คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การจัดการสอนแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9411

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป ในสถาบันที่มีแพทย์ประจำบ้าน บทบาทสำคัญคือการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้แก่แพทย์ประจำบ้านเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมมีความจำเป็น ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน แพทย์ประจำบ้านจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการให้บริการและคำปรึกษากับมารดาที่เพียงพอและเหมาะสม แต่จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า การจัดการฝึกอบรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่าง 3 ปีของการจัดอบรมแพทย์ประจำบ้านมีจำนวนการฝึกอบรมเฉลี่ย 9 ชั่วโมง และจากการสำรวจสถาบันฝึกอบรม 132 แห่ง พบว่ามีเพียง 10 สถาบันฝึกอบรมที่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ประจำบ้าน1 นอกจากนี้ ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้มีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันในพื้นฐานหรือความจำเป็นเบื้องต้นในการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รูปแบบการศึกษายังมีการใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ในขณะที่เวลาที่ให้กับการได้รับประสบการณ์จากการร่วมหรือดูแลมารดาและทารกโดยตรงมีจำกัด

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ได้กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์แล้ว แต่ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านยังไม่มีแนวทางที่กำหนดชัดเจน ดังนั้น การที่จะพัฒนาทักษะและความรู้ของแพทย์ประจำบ้านซึ่งมีความสำคัญในระบบการให้บริการทางการแพทย์และยังเป็นพี่เลี้ยงในการให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์จึงมีความจำเป็น เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นการลงทุนพัฒนามนุษย์ที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาวะของมนุษย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Osband YB, Altman RL, Patrick PA, Edwards KS. Breastfeeding education and support services offered to pediatric residents in the US. Acad Pediatr 2011;11:75-9.

?

?

ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บของหัวนมในการให้ลูกกินนมแม่

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การบาดเจ็บของหัวนมพบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตร โดยมีรายงานการพบการบาดเจ็บหัวนมถึงร้อยละ 62.9 เมื่อมารดากลับไปให้นมที่บ้าน และปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บหัวนมที่พบ ได้แก่ การจัดท่าทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมไม่เหมาะสม ทำให้การวางตำแหน่งของหัวนมในช่องปากทารกไม่ได้ตำแหน่งที่ดี และตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกในระหว่างการดูดนมไม่สมดุลกัน ซึ่งพบในเทคนิคของการจัดท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ (cross cradle) ที่ไม่ถูกต้อง โดยการที่ตำแหน่งของหัวนมอยู่ในช่องปากทารกไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 2.51 เท่า (95% CI 1.13-5.55) การที่ตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกขณะดูดนมอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุลจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 4.21 เท่า (95% CI 1.25-14.20) และเทคนิคในการให้ทารกกินนมในท่าขวางตักประยุกต์ที่ไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.90 เท่า (95% CI 1.03-3.50)1 ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ สังเกตขณะที่มารดาให้นมลูก โดยดูว่าทารกสามารถเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ก่อนที่มารดาจะได้รับการอนุญาตให้กลับบ้าน จะช่วยป้องกันปัญหาและปัจจัยเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมของมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thompson R, Kruske S, Barclay L, Linden K, Gao Y, Kildea S. Potential predictors of nipple trauma from an in-home breastfeeding programme: A cross-sectional study. Women Birth 2016.

?

?

มารดาที่ให้นมลูกดื่มเครื่องดื่มชูกำลังได้ไหม

S__46162102

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในช่วงหลังคลอด มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะต้องตื่นบ่อยเพื่อให้นมลูก และบางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลีย จึงอาจมีคำถามว่า สามารถดื่มเครื่องดื่มชูกำลังได้หรือไม่ โดยทั่วไปเครื่องดื่มชูกำลังที่มีขายตามท้องตลาดมักมีส่วนประกอบของคาเฟอีน วิตามิน น้ำตาลเพื่อให้พลังงานและสมุนไพรบางชนิด1 ซึ่งมารดาอาจสามารถตรวจสอบส่วนผสมของสารที่มีอยู่ในเครื่องดื่มชูกำลังได้จากฉลากที่ติดอยู่ข้างขวด โดยคาเฟอีนที่มีอยู่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะผ่านไปสู่น้ำนมได้ดีและอาจทำให้ทารกร้องกวน หงุดหงิด ไม่ยอมนอนได้ เนื่องจากคาเฟอีนที่ผ่านไปยังทารกจะถูกกำจัดได้ช้ากว่าและอยู่ในร่างกายทารกนาน สำหรับวิตามินและน้ำตาลสามารถรับประทานได้ในขนาดที่ไม่เกินความต้องการของร่างกาย ส่วนสมุนไพรบางชนิดอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ในระหว่างการให้นมลูก ดังนั้น ทางเลือกแรกที่เหมาะสมสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร ควรเลือกการพักผ่อนไปพร้อมกับทารกมากกว่า คือ ?ลูกหลับแม่หลับด้วยเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนได้ดีขึ้น? สำหรับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมักมีส่วนประกอบของคาเฟอีนและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องศึกษาจากฉลากที่ชี้แจงส่วนผสมก่อนการเลือกใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. Thorlton J, Ahmed A, Colby DA. Energy Drinks: Implications for the Breastfeeding Mother. MCN Am J Matern Child Nurs 2016.

?

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยชีวิตทั้งแม่และลูก

latching2-1-o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่มีประโยชน์มากทั้งต่อมารดาและทารก ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคเบาหวาน และช่วยในการคุมกำเนิดได้ ในทารกช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ โรคท้องร่วง การอักเสบของหูส่วนกลาง โรคหอบหืด โรคอ้วน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก รวมถึงเพิ่มความเฉลียวฉลาด โดยมีการคำนวณเฉพาะการป้องกันมะเร็งเต้านม ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบันป้องกันมารดาทั่วโลกจากการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมปีละราว 20000 คน สำหรับในทารก หากได้กินนมแม่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกทั่วโลกได้ราวปีละ 800000 คน1 ดังนั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมชาติที่ง่ายในการปฏิบัติที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น จึงควรค่าในการส่งเสริมสนับสนุน และลงทุนเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Victora CG, Bahl R, Barros AJ, et al. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet 2016;387:475-90.

?

การตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีผลเสียต่อมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การติดเชื้อเอชไอวีพบได้ในคนทั่วไปทั้งในบุรุษและสตรี โดยอุบัติการณ์จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งในปัจจุบันการใช้ชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หากดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ออกกำลังกาย และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ แต่เริ่มมีคำถามว่า หากสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือคุมกำเนิดมีผลต่อตัวโรคที่เป็นอยู่ไหม จะทำให้โรคแย่ลงหรือไม่ มีการศึกษาเพื่อตอบคำถามนี้ พบว่า การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หรือการคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง1

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม สตรีที่ตั้งครรภ์ควรทราบถึงโอกาสที่บุตรจะติดเชื้อผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดซึ่งหากมีการดูแลที่เหมาะสม โอกาสที่จะติดเชื้อน้อยราวร้อยละ 1 สำหรับการให้นมบุตร หากมีทางเลือกแนะนำการใช้นมผสม แต่หากจำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ การพาสเจอไรส์นมแม่ หรือการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าการกินนมแม่ร่วมกับนมผสม สำหรับการคุมกำเนิดสามารถใช้การคุมกำเนิดโดยการกินยาคุมกำเนิด การฉีดยาหรือใช้ยาฝังคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนหรือไม่ได้ตั้งใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Wall KM, Kilembe W, Haddad L, et al. Hormonal Contraception, Pregnancy, Breastfeeding, and Risk of HIV Disease Progression Among Zambian Women. J Acquir Immune Defic Syndr 2016;71:345-52.