คลังเก็บป้ายกำกับ: SLE

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นเอสแอลอี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โรคเอสแอลอี หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตนเองแทนที่จะมีหน้าที่ปกป้องร่างกายกลับทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อของตนเองในหลาย ๆ ระบบ เช่น ระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อและข้อ ไต และระบบการหายใจ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม และถูกกระตุ้นโดยปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยเอสแอลอีมักเป็นในผู้หญิงและช่วงที่อาการเกิดกำเริบก็มักจะเป็นในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งแม่ได้รับการรักษาให้อาการของโรคเริ่มสงบลงแล้ว หากไม่ได้วางแผนเรื่องการคุมกำเนิด จะพบผู้ป่วยเอสแอลอีตั้งครรภ์ ซึ่งเมื่อมีการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนของโรค และผลเสียจากการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาการของโรคมักไม่กำเริบรุนแรงและเมื่อเลือกใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่ำที่จะมีผลต่อทารก การดูแลการตั้งครรภ์ก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เมื่อทารกคลอดออกมา พบว่าการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกนั้นพบน้อยกว่า ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่า และเหตุผลที่หยุดการให้นมนั้นคือ กระบวนการรักษา ซึ่งก็คือ ความวิตกเรื่องการใช้ยา ทั้ง ๆ ที่ความเสี่ยงจากการใช้ยามีอยู่ต่ำเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่มารดาและทารกจะได้รับจากการให้ลูกได้กินนมแม่1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสนใจ และมีความเข้าใจว่ามารดาที่เป็นเอสแอลอีต้องถือว่าความเสี่ยงในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกก่อนเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น การดูแลให้ความรู้เรื่องโรค การรักษา และการใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่ำนั้น หากมารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็สามารถทำได้ และเมื่อมารดาเข้าใจได้ดีแล้ว ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่เป็นโรคเอสแอลอีนั้น น่าจะยาวนานขึ้นโดยปราศจากความวิตกกังวลในเรื่องของการใช้ยาเพื่อรักษาอาการของโรค

เอกสารอ้างอิง

  1. Acevedo M, Pretini J, Micelli M, Sequeira G, Kerzberg E. Breastfeeding initiation, duration, and reasons for weaning in patients with systemic lupus erythematosus. Rheumatol Int 2017;37:1183-6.

 

 

การคุมกำเนิดในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรระมัดระวังเรื่องการตั้งครรภ์เนื่องจากจะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคและผลเสียจากการรักษาต่อมารดาและทารก ร่วมกับเมื่ออาการของโรคดีขึ้น โอกาสของการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น ดังนั้น การเลือกวิธีการคุมกำเนิดในผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรเลือกด้วยความระมัดระวังดังนี้

-การให้สามีใช้ถุงยางอนามัย วิธีนี้ปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสกำเริบของโรค

-การใส่ห่วงอนามัย วิธีนี้สามารถใส่ได้ทั้งชนิดที่ไม่มีและมีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภูมิคุ้มกันต่ำ การติดเชื้อง่าย การเฝ้าระวังการติดเชื้อในช่วงแรกของการใส่ห่วงอนามัยจึงมีความจำเป็น1,2 นอกจากนี้ ในผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยอาจมีอาการหน่วงหรือปวดท้องน้อยเล็กน้อยได้

-การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด กลุ่มยาฉีดคุมกำเนิดเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งไม่ส่งผลให้อาการของโรคกำเริบ จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องกระดูกบาง เนื่องจากหลังหยุดการใช้ยามวลกระดูกจะกลับสู่ภาวะปกติ3

-การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน หากเป็นฮอร์โมนรวม การใช้เอสโตรเจนมักสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค4 มีรายงานว่าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำได้ในช่วงที่อาการของโรคสงบ5,6 ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Campbell SJ, Cropsey KL, Matthews CA. Intrauterine device use in a high-risk population: experience from an urban university clinic. Am J Obstet Gynecol 2007;197:193 e1-6; discussion? e6-7.

2.???????????? Stringer EM, Kaseba C, Levy J, et al. A randomized trial of the intrauterine contraceptive device vs hormonal contraception in women who are infected with the human immunodeficiency virus. Am J Obstet Gynecol 2007;197:144 e1-8.

3.???????????? Chabbert-Buffet N, Amoura Z, Scarabin PY, et al. Pregnane progestin contraception in systemic lupus erythematosus: a longitudinal study of 187 patients. Contraception 2011;83:229-37.

4.???????????? Cutolo M, Capellino S, Straub RH. Oestrogens in rheumatic diseases: friend or foe? Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii2-5.

5.???????????? Sanchez-Guerrero J, Uribe AG, Jimenez-Santana L, et al. A trial of contraceptive methods in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2539-49.

6.???????????? Petri M, Kim MY, Kalunian KC, et al. Combined oral contraceptives in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2550-8.