การจัดการสอนแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9411

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป ในสถาบันที่มีแพทย์ประจำบ้าน บทบาทสำคัญคือการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้แก่แพทย์ประจำบ้านเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมมีความจำเป็น ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน แพทย์ประจำบ้านจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการให้บริการและคำปรึกษากับมารดาที่เพียงพอและเหมาะสม แต่จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า การจัดการฝึกอบรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่าง 3 ปีของการจัดอบรมแพทย์ประจำบ้านมีจำนวนการฝึกอบรมเฉลี่ย 9 ชั่วโมง และจากการสำรวจสถาบันฝึกอบรม 132 แห่ง พบว่ามีเพียง 10 สถาบันฝึกอบรมที่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ประจำบ้าน1 นอกจากนี้ ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้มีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันในพื้นฐานหรือความจำเป็นเบื้องต้นในการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รูปแบบการศึกษายังมีการใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ในขณะที่เวลาที่ให้กับการได้รับประสบการณ์จากการร่วมหรือดูแลมารดาและทารกโดยตรงมีจำกัด

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ได้กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์แล้ว แต่ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านยังไม่มีแนวทางที่กำหนดชัดเจน ดังนั้น การที่จะพัฒนาทักษะและความรู้ของแพทย์ประจำบ้านซึ่งมีความสำคัญในระบบการให้บริการทางการแพทย์และยังเป็นพี่เลี้ยงในการให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์จึงมีความจำเป็น เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นการลงทุนพัฒนามนุษย์ที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาวะของมนุษย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Osband YB, Altman RL, Patrick PA, Edwards KS. Breastfeeding education and support services offered to pediatric residents in the US. Acad Pediatr 2011;11:75-9.

?

?