คลังเก็บป้ายกำกับ: การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 9

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อควรระวังในระหว่างการดูแลรักษาการเจ็บหัวนม ได้แก่

  • มารดาไม่ควรหยุดการให้นมเพื่อพักหัวนม เพราะการหยุดให้นมจะทำให้เต้านมคัด ทำให้ลานนมและหัวนมแข็งซึ่งจะยากในการเข้าเต้ามากขึ้น นอกจากนี้ การที่มารดาหยุดให้ลูกดูดนมจะทำให้การสร้างน้ำนมลดลงด้วย
  • ไม่ควรจำกัดความถี่ในการให้นมและระยะเวลาการให้นมในแต่ละครั้ง เพราะการจำกัดการให้นมจะไม่ช่วยลดการเจ็บหัวนม หากปัญหาหรือสาเหตุยังไม่ได้รับการแก้ไข  การที่เพิ่มระยะเวลาของการให้นมแต่ละครั้งห่างออกไปจะสัมพันธ์การที่มารดามีน้ำนมลดลง22 และการดูดเพียงหนึ่งนาทีของการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม จะสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือผลเสียต่อหัวนมและเต้านมได้ ซึ่งจะต่างจากการดูดนาน 20 นาทีของการเข้าเต้าที่เหมาะสม จะไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อหัวนมและเต้านมเลย
  • ไม่ควรใช้ครีมบำรุงผิว หรือสารหล่อลื่นใด ๆ ที่หัวนม เพราะทารกจะดูดกลืนเข้าไปและเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ผิวบริเวณหัวนมจะมีความไวต่อสารต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองและเพิ่มการเจ็บหัวนมขึ้นได้ ขณะที่การทาน้ำมันหล่อลื่นที่หัวนมไม่ได้ช่วยให้การเข้าเต้าดีขึ้น9
  • การใช้อุปกรณ์ที่ป้องกันหัวนม (nipple shield) หากจะใช้ควรใช้ชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ  เพราะบางครั้งการใช้อุปกรณ์ที่ป้องกันหัวนมที่เป็นประจำในระยะยาว อาจทำให้กระตุ้นการสร้างน้ำนมของเต้านมได้น้อยลง ทำให้น้ำนมไหลน้อยลงด้วย ซึ่งการที่น้ำนมไหลน้อยลงอาจมีผลต่อการดูดของทารกโดยอาจทำให้ทารกดูดนมแรงขึ้น ขบหรือมีการกัดหัวนม ทำให้มารดากลับมาเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้นอีกได้ นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ที่ป้องกันหัวนมยังต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดและการปนเปื้อนเชื้อที่อุปกรณ์ที่ป้องกันหัวนม หากทำความสะอาดได้ไม่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

9.         Morland-Schultz K, Hill PD. Prevention of and therapies for nipple pain: a systematic review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2005;34:428-37.

22.       McClellan HL, Hepworth AR, Kent JC, et al. Breastfeeding frequency, milk volume, and duration in mother-infant dyads with persistent nipple pain. Breastfeed Med 2012;7:275-81.

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษฺ์

วิธีการปฏิบัติที่จะช่วยลดอาการเจ็บหัวนม ทำให้มารดารู้สึกสบายขึ้นขณะทำการแก้ไขสาเหตุหลัก และหัวนมที่เจ็บกำลังจะหาย ได้แก่

  • ทาน้ำนมที่บีบออกมาจากเต้านมที่หัวนม ซึ่งจะช่วยหล่อลื่น ทำให้หัวนมชุ่มชื้นขึ้น ช่วยเคลือบรักษาสภาพผิวหนังบริเวณหัวนมและลานนม และลดการเสียดสี
  • ประคบอุ่นที่เต้านมก่อนการป้อนนมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • แนะนำให้มารดาเริ่มให้นมลูกจากเต้านมที่เจ็บน้อยกว่าก่อน
  • หากทารกง่วงนอนขณะให้นมและดูดนมได้ไม่ดีแต่ทารกยังอมหัวนมและลานนมอยู่ ควรนำทารกออกจากเต้านมเพื่อกระตุ้นให้ทารกตื่นตัว โดยทำการใส่นิ้วเข้าไปข้างปากทารกเพื่อลดแรงดูด แล้วจึงนำทารกออกจากเต้านมอย่างนุ่มนวล
  • การล้างหัวนม ควรทำวันละ 1-2 ครั้งตามการอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายตามปกติ ไม่จำเป็นต้องล้างหัวนมทุกครั้งที่ให้นม และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ซึ่งจะทำลายน้ำมันที่ปกคลุมหัวนมตามธรรมชาติ

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

าเหตุจากผิวหนังอักเสบ หรือเป็นโรคอื่นบริเวณผิวหนัง การรักษาควรตามแต่ละสาเหตุ  โดยหากสาเหตุเป็นจากการแพ้ การรักษาทำโดยใช้ยาทาเฉพาะที่ที่มีตัวยาสเตียรอยด์ แต่ควรเช็ดยาทาออกจากหัวนมโดยใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก่อนให้ทารกกินนม และควรทายาซ้ำหลังจากทารกกินนมเสร็จแล้ว ไม่ควรล้างยาออกด้วยน้ำสบู่ เพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณหัวนมแห้ง และอาจมีการเจ็บหัวนมได้เมื่อมีการเสียดสีในระหว่างที่ทารกดูดนม  

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

Raynaud’s phenomenon การรักษาควรหลีกเลี่ยงภาวะที่หัวนมจะสัมผัสกับอากาศเย็น หรือดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่ที่จะทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือด และพยายามช่วยให้หัวนมอบอุ่นตลอดเวลา โดยเช็ดบริเวณหัวนมให้แห้งหลังทารกกินนม และใช้ผ้าที่ใช้ประคบร้อนช่วยประคบบริเวณหัวนมหลังทารกกินนมทันที หลังจากนั้นแนะนำให้มารดาใส่เสื้อชั้นใน และสวมเสื้อผ้าที่จะช่วยให้บริเวณหัวนมอบอุ่น สำหรับมารดาที่มีอาการรุนแรง การใช้ nifedipine ชนิดรับประทานสามารถใช้ได้โดยไม่เกิดอันตรายแก่ทารกที่กินนมแม่21

เอกสารอ้างอิง

21.       Anderson JE, Held N, Wright K. Raynaud’s phenomenon of the nipple: a treatable cause of painful breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e360-4.

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกมีภาวะลิ้นติด โดยที่ภาวะลิ้นติดนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกมาปิดบริเวณเหงือกด้านล่าง ทำให้มารดาเจ็บหัวนม หรือเข้าเต้าลำบาก หรือทำให้ทารกกินนมได้น้อยและมีการเจริญเติบโตช้า (ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง) การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจาณาทำ frenotomy อาจจำเป็น15-19

เอกสารอ้างอิง

15.       Dollberg S, Botzer E, Grunis E, Mimouni FB. Immediate nipple pain relief after frenotomy in breast-fed infants with ankyloglossia: a randomized, prospective study. J Pediatr Surg 2006;41:1598-600.

16.       Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

17.       Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

18.       Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

19.       Khoo AK, Dabbas N, Sudhakaran N, Ade-Ajayi N, Patel S. Nipple pain at presentation predicts success of tongue-tie division for breastfeeding problems. Eur J Pediatr Surg 2009;19:370-3.