การประเมินและติดตามเมื่อใช้คุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินต้องระมัดระวังเสมอว่าไม่ควรมีการตั้งครรภ์ก่อน ซึ่งการคุมกำเนิดจะไม่ได้ผล แต่หากประเมินแล้วไม่มีข้อมูลว่ามีการตั้งครรภ์และระยะการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระยะที่ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินยังมีประสิทธิภาพ การใช้อาจจะช่วยลดหรือป้องกันการตั้งครรภ์ได้

??????????? การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกันหรือวางแผน มักมีความสัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะทำให้สามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื่องการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบและการตั้งครรภ์นอกมดลูก

??????????? หลังจากที่ใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแล้ว หากต้องการการคุมกำเนิดต่ออาจใช้วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย หรืออาจใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวมรับประทานต่อไปจนหมดแผง สำหรับการติดตามควรสังเกตการมีประจำเดือนซึ่งอาจจะมีประจำเดือนมาภายใน 21 วันหลังการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินหรือกรณีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมต่อจากการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินประจำเดือนควรจะมาภายใน 28 วัน หากไม่มีประจำเดือนมาควรตรวจสอบการตั้งครรภ์ ส่วนกรณีที่มีประวัติสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?