คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ดูอย่างไรว่า นมแม่มีพอ?

ดูอย่างไรว่า นมแม่มีพอ?

 

? ? ? ? ? ปัญหาสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่พบเจอในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่น้ำนมมาช้า มาน้อยและมาไม่เพียงพอ ปกติน้ำนมแม่จะเริ่มมาภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งกลไกสำคัญที่ทำให้น้ำนมมาเร็วคือ การเข้าเต้าได้ถูกต้องและให้ลูกกระตุ้นดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง เมื่อน้ำนมมาแล้ว คุณแม่ก็มักจะวิตกกังวลว่าน้ำนมจะเพียงพอหรือไม่ จะมีวิธีในการสังเกตอย่างไร สิ่งนี้ไม่ยากเลย หากคุณแม่สังเกตลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกว่านมแม่มีพอ1 ดังนี้

– เต้านมคุณแม่ตึงก่อนให้นม และนิ่มหลังจากให้นมเรียบร้อยแล้ว

– ขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง น้ำนมจะไหลออกจากเต้านมอีกข้าง

– ได้ยินเสียงกลืนน้ำนมขณะลูกดูดนม

– ลูกรู้สึกผ่อนคลายขณะดูดนมและพึงพอใจหลังดูดนม

– ระหว่างลูกดูดนม มีเวลาที่ลูกตื่น รู้สึกตัวแต่สงบ

– ให้นมได้ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง

– ลูกปัสสาวะเกือบทุกครั้งหลังดูดนมและถ่ายหลายครั้งต่อวัน

– น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้น 20-30 กรัมต่อวันหลังจาก 3-5 วันหลังคลอด

? ? ? ? ? ลักษณะหลายอย่างข้างต้นบ่งบอกถึงว่า น้ำนมที่ให้ลูกน่าจะเพียงพอ เมื่อคุณแม่สังเกตพบอาการต่างๆ แล้ว อยากให้มีความมั่นใจ เนื่องจากเด็กที่กินนมแม่มักจะไม่อ้วน แต่น้ำหนักขึ้นและพัฒนาการตามเกณฑ์ปกติ คุณแม่บางคนอยากให้ลูกอ้วน น่ารัก แต่การที่ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะมีผลต่างความเจ็บป่วยในระยะยาวของลูกได้ ดังนั้น ความต้องการหรือค่านิยมผิดๆ คุณแม่และครอบครัวควรทำความเข้าใจและนึกถึงประโยชน์ของลูกเป็นหลักก่อนเสมอ

? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น เมื่อมีน้ำนมมาแล้วและมาเพียงพอ การยิ่งกระตุ้นให้บ่อยน้ำนมยิ่งมามาก การให้ลูกดูดนมแนะนำให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าข้างหนึ่ง แล้วสลับมาให้อีกข้างให้เกลี้ยงเต้าเช่นกัน การให้นมจนเกลี้ยงเต้าข้างหนึ่งแล้วสลับมาให้อีกข้างจะให้เวลาการสร้างน้ำนมในข้างที่หมด และจะทำให้การสร้างน้ำนมยิ่งสร้างเร็วขึ้น การให้นมโดยมีเทคนิคถูกต้องนี้จะสร้างให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนได้ตามความตั้งใจ

 

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

อะไรคือการเข้าเต้า?

การเข้าเต้า

 

? ? ? ? ?คุณแม่และครอบครัวอาจจะเคยได้ยินบุคลากรทางการแพทย์เอ่ยถึงการเข้าเต้าในการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่อาจฟังไปเพลินๆ ไม่ได้ติดใจอะไร แต่เมื่อสอบถามว่า อะไรคือการเข้าเต้า คุณแม่มักอ้ำอึ้ง ไม่แน่ใจในความหมาย

? ? ? ? ?การเข้าเต้า หมายถึง การนำทารกเข้าสู่เต้านมแม่ เพื่อให้ดูดนม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า ?Latch on? โดยกลไกการเข้าเต้านั้น เริ่มตั้งแต่การนำทารกเข้าสู่เต้านมแม่ ให้การกระตุ้นด้วยสัมผัสของเต้านมกับริมฝีปากล่างก่อนซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก จากนั้นประกบเต้านมเข้ากับริมฝีปากบนเพื่อให้ทารกงับกลุ่มของหัวนมและลานหัวนมเข้าไปในปาก1 กระบวนนี้จะนำไปสู่การกระตุ้นดูดนมจากเต้านมแม่ การเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสมจะทำให้ทารกดูดนมได้ดี อาจกล่าวได้ว่า ?การเข้าเต้าเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? เมื่อเข้าเต้าได้แล้ว จะดูอย่างไรว่าเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม มีการคิดคะแนนประเมินการเข้าเต้าจากข้อมูล ลักษณะการเข้าเต้า การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะหัวนม การสะดวกสบายและการอุ้มประคองทารก ดังตารางที่ 1 หรือเรียกว่า Latch score โดยใช้ตัวย่อของ LATCH มาใช้เป็นหัวข้อในการช่วยจำและให้คะแนน เพื่อทำนายความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ?การให้คะแนนประเมินการเข้าเต้า หากพบว่าคะแนนที่ประเมินมากกว่า 8 จะทำนายโอกาสของความสำเร็จของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อครบหกสัปดาห์หลังได้สูงกว่า 1.7 เท่าของคุณแม่ที่ได้คะแนนต่ำกว่า2 ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ คงจะทำให้คุณแม่เข้าใจและเตรียมตัวได้ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการประเมินการเข้าเต้าหรือ Latch score

ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการประเมินการเข้าเต้าหรือ Latch score

 

 

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. Kumar SP, Mooney R, Wieser LJ, Havstad S. The LATCH scoring system and prediction of breastfeeding duration. J Hum Lact 2006; 22:391-7.

 

การเข้าเต้า

 

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

 

เมื่อเต้านมคัด…จะทำอย่างไรดี?

 

? ? ? ? ?เต้านมคัดเป็นปัญหาที่คุณแม่ทุกคนต้องประสบพบเจอหลังคลอด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวด ไม่สบายตัว มีไข้ และให้นมได้ไม่ดี การแนะนำการปฏิบัติจากบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใหญ่ในครอบครัวและเพื่อนผู้มีประสบการณ์มีความเห็นที่แตกต่างและหลากหลายทำให้คุณแม่ยากที่จะตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตัวที่เหมาะสมอย่างไรเพื่อจะทำให้รู้สึกสบายตัวและให้นมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูข้อมูลเรื่องเต้านมกันดีกว่า

? ? ? ? ?เต้านมคัด เกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่มาเลี้ยงเต้านมเพื่อสนับสนุนการสร้างน้ำนมให้มากขึ้นร่วมกับน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นด้วย จะเกิดขึ้นในช่วง 2-5 วันหลังคลอด เมื่อมีอาการตึงคัดเต้านมแล้ว คุณแม่จะมีอาการตึงปวด ร้อนบริเวณเต้านม อาจพบมีไข้ต่ำๆ มักไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส การที่เต้านมคัดตึงจะทำให้ลานหัวนมตึงแข็ง การเข้าเต้าจะทำได้ไม่ดี และเป็นปัญหาทำให้เจ็บหัวนม หัวนมแตกและส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1

? ? ? ? ?การป้องกันการคัดเต้านม ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือและยาออกซีโตซินซึ่งกระตุ้นการหดรัดตัวมดลูกระหว่างระยะคลอดมากเกินไป การให้นมบ่อยๆ ให้นมจนเกลี้ยงเต้าและให้นมแม่ต่อเนื่องในระยะหลังคลอดใหม่2

? ? ? ? ? สำหรับการแก้ปัญหาเต้านมคัดนั้น ใช้การประคบเย็นที่เต้านม ให้ยาลดไข้หรือแก้ปวดและคุณแม่ควรบีบไล่น้ำนมออกจากเต้านมก่อนการเข้าเต้าเพื่อให้ลานหัวนมนุ่มขึ้น3ร่วมกับการให้ลูกดูดนมเพื่อลดปริมาณน้ำนมในเต้านมวันละ 8-12 ครั้ง การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องอย่างเข้มงวด จะลดปัญหาอาการเต้านมคัดลงภายใน 1-2 วัน หลังจากนั้นการกระตุ้นน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้น้ำนมมามากขึ้น มีน้ำนมเพียงพอและหากคุณแม่ตั้งใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนก็จะประสบความสำเร็จได้ สำหรับการประคบเย็นเต้านมด้วยใบกระหล่ำปลีแช่แข็งนั้น ข้อมูลเรื่องนี้ประโยชน์ในการลดการเต้านมคัดยังไม่ชัดเจน1 ในส่วนโรงพยาบาลการสนับสนุนให้ลูกดูดนมแม่ ควรจัดให้ลูกได้ดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอด เมื่อเต้านมตึงคัดอาจช่วยโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นพี่เลี้ยงสอนการบีบนมออกจากเต้า ช่วยจัดท่าที่ให้นมที่เหมาะสม ให้คุณแม่รู้สึกสบาย ไม่ปวดเมื่อย เปิดโอกาสให้คุณแม่ได้อย่างกับลูกตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยสัมผัสที่ดีระหว่างแม่กับลูกและคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตามต้องการ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะช่วยในส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณแม่แล้ว ยังส่งเสริมอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยให้สูงขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. LawrenceRA, LawrenceRM. Breastfeeding: A Guide for the Medical Profession.Philadelphia,PA: Elsevier Mosby, 2005.
  3. CottermanKJ. Reverse pressure softening: a simple tool to prepare areola for easier latching during engorgement. J Hum Lact 2004;20:227-37.

?รูปที่ 1 แสดงเต้านมคัด

 

เต้านมคัด?เต้านมคัด

 

 

 

?รูปที่ 2 แสดงการบีบน้ำนมออกจากเต้านม

แสดงการบีบน้ำนมออกจากเต้านม

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

 

? ? ? ? ? ธรรมชาติสร้างให้คุณแม่ทุกคนมีน้ำนมให้ลูก น้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ละชนิดก็จะมีสัดส่วนของสารอาหารเหมาะสมสำหรับตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นๆ ดังนั้นเราไม่ควรละเลยเรื่องนมแม่ มาดูกลไกการสร้างน้ำนมของคุณแม่ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

? ? ? ? ? นมแม่ จะเริ่มผลิตตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์โดยการกระตุ้นของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ โปรแลคติน ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรกจะคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งหรือมีน้ำนมไหลออกมา เมื่อเกิดการคลอดรก ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง1 กลไกการยั้บยั้งน้ำนมหายไป ทำให้ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรแลคตินเด่นชัดขึ้น เมื่อลูกดูดนมจะเกิดการกระตุ้นให้ฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้นอีก การสร้างน้ำนมก็จะมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการดูดนมจะกระตุ้นฮอร์โมนออกซีโตซินที่ช่วยในการหลั่งหรือทำให้เกิดการไหลของน้ำนม ช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้น การกระตุ้นให้ฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ควรให้ลูกกระตุ้นดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง

? ? ? ? ? โดยปกตินมแม่จะเริ่มมีภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยในระยะแรกจะเป็นน้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งจะเป็นน้ำนมที่มีภูมิคุ้มกันอยู่สูง ประมาณ 4 วันหลังคลอดน้ำนมเหลืองจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมช่วงเปลี่ยนผ่าน (transitional milk) จากนั้น 10 วันหลังคลอดจะเปลี่ยนเป็นนมแม่ปกติ ในน้ำนมแม่ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกครบถ้วน โดยจะมีไขมันที่ให้พลังงานในสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือ น้ำตาลแลคโตส ที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ดี ทารกสามารถนำสารอาหารนี้ไปใช้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในกรณีที่คุณแม่มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำนมแม่จะมีสัดส่วนของสารอาหารคงที่ไม่ได้ขึ้นกับการรับประทานอาหารของคุณแม่ในแต่ละมื้อ แต่หากมีคุณแม่มีภาวะขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารเสริมอาจจำเป็น มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการมาช้าหรือเร็วของน้ำนม2-4 ได้แก่

– ลำดับครรภ์ คุณแม่ท้องแรกจะมีน้ำนมช้ากว่าท้องหลัง

– คุณแม่ที่มีระยะเบ่งคลอดที่ยาวนานหรือมีภาวะเครียดระหว่างการคลอดจะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

– การผ่าตัดคลอด คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด น้ำนมจะมาช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ

– หัวนมแบนหรือบอด จะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

– การใช้ขวดนม จะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

– คุณแม่ที่อ้วน หรือมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน จะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

– การที่มีเศษของรกค้างอยู่ในมดลูก จะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

– การให้ลูกกระตุ้นดูดนมหรือปั๊มนมห่างเกินไป จะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้า

? ? ? ? ? จะเห็นปัจจัยหลายอย่างที่สัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้าสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากน้ำนมมาเร็วและมามาก คุณแม่จะมั่นใจในการให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากน้ำนมแม่มาช้าก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ความพยายามกระตุ้นโดยให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมงจะทำให้น้ำนมแม่มาเร็วขึ้นและเพียงพอได้ ขอให้คุณแม่ทุกคนประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. Rasmussen KM, Kjolhede CL. Prepregnant overweight and obesity diminish the prolactin response to suckling in the first week postpartum. Pediatrics 2004;113:e465-71.
  3. LoveladyCA. Is maternal obesity a cause of poor lactation performance? Nutr Rev 2005; 63:352-5.
  4. Dewey KG, Nommsen-Rivers LA, Heinig MJ, Cohen RJ. Risk factors for suboptimal infant breastfeeding behavior, delayed onset of lactation, and excess neonatal weight loss. Pediatrics 2003;112:607-19.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์