คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ทารกสับสนหัวนม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?คำว่า สับสนหัวนม คำนี้ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลาย แต่ยังไม่มีการกำหนดนิยามออกมาเป็นทางการ และขาดข้อมูลรายงานถึงอุบัติการณ์ของการสับสนหัวนม กลไกที่การเกิด สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเฉพาะในเด็กบางคนที่อาจมีปัญหาจากการเข้าและจากการนมให้ขวดนม ทำให้เด็กบางคนสับสน ไม่สามารถแยกแยะระหว่างหัวนมกับจุกนมจนทำให้มีความยากลำบากในการดูดนมจากเต้านมซึ่งต้องการช่วยแก้ไขต่อไป โดยทั่วไปการที่ทารกดูดนมจากเต้า ทารกจะอมหัวนมและลานนมลึกและใช้ลิ้นดุนหรือกดบริเวณลานนมเมื่อดูดนมจากเต้าอย่างถูกวิธี โดยกลไกการดูดนมจะเป็นอัตโนมัติ ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบการดูดนมจากเต้านมกับจุกนม หากทารกได้รับการป้อนนมจากจุกนมมาก่อน ส่วนใหญ่ทารกอาจจะปฏิเสธที่จะดูดนมจากเต้านม เนื่องจากการดูดนมจากเต้านม ทารกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม และขณะดูดนมหัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก ซึ่งจะมีความยากมากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ใช้การอมจุกนมเพียงตื้น ๆ ?

ปัจจัยหลายอย่างของมารดาและทารก เช่น การเจ็บหัวนมของมารดา การคัดตึงเต้านม และการที่ทารกมีน้ำหนักขึ้นช้าที่ทำให้มารดาไม่ได้ให้ทารกดูดนมจากเต้า ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าทารกไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่การขาดความชำนาญในการช่วยเหลือทารกให้ดูดนมจากเต้าที่ต้องใช้ความพยายามเนื่องจากมีความยากมากกว่า ทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกที่จะให้ทารกดูดนมจากจุกนม สิ่งนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาสับสนหัวนม ดังนั้น การแก้ปัญหาการสับสนหัวนมควรทำโดยการให้ข้อมูลแก่มารดาและผู้ดูแลในการให้ทารกดูดนมจากเต้าที่ถูกวิธี โดยหากผู้ช่วยหรือผู้ที่ให้คำปรึกษาขาดทักษะและให้ทารกกินนมจากขวดซ้ำ ๆ ทารกจะปฏิเสธเต้านมอีก ซึ่งอาจทำให้มารดาทุกข์ทรมานจากการที่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้า ทารกก็จะสับสนทุกข์ยากลำบาก และปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข แต่หากผู้ช่วยหรือผู้ให้คำปรึกษามีทักษะสามารถช่วยเข้าเต้าได้ มารดาและทารกก็จะมีความสุขเมื่อได้ให้หรือดูดนมจากเต้านมของแม่1

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Fisher C, Inch S. Nipple confusion–who is confused? J Pediatr 1996;129:174-5.

 

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อสมาธิสั้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการการดูแลวางแผนแก้ไข เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักยังมีการทำงานของอวัยวะบางส่วนที่ยังไม่พร้อม โดยพบอาการหายใจเร็วได้บ่อย นอกจากนี้ ยังพบการทำงานของกระเพาะลำไส้อาจเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบและขาดเลือด ทารกควบคุมอุณหภูมิกายยังไม่ดีทำให้มีโอกาสตัวเย็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ต้องการตู้อบที่ไว้ช่วยควบคุมอุณหภูมิให้ทารก ต้องการเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามการหายใจและการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินอันตรายที่จะเกิดกับทารก ดังนั้น ทารกเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดูแล ซึ่งหากคลอดก่อนกำหนดนานก็ยิ่งต้องใช้เวลานานในการดูแลหรือเลี้ยงจนกว่าทารกจะโตพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงสูง และยังมีสถานที่ที่มีความพร้อมในการรับดูแลทารกเหล่านี้ไม่เพียงพอกับอุบัติการณ์ของการเกิดการคลอดก่อนกำหนดที่เพิ่มขึ้น และเมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นในวัยเด็กยังมีความเสี่ยงที่จะพบอาการของสมาธิสั้นสูงขึ้นโดยเฉพาะทารกเพศหญิง1 ?การวางแผนการป้องกันและบรรเทาปัญหาการคลอดก่อนกำหนดจึงควรเริ่มต้นวางแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อสร้างกลไกหรือระบบส่งต่อที่เหมาะสมที่จะดูแลทารกเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

1.????? Ask H, Gustavson K, Ystrom E, et al. Association of gestational age at birth with symptoms of attention-deficit/hyperactivity disorder in children. JAMA Pediatr.?Published online June 25, 2018. doi:10.1001/jamapediatrics.2018.1315

 

การประคบเต้านมด้วยลููกประคบ


ลูกประคบสามารถนำมาใช้ประคบเต้านมเพื่อลดอาการตึงคัดหรืออักเสบของเต้านมได้ ซึ่งจะช่วยขยายท่อน้ำนมและระบายน้ำนมที่ขังอยูู่ในเต้านม โดยร่วมกับการให้ลูกดูดนมจากเต้าหรือปั๊มนมหลังการประคบเต้านมด้วยลูกประคบ

ลักษณะทารกที่ปฏิเสธเต้านมจากการติดจุกนม

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มักได้รับการป้อนนมด้วยจุุกนมจากขวดและติดจุกนม เมื่อมาให้นมจากเต้า ทารกอาจจะปฏิเสธการดูดนมจากเต้า เนื่องจากการดูดนมจากเต้า ทารกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ร่วมกับใช้ลิ้นดุนหรือกดไล่นมจากบริเวณลานนม ซึ่งกลไกการดูดนมจะยากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ทารกจะอมจุกนมเพียงตื้น ๆ มักเรียกภาวะที่ทารกปฏิเสธการดูดจากเต้านี้ว่า การสับสนหัวนม (nipple confusion)