การมีน้ำนมมาช้ามีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หลังมารดาคลอด หากน้ำนมมารดามาช้ากว่า 72 ชั่วโมงหรือ 3 วันหลังคลอดจะได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะน้ำนมมาช้า ซึ่งภาวะน้ำนมมาช้าจะสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในเดือนที่สามและเดือนที่หกหลังคลอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และร้อยละ 14 ตามลำดับ1 ดังนั้น การลดหรือช่วยแก้ไขปัญหาการมีน้ำนมมาช้าจะเป็นกระบวนการเชิงรุกในการช่วยลดปัญหาการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดและการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหกเดือนหลังคลอด ซึ่งการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างน้ำนมแก่มารดาและการช่วยกระตุ้นให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และการให้ทารกกระตุ้นดูดนมแม่บ่อย ๆ วันละ 8-12 ครั้งในมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำนมมาช้าจะช่วยลดปัญหานี้ได้

เอกสารอ้างอิง

1.        Huang L, Xu S, Chen X, et al. Delayed Lactogenesis Is Associated with Suboptimal Breastfeeding Practices: A Prospective Cohort Study. J Nutr 2020;150:894-900.