คลังเก็บป้ายกำกับ: การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

ประจำเดือนหลังการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดที่ใช้ฮอร์โมนจะมีลักษณะประจำเดือนเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยจะพบมีเลือดประจำเดือนออกมาก่อนกำหนดที่ควรจะเป็นร้อยละ 15 พบประจำเดือนคลาดเคลื่อนไม่เกินสามวันของกำหนดที่ควรจะเป็นร้อยละ 57 และพบประจำเดือนเลื่อนไปหลังกำหนดเกินสามวันร้อยละ 28 ซึ่งเวลาของเลือดประจำเดือนที่จะมานั้นอาจเกี่ยวกับช่วงของการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงที่แตกต่างกันที่สัมพันธ์กับการตกไข่1

??????????? จะเห็นว่าส่วนใหญ่ของประจำเดือนจะมาก่อนและใกล้เคียงกับกำหนดปกติโดยเลื่อนไม่เกินสามวัน ในกรณีที่มีประจำเดือนเลื่อนไปหลังกำหนดนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การตั้งครรภ์ จึงควรสังเกตอาการของการตั้งครรภ์ และตรวจปัสสาวะหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมหรือหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

อาการข้างเคียงของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนจะมีอาการข้างเคียงที่พบได้ โดยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมจะมีอาการคลื่นไส้ร้อยละ 50.5 อาเจียนร้อยละ 18.8 วิงเวียนร้อยละ 16.7 อ่อนเพลียร้อยละ28.5 ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินจะมีอาการข้างเคียงน้อยกว่า พบอาการคลื่นไส้ร้อยละ 23.1 อาเจียนร้อยละ 5.6 วิงเวียนร้อยละ 11.2 อ่อนเพลียร้อยละ16.9 การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินแบบให้สองครั้งหรือครั้งเดียวอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน

??????????? การใช้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจะลดอาการข้างเคียงเหล่านี้ได้ โดยแนะนำให้รับประทานยา domperidone ก่อนกินยาคุมกำเนิด 1 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการอาเจียนภายในสองชั่วโมงหลังรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับประทานยาซ้ำอีกครั้ง

??????????? สำหรับภาวะแทรกซ้อนของการใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดงพบได้น้อย ได้แก่ อาการปวดท้องน้อย เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ มดลูกทะลุ และห่วงอนามัยหลุด1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

การประเมินและติดตามเมื่อใช้คุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินต้องระมัดระวังเสมอว่าไม่ควรมีการตั้งครรภ์ก่อน ซึ่งการคุมกำเนิดจะไม่ได้ผล แต่หากประเมินแล้วไม่มีข้อมูลว่ามีการตั้งครรภ์และระยะการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระยะที่ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินยังมีประสิทธิภาพ การใช้อาจจะช่วยลดหรือป้องกันการตั้งครรภ์ได้

??????????? การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกันหรือวางแผน มักมีความสัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะทำให้สามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื่องการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบและการตั้งครรภ์นอกมดลูก

??????????? หลังจากที่ใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแล้ว หากต้องการการคุมกำเนิดต่ออาจใช้วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย หรืออาจใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวมรับประทานต่อไปจนหมดแผง สำหรับการติดตามควรสังเกตการมีประจำเดือนซึ่งอาจจะมีประจำเดือนมาภายใน 21 วันหลังการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินหรือกรณีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมต่อจากการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินประจำเดือนควรจะมาภายใน 28 วัน หากไม่มีประจำเดือนมาควรตรวจสอบการตั้งครรภ์ ส่วนกรณีที่มีประวัติสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

ข้อบ่งชี้ในการใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะใช้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันและไม่ต้องการที่จะตั้งครรภ์ โดยจัดเป็นข้อบ่งชี้ในรายละเอียดได้ดังนี้

????????? ล้มเหลวจากการคุมกำเนิด

????????? ถุงยางอนามัยแตกหรือรั่ว

????????? เลื่อนหลุดของ diaphragm หรือ cervical cap

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม 1 เม็ดในสัปดาห์แรกของการเริ่มยาคุมกำเนิด

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมตั้งแต่ 3 เม็ดขึ้นไปในสัปดาห์ที่สองหรือสามของการกินยาคุมกำเนิด

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสติน

????????? ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะหลุด

????????? หลุดหรือถอดออกของ contraceptive vaginal ring

????????? ฉีดยาคุมกำเนิดฉีดช้ากว่ากำหนดเกินสองสัปดาห์

????????? มีเพศสัมพันธ์และมีการหลั่งอสุจิภายนอก

????????? พลาดในการระมัดระวังช่วงการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

????????? ถูกข่มขืน โดยที่สตรีไม่ได้มีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้

เนื่องจากช่วงที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์ของสตรียากที่จะทำนาย ดังนั้นหากไม่มั่นใจการใช้ยาคุมกำเนิดแบบ1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

เวลาในการใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะยิ่งลดลงเมื่อระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันเนิ่นนานจากการเริ่มใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน การใช้ยาคุมกำเนิดโปรเจสตินเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเมื่อใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 95 ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือร้อยละ 85 เมื่อเริ่มใช้ยาในช่วง 25-48 ชั่วโมง และประสิทธิภาพจะลดลงเหลือร้อยละ 58 เมื่อเริ่มใช้ยาในช่วง 49-72 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวนเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเมื่อใช้ในวันแรก วันที่สอง และวันที่สามหลังการมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพลดลงจากร้อยละ 77 เหลือร้อยละ 36 และ 31 ตามลำดับ

??????????? ตามปกติ การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดโปรเจสตินและฮอร์โมนรวมแนะนำให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดภายใน 3 วันแรกนับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ แต่ยังพบว่ามีประสิทธิภาพเมื่อใช้ยาในช่วง 3-5 วันด้วย1 สำหรับการใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงสามารถใช้ได้ภายใน 7 วันนับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?