คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด

02090044

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การที่ทารกได้รับการผ่าตัดคลอด ทารกจะไม่ได้ผ่านลงในช่องคลอด และจะไม่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากช่องคลอดที่จะเข้าไปเจริญเติบโตเป็นจุลินทรีย์ถิ่น (normal flora) ที่อยู่ในลำไส้ทารก ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยในย่อยอาหาร กระตุ้นภูมิคุ้มกัน1,2 และการพัฒนาการที่จำเป็นของลำไส้3 จึงมีแนวคิดว่าจะป้ายแบคทีเรียในช่องคลอด (vaginal seeding) ให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด โดยหวังว่าจะช่วยในการเพิ่มจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่จะเจริญเติบโตไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่นในช่องคลอด โดยมีการทำในหลายประเทศ4 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ในการใช้การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอดยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน ซึ่งมีความคิดเห็นบางความคิดเห็นที่คิดแตกต่างกัน โดยข้อคิดแย้งมีความวิตกกังวลว่าอาจจะทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการป้ายเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่บางครั้งอาจมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแฝงอยู่ด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติการที่จะช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่จะเข้าไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่น ควรเลือกวิธีการที่มีการรับรองว่ามีความปลอดภัยก่อนมากกว่า ได้แก่ การให้ทารกที่ผ่าตัดคลอดได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยทารกได้เช่นเดียวกัน สามารถปฏิบัติได้ง่าย และมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลากหลายด้าน

เอกสารอ้างอิง

  1. West CE, Renz H, Jenmalm MC, et al. The gut microbiota and inflammatory noncommunicable diseases: associations and potentials for gut microbiota therapies. J Allergy Clin Immunol 2015;135:3-13; quiz 4.
  2. Sevelsted A, Stokholm J, Bonnelykke K, Bisgaard H. Cesarean section and chronic immune disorders. Pediatrics 2015;135:e92-8.
  3. Madan JC, Hoen AG, Lundgren SN, et al. Association of Cesarean Delivery and Formula Supplementation With the Intestinal Microbiome of 6-Week-Old Infants. JAMA Pediatr 2016:1-8.
  4. Molloy A. Mothers facing C-sections look to vaginal ?seeding? to boost their babies’ health.Guardian?2015 Aug 17.

 

?

ลักษณะมารดาที่เสี่ยงจะมีลูกอ้วน

IMG_9407

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีการศึกษาถึงลักษณะของมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วน โดยพบว่ามารดาที่มีน้ำหนักขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์เกินเกณฑ์ มารดาที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และมารดาที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วนที่อายุ 8 ขวบ1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำให้มารดาได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์ ควบคุมการขึ้นของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ การให้ลูกกินนมแม่ยังช่วยป้องกันภาวะอ้วนในทารกได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Mourtakos SP, Tambalis KD, Panagiotakos DB, et al. Maternal lifestyle characteristics during pregnancy, and the risk of obesity in the offspring: a study of 5,125 children. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:66.

?

ท่านรู้จัก เบบี้คาเฟ่ ไหม

IMG_9418

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? เบบี้คาเฟ่ คือ รูปแบบการให้บริการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างหนึ่งที่ใช้เรียกกันในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ ซึ่งการบริการจะคล้ายกับคลินิกนมแม่ คือ มีการให้ความรู้ ช่วยเหลือเรื่องทักษะการปฏิบัติ การให้คำปรึกษา และติดตามสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงสิ่งที่มารดาต้องการจากเบบี้คาเฟ่ พบว่า การให้เวลาและให้ความสำคัญโดยยึดหลักมารดาและทารกเป็นศูนย์กลางการให้บริการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด1 ดังนั้น ในการให้บริการที่คลินิกนมแม่อาจจะนำความคาดหวังของการให้บริการเบบี้คาเฟ่มาปรับใช้ได้ โดยให้ความสำคัญกับมารดาและทารก ให้เวลา ติดตามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในสัปดาห์แรกหลังคลอด ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนเป็นสัปดาห์ทองในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหากมารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสมแล้ว โอกาสที่จะมีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น จะมีสูงตามด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Fox R, McMullen S, Newburn M. UK women’s experiences of breastfeeding and additional breastfeeding support: a qualitative study of Baby Cafe services. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:147.

?

?

การดูแลอาการซึมเศร้าหลังคลอดกับการให้นมแม่ ตอนที่4

S__38207872

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?4.โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1 การดูแลรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา ต้องมีการวางแผนการดูแลรักษาโดยแพทย์และจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาร่วมกับการเอาใจใส่และความเข้าใจของครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาสามารถทำได้ตามปกติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.

 

 

 

การดูแลอาการซึมเศร้าหลังคลอดกับการให้นมแม่ ตอนที่3

S__45850759

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? 3.โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์ การดูแลโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และทีมที่ร่วมในการรักษา เนื่องจากมารดามีอาการซึมเศร้ารุนแรงในระดับที่ถือว่าผิดปกติและนับเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน การใช้ยาร่วมในการรักษามีความจำเป็น ยาที่ใช้มีหลายชนิด โดยที่ยาที่มักเลือกใช้ก่อนมักใช้ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ได้แก่ sertraline (Zoloft), paroxetine (Paxil) และ escitalopram (Lexapro) เนื่องจากระดับยาที่พบในน้ำนมมีระดับต่ำ สำหรับยา Fluoxetine (Prozac) ใช้รักษาได้ดี แต่ค่าครึ่งชีวิตของยายาวนานกว่า ยาจะผ่านไปที่น้ำนมมากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ โดยหากมีความจำเป็น ควรมีการติดตามดูอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ในทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ หากมารดาปราศจากความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทำร้ายลูก ดังนั้น ก่อนการวางแผนการรักษาจำเป็นต้องมีการประเมินมารดาถึงความเสี่ยงนี้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.