คลังเก็บป้ายกำกับ: การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมหรือยาคุมกำเนิดโปรเจสตินมีร้อยละ 75-89 ความหมายของการลดการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 75 หมายถึง สตรีในวัยเจริญพันธุ์ 100 คนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในสัปดาห์ที่สองหรือสามของรอบเดือนจะตั้งครรภ์ราว 8 คน หากใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมจะมีเพียงแค่ 2 คนเท่านั้นที่ตั้งครรภ์ มีรายงานขององค์การอนามัยโลกถึงอัตราการตั้งครรภ์หลังคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมพบร้อยละ 3.2 และหลังคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนโปรเจสตินร้อยละ 1.1

??????????? การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม การรับประทานครั้งเดียวมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการรับประทานสองครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง แต่สำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสติน การรับประทานครั้งเดียวมีประสิทธิภาพเท่ากับการรับประทานสองครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง การใช้จึงมีทางเลือกมากกว่า

??????????? สำหรับการใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินนั้นลดการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 98.7 หากให้ภายใน 5 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดฉุกเฉินตามทฤษฎีได้แก่ การรบกวนความสมบูรณ์ของถุงฟองไข่ กระบวนการตกไข่ มูกที่ปากมดลูก การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ ความสมบูรณ์ของคอร์ปัส ลูเธียม (corpus luteum) ความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกในการฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน การปฏิสนธิ การเจริญเติบโต การเคลื่อนที่และการเกาะติดเพื่อฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน1 สำหรับกลไกที่เกิดขึ้นจริงยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน เนื่องจากมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน ช่วงเวลาที่ใช้และการมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละช่วงระยะเวลาของรอบเดือนได้แก่ ช่วงก่อนการตกไข่ ช่วงตกไข่หรือช่วงหลังการตกไข่ แต่เชื่อว่ากลไกที่สำคัญคือการรบกวนการตกไข่ ในกรณีที่ไข่ตกแล้วเชื่อว่าทำให้การทำงานของไข่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

การใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดงเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

การใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การกินฮอร์โมนโปรเจสตินเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน จะใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ขนาด 750 ไมโครกรัมของ levonorgestrel รับประทานครั้งละ 2 เม็ดครั้งเดียว หรือจะเลือกรับประทาน 1 เม็ด และจากนั้น 12 ชั่วโมงรับประทานอีก 1 เม็ดก็ได้ การรับประทานยาอาจมีคลื่นไส้อาเจียนบ้าง แต่ไม่มาก การกินยาแก้อาเจียน domperidone ครั้งละ 1 เม็ดพร้อมกับยานี้จะช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินมีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่นเดียวกันสำหรับเวลาที่เริ่มรับประทานควรรีบรับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด เพราะว่าเมื่อเนิ่นนานไปประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์จะลดลง1 และควรใช้วิธีนี้ในกรณีหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 72 ชั่วโมง แม้มีบางข้อแนะนำให้ใช้ได้ถึง 120 ชั่วโมงก็ตาม

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

การใช้ฮอร์โมนรวมเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การกินฮอร์โมนรวมเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน เรียกวิธีนี้ว่าวิธี Yuzpe ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยขนาดของฮอร์โมนเอสโตรเจนใช้ขนาด 50 ไมโครกรัมของ ethinyl estradiol ร่วมกับโปรเจสเตอโรนขนาด 250 ไมโครกรัมของ levonorgestrel ซึ่งในช่วงแรกใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่ชื่อ Ovral รับประทานครั้งละ 2 เม็ด และจากนั้น 12 ชั่วโมงรับประทานอีก 2 เม็ด การรับประทานยาอาจมีคลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นอาจกินยาแก้อาเจียน domperidone ครั้งละ 1 เม็ดพร้อมกับยาคุมกำเนิดชนิดรวม ในกรณีที่ไม่มียาคุมกำเนิด Ovral อาจใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวมขนาดฮอร์โมนต่ำที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปรับประทานครั้งละ 4 เม็ด และจากนั้น 12 ชั่วโมงรับประทานอีก 4 เม็ดแทน ควรรีบรับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด เพราะว่าเมื่อเนิ่นนานไปประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์จะลดลง1 และควรใช้วิธีนี้ในกรณีหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 72 ชั่วโมง แม้มีบางข้อแนะนำให้ใช้ได้ถึง 120 ชั่วโมงก็ตาม

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?