คลังเก็บป้ายกำกับ: antiphospholipid syndrome

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome)

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดในมารดา ร่วมกับในภาวะของการตั้งครรภ์จะเป็นภาวะที่เลือดแข็งตัวได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ สำหรับผลต่อการตั้งครรภ์ กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดจะพบความเสี่ยงในการเกิดการแท้ง การเสียชีวิตของทารกในครรภ์ การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษเร็ว การเกิดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้า การเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และการเกิดการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น1 ลักษณะของการแท้งจากกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดจะเกิดในช่วงตั้งครรภ์อายุครรภ์น้อย คือในช่วงก่อนอายุครรภ์ 9 สัปดาห์ หากอายุครรภ์เกิน 14 สัปดาห์แล้ว โอกาสการแท้งจะลดลง และจะพบการแท้งซ้ำได้บ่อย2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.

2.??????????? Tincani A, Bazzani C, Zingarelli S, Lojacono A. Lupus and the antiphospholipid syndrome in pregnancy and obstetrics: clinical characteristics, diagnosis, pathogenesis, and treatment. Semin Thromb Hemost 2008;34:267-73.

?

 

กลไกการเกิดโรคกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome)

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ส่วนหนึ่งอธิบายกลไกการเกิดหลอดเลือดอุดตัน โดยพบการเกิดหลอดเลือดอุดตันและเนื้อตายในรก1 อีกส่วนหนึ่งอธิบายจากกลไกอื่น คือ การจับของ anti-?2-glycoprotein I antibodies (anti-?2GPI) กับ ?2GPIที่พบบนเยื่อหุ้มรกส่งผลให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นการทำงานของ complement ?ยับยั้งการพัฒนาและการเจริญเติบโตของ trophoblast ทำให้รกทำงานไม่ได้ ส่งผลให้การตั้งครรภ์นั้นผิดปกติ2,3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Out HJ, Kooijman CD, Bruinse HW, Derksen RH. Histopathological findings in placentae from patients with intra-uterine fetal death and anti-phospholipid antibodies. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 1991;41:179-86.

2.??????????? La Rosa L, Meroni PL, Tincani A, et al. Beta 2 glycoprotein I and placental anticoagulant protein I in placentae from patients with antiphospholipid syndrome. J Rheumatol 1994;21:1684-93.

3.??????????? Meroni PL, Borghi MO, Raschi E, Tedesco F. Pathogenesis of antiphospholipid syndrome: understanding the antibodies. Nat Rev Rheumatol 2011;7:330-9.

กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome) กับการตั้งครรภ์

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดจะเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกได้หลายอย่าง แต่ยังมีความเข้าใจในเรื่องกลุ่มอาการนี้น้อย เนื่องจากไม่มีชื่อภาษาไทย การเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ได้สื่อความหมายทำให้เข้าใจง่ายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการอธิบายรายละเอียดของกลุ่มโรคนี้

ความหมายของกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด

??????????? กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองที่เกิดการอุดตัน (thrombosis) ของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง โดยที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ได้แก่ การแท้ง การเสียชีวิตของทารก และการคลอดก่อนกำหนด ร่วมกับการตรวจพบ antiphospholipid antibody1? การตรวจพบ antiphospholipid antibody สามารถพบในโรคหรือภาวะอื่นๆ ด้วย ได้แก่ โรคเอสแอลอี (systemic lupus erythematosus) การติดเชื้อ มะเร็ง หรือการตอบสนองต่อยาบางตัว2 อย่างไรก็ตาม การตรวจพบ antiphospholipid antibody เป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดอุดตันและการเสียชีวิตของทารกที่เกิดจากสาเหตุภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองของมารดา3

??????????? antiphospholipid antibody เป็นกลุ่มของแอนติบอดี หลายตัว ได้แก่ Lupus Anticoagulant (LAC), anticardiolipin antibodies (aCL) และ anti-?2-glycoprotein I antibodies (anti-?2GPI) แอนติบอดีเหล่านี้ไม่ได้ออกฤทธิ์ต่อ phospholipid โดยตรง แต่ออกฤทธิ์ผ่านโปรตีนที่เป็นประจุบวกในเส้นเลือดโดยอาจออกฤทธิ์เดี่ยวๆ หรือออกฤทธิ์ควบคู่รวมกันกับ phospholipid ที่เป็นประจุลบโดยทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.

2.???????? Biggioggero M, Meroni PL. The geoepidemiology of the antiphospholipid antibody syndrome. Autoimmun Rev 2010;9:A299-304.

3.???????? Tincani A, Bazzani C, Zingarelli S, Lojacono A. Lupus and the antiphospholipid syndrome in pregnancy and obstetrics: clinical characteristics, diagnosis, pathogenesis, and treatment. Semin Thromb Hemost 2008;34:267-73.

4.???????? Pierangeli SS, Chen PP, Raschi E, et al. Antiphospholipid antibodies and the antiphospholipid syndrome: pathogenic mechanisms. Semin Thromb Hemost 2008;34:236-50.