มารดาที่รู้สึกด้อยค่าเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_0712

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การรู้สึกด้อยค่ามักพบในมารดาที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยพบว่า มารดาที่รู้สึกด้อยค่าหรือมีอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งเดือนแรก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์นอกจากจะต้องใส่ใจกับการสังเกตการณ์เข้าเต้าและการกินนมที่เหมาะสมของทารกแล้ว ยังต้องสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของมารดาร่วมกันไปด้วยเสมอ เนื่องจากการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเกิดจากความพร้อมของทั้งมารดาและทารก

? ? ? ? ? แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับช่วยลดการเกิดการซึมเศร้าหลังคลอด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ในช่วงสามเดือนหลังคลอด2 และความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบในมารดาที่ให้นมแม่ร้อยละ 2.5 ขณะที่พบร้อยละ 19.4 ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่3

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:836-40.
  2. Figueiredo B, Canario C, Field T. Breastfeeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014;44:927-36.
  3. Tashakori A, Behbahani AZ, Irani RD. Comparison Of Prevalence Of Postpartum Depression Symptoms Between Breastfeeding Mothers And Non-breastfeeding Mothers. Iran J Psychiatry 2012;7:61-5.

?