คลังเก็บป้ายกำกับ: antiphospholipid syndrome

การคุมกำเนิดในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรระมัดระวังเรื่องการตั้งครรภ์เนื่องจากจะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคและผลเสียจากการรักษาต่อมารดาและทารก ร่วมกับเมื่ออาการของโรคดีขึ้น โอกาสของการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น ดังนั้น การเลือกวิธีการคุมกำเนิดในผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรเลือกด้วยความระมัดระวังดังนี้

-การให้สามีใช้ถุงยางอนามัย วิธีนี้ปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสกำเริบของโรค

-การใส่ห่วงอนามัย วิธีนี้สามารถใส่ได้ทั้งชนิดที่ไม่มีและมีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภูมิคุ้มกันต่ำ การติดเชื้อง่าย การเฝ้าระวังการติดเชื้อในช่วงแรกของการใส่ห่วงอนามัยจึงมีความจำเป็น1,2 นอกจากนี้ ในผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยอาจมีอาการหน่วงหรือปวดท้องน้อยเล็กน้อยได้

-การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด กลุ่มยาฉีดคุมกำเนิดเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งไม่ส่งผลให้อาการของโรคกำเริบ จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องกระดูกบาง เนื่องจากหลังหยุดการใช้ยามวลกระดูกจะกลับสู่ภาวะปกติ3

-การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน หากเป็นฮอร์โมนรวม การใช้เอสโตรเจนมักสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค4 มีรายงานว่าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำได้ในช่วงที่อาการของโรคสงบ5,6 ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Campbell SJ, Cropsey KL, Matthews CA. Intrauterine device use in a high-risk population: experience from an urban university clinic. Am J Obstet Gynecol 2007;197:193 e1-6; discussion? e6-7.

2.???????????? Stringer EM, Kaseba C, Levy J, et al. A randomized trial of the intrauterine contraceptive device vs hormonal contraception in women who are infected with the human immunodeficiency virus. Am J Obstet Gynecol 2007;197:144 e1-8.

3.???????????? Chabbert-Buffet N, Amoura Z, Scarabin PY, et al. Pregnane progestin contraception in systemic lupus erythematosus: a longitudinal study of 187 patients. Contraception 2011;83:229-37.

4.???????????? Cutolo M, Capellino S, Straub RH. Oestrogens in rheumatic diseases: friend or foe? Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii2-5.

5.???????????? Sanchez-Guerrero J, Uribe AG, Jimenez-Santana L, et al. A trial of contraceptive methods in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2539-49.

6.???????????? Petri M, Kim MY, Kalunian KC, et al. Combined oral contraceptives in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2550-8.

 

การใช้ยา heparin รักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การให้ low molecular weight heparin ได้แก่ enoxaparin รักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดเพื่อป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ low molecular weight heparin ไม่ผ่านรก ดังนั้นจึงสามารถให้ได้ระหว่างการตั้งครรภ์ การให้low molecular weight heparin ต้องให้เข้าหลอดเลือด ในช่วงก่อนการตั้งครรภ์จึงมักใช้ยา warfarin ซึ่งเป็นยาที่รับประทาน ยานี้ทำให้เกิดความพิการในทารกได้ จึงควรมีการวางแผนการตั้งครรภ์ในช่วงที่โรคสงบและปรับยาเป็น low molecular weight heparin ระหว่างการตั้งครรภ์ จากนั้นหลังคลอดสามารถกลับมาใช้ยา warfarin ได้เนื่องจากยาผ่านน้ำนมน้อยมาก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ขณะให้ยา low molecular weight heparin และ warfarin1

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Ostensen M, Khamashta M, Lockshin M, et al. Anti-inflammatory and immunosuppressive drugs and reproduction. Arthritis Res Ther 2006;8:209.

?

?

 

การใช้แอนติบอดีรักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

Rituximab เป็น anti-CD20 monoclonal antibody ที่ใช้รักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอีในระยะที่อาการสงบ มีการศึกษาพบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดและการติดเชื้อในทารกแรกเกิด1,2 ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้การรักษานี้ยังมีน้อย อย่างไรก็ตาม แนะนำให้หยุดอย่างน้อย 6-12 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ และหลีกเลี่ยงการใช้ระหว่างให้นมบุตร3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Pham T, Fautrel B, Gottenberg JE, et al. Rituximab (MabThera) therapy and safety management. Clinical tool guide. Joint Bone Spine 2008;75 Suppl 1:S1-99.

2.??????????? Chakravarty EF, Murray ER, Kelman A, Farmer P. Pregnancy outcomes after maternal exposure to rituximab. Blood 2011;117:1499-506.

3.??????????? Ostensen M, Khamashta M, Lockshin M, et al. Anti-inflammatory and immunosuppressive drugs and reproduction. Arthritis Res Ther 2006;8:209.

?

?

?

 

การใช้ยาอื่นๆ รักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

Cyclophosphamide เป็นยาที่ทำให้เกิดการผ่าเหล่าของยีน ดังนั้นควรหยุดยาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ ส่วน methotrexate เป็นยาที่เป็นอันตรายต่อตัวอ่อน ควรหยุดยาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ แต่จะดีหากเว้นไว้ 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับ Mycophenolate mofetilมีความสัมพันธ์กับความพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะความผิดปกติที่ใบหน้า ควรหยุดอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์1 สำหรับการให้ยาเหล่านี้ไม่ควรให้ในระยะให้นมบุตร

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Ostensen M, Khamashta M, Lockshin M, et al. Anti-inflammatory and immunosuppressive drugs and reproduction. Arthritis Res Ther 2006;8:209.

?

 

การใช้ยากดภูมิคุ้มกันรักษากลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

 

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drug) โดยทั่วไปแล้วเป็นข้อห้ามในการตั้งครรภ์ยกเว้น azathioprine (AZA), cyclosporineและ tacrolimus ซึ่งใช้มากในผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายไต1 แม้ว่าการใช้ azathioprine มีรายงานว่าทำให้เกิดความพิการในหนูและกระต่าย2 และในมนุษย์มีรายงานว่าอาจเกิดผนังหัวใจรั่ว (VSD และ ASD)3 แต่ข้อมูลที่แสดงถึงความปลอดภัย อธิบายจากทารกไม่มีเอนไซม์จะจะเปลี่ยน azathioprine ให้เป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์ได้2 และรกป้องกันการผ่านของ 6-mercaptopurine ซึ่งเป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์ของ azathioprine4,5 ดังนั้นการเลือกใช้ยานี้สามารถทำได้หากประเมินแล้วผลประโยชน์มากกว่าผลเสีย และสำหรับการให้ยาในระยะให้นมบุตรสามารถให้ได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Successful pregnancies in women treated by dialysis and kidney transplantation. Report from the Registration Committee of the European Dialysis and Transplant Association. Br J Obstet Gynaecol 1980;87:839-45.

2.???????????? Polifka JE, Friedman JM. Teratogen update: azathioprine and 6-mercaptopurine. Teratology 2002;65:240-61.

3.???????????? Cleary BJ, Kallen B. Early pregnancy azathioprine use and pregnancy outcomes. Birth Defects Res A Clin Mol Teratol 2009;85:647-54.

4.???????????? Hutson JR, Lubetsky A, Walfisch A, Ballios BG, GarciaBournissen F, Koren G. The transfer of 6-mercaptopurine in the dually perfused human placenta. Reprod Toxicol 2011;32:349-53.

5.???????????? Lee NY, Sai Y, Nakashima E, Ohtsuki S, Kang YS. 6-Mercaptopurine transport by equilibrative nucleoside transporters in conditionally immortalized rat syncytiotrophoblast cell lines TR-TBTs. J Pharm Sci 2011;100:3773-82.

?