่? โดยมีจุดเด่นคือ ผู้บริหารให้ความสำคัญ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ติดตาม จูงใจ แนะนำ และโน้มน้าวให้คุณแม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม และมีระบบการส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจนทุกมิติ รอบด้านเพื่อการพัฒนา

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์

img_2123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งระหว่างการตั้งครรภ์ในสตรีพบราว 1 ใน 1000 ต่อการตั้งครรภ์1 ซึ่งในมะเร็งบางชนิดทางเลือกในการให้การรักษาอาจมีการให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์ การให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์มักมีผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความยากลำบาก เนื่องจากทำให้น้ำนมของมารดาน้อยลงหรือไม่มี การให้นมลูกของมารดาที่ได้รับเคมีบำบัด หากเว้นช่วงหลังการให้ยาเกิน 3 สัปดาห์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ เพราะระยะเวลา 3 สัปดาห์ยาเคมีบำบัดที่ใช้จะถูกกำจัดจากร่างกายมารดาหมด1 แต่หากมีการใช้ยาเคมีบำบัดหลังคลอด การให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอาจมีอันตรายแก่ทารก มีรายงานทารกเกิดเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำหลังการกินนมจากมารดาที่ได้รับยา cyclophosphamide อย่างไรก็ตาม หากมารดาต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบถึงผลของการใช้ยาเคมีบำบัดในรายละเอียดแต่ละชนิด ขนาดของยาที่ผ่านน้ำนม รวมถึงผลเสียต่างๆ ที่มีรายงาน โดยทั่วไปมารดาอาจต้องใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมในระยะหลังคลอดใหม่ๆ หรือในช่วงที่ยาเคมีบำบัดยังอยู่ในร่างกายของมารดาและผ่านน้ำนมไปสู่ทารก แต่เมื่อหยุดให้ยาแล้ว การเว้นระยะให้ร่างกายมารดาได้กำจัดยาเคมีบำบัด แล้วจึงพิจารณาการให้ทารกกินนมจากเต้านมมารดา สิ่งนี้แม้มีความยากลำบากแต่สามารถทำได้ โดยมีรายงานการให้นมลูกหลังการใช้ยาเคมีบำบัดพอสมควร

เอกสารอ้างอิง

  1. Stopenski S, Aslam A, Zhang X, Cardonick E. After Chemotherapy Treatment for Maternal Cancer During Pregnancy, Is Breastfeeding Possible? Breastfeed Med 2017;12:91-7.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น

img_2203

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย อัตราการตั้งครรภ์ของมารดาในวัยรุ่นในประเทศไทยพบร้อยละ 14.81? โดยระหว่างการตั้งครรภ์มารดาวัยรุ่นมักมีความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย หลังคลอดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มนี้ มีความจำเป็น จากที่มีการศึกษาพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นต่ำ2 ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้มีโอกาสที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอทารกป่วยวิกฤตสูงกว่า ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้การดูแลควรมีการเตรียมการ แนะนำ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในกรณีที่การคลอดอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความลำบาก อย่างไรก็ตาม การเตรียมการที่ดีตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ เอาใจใส่ให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Edwards R, Peterson WE, Noel-Weiss J, Shearer Fortier C. Factors Influencing the Breastfeeding Practices of Young Mothers Living in a Maternity Shelter. J Hum Lact 2017:890334416681496.