การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรทำอย่างไร

IMG_0726

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติมีทั้งการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขาดความครบถ้วนในการให้การดูแล รายละเอียดที่ต้องประเมินสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

  • ทบทวนประวัติฝากครรภ์ ประวัติการคลอด และการดูแลทารกหลังเกิดใหม่
  • พูดคุยกับมารดาถึงเวลาและกระบวนการที่มารดาให้นมลูกครั้งแรกหลังคลอด
  • สอบถามมารดาว่า เคยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนหรือไม่
  • มารดาปฏิบัติอย่างไรในการให้นมลูก และรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทารกจำเป็นต้องกระตุ้นหรือปลุกให้ตื่นเพื่อกินนมหรือไม่
  • ทารกเข้าเต้าง่ายหรือกระตือรือร้นที่จะกินนมหรือไม่
  • ทารกได้รับการเข้าเต้าเพื่อให้นมกี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  • ทารกได้รับการเสริมด้วยอาหารอื่นใดนอกจากนมแม่หรือไม่
  • จำนวนครั้งในการเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกแฉะใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระของทารกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • มารดารู้สึกสบายในการให้นมหรือมีการเจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • มารดารับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า หากบุคลากรทางการแพทย์ให้การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความตั้งใจและขั้นตอนในการให้นมลูกซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ จะทำให้มีข้อมูลที่จะให้คำแนะนำมารดาและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.