คลังเก็บป้ายกำกับ: ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บของหัวนมในการให้ลูกกินนมแม่

ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บของหัวนมในการให้ลูกกินนมแม่

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การบาดเจ็บของหัวนมพบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตร โดยมีรายงานการพบการบาดเจ็บหัวนมถึงร้อยละ 62.9 เมื่อมารดากลับไปให้นมที่บ้าน และปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บหัวนมที่พบ ได้แก่ การจัดท่าทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมไม่เหมาะสม ทำให้การวางตำแหน่งของหัวนมในช่องปากทารกไม่ได้ตำแหน่งที่ดี และตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกในระหว่างการดูดนมไม่สมดุลกัน ซึ่งพบในเทคนิคของการจัดท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ (cross cradle) ที่ไม่ถูกต้อง โดยการที่ตำแหน่งของหัวนมอยู่ในช่องปากทารกไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 2.51 เท่า (95% CI 1.13-5.55) การที่ตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกขณะดูดนมอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุลจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 4.21 เท่า (95% CI 1.25-14.20) และเทคนิคในการให้ทารกกินนมในท่าขวางตักประยุกต์ที่ไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.90 เท่า (95% CI 1.03-3.50)1 ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ สังเกตขณะที่มารดาให้นมลูก โดยดูว่าทารกสามารถเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ก่อนที่มารดาจะได้รับการอนุญาตให้กลับบ้าน จะช่วยป้องกันปัญหาและปัจจัยเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมของมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thompson R, Kruske S, Barclay L, Linden K, Gao Y, Kildea S. Potential predictors of nipple trauma from an in-home breastfeeding programme: A cross-sectional study. Women Birth 2016.

?

?