การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์

img_2123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งระหว่างการตั้งครรภ์ในสตรีพบราว 1 ใน 1000 ต่อการตั้งครรภ์1 ซึ่งในมะเร็งบางชนิดทางเลือกในการให้การรักษาอาจมีการให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์ การให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์มักมีผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความยากลำบาก เนื่องจากทำให้น้ำนมของมารดาน้อยลงหรือไม่มี การให้นมลูกของมารดาที่ได้รับเคมีบำบัด หากเว้นช่วงหลังการให้ยาเกิน 3 สัปดาห์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ เพราะระยะเวลา 3 สัปดาห์ยาเคมีบำบัดที่ใช้จะถูกกำจัดจากร่างกายมารดาหมด1 แต่หากมีการใช้ยาเคมีบำบัดหลังคลอด การให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอาจมีอันตรายแก่ทารก มีรายงานทารกเกิดเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำหลังการกินนมจากมารดาที่ได้รับยา cyclophosphamide อย่างไรก็ตาม หากมารดาต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบถึงผลของการใช้ยาเคมีบำบัดในรายละเอียดแต่ละชนิด ขนาดของยาที่ผ่านน้ำนม รวมถึงผลเสียต่างๆ ที่มีรายงาน โดยทั่วไปมารดาอาจต้องใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมในระยะหลังคลอดใหม่ๆ หรือในช่วงที่ยาเคมีบำบัดยังอยู่ในร่างกายของมารดาและผ่านน้ำนมไปสู่ทารก แต่เมื่อหยุดให้ยาแล้ว การเว้นระยะให้ร่างกายมารดาได้กำจัดยาเคมีบำบัด แล้วจึงพิจารณาการให้ทารกกินนมจากเต้านมมารดา สิ่งนี้แม้มีความยากลำบากแต่สามารถทำได้ โดยมีรายงานการให้นมลูกหลังการใช้ยาเคมีบำบัดพอสมควร

เอกสารอ้างอิง

  1. Stopenski S, Aslam A, Zhang X, Cardonick E. After Chemotherapy Treatment for Maternal Cancer During Pregnancy, Is Breastfeeding Possible? Breastfeed Med 2017;12:91-7.