คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การเห็นโฆษณานมผงอาจมีผลทำให้มารดาเริ่มต้นนมแม่ช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การเริ่มต้นการให้นมลูก ควรเริ่มต้นตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด โดยแนะนำให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ข้อแนะนำนี้เป็นส่วนหนึ่งในบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเมื่อมีการทบทวนเกณฑ์ใหม่ในปีนี้ การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกก็ได้รับการเน้นย้ำให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการนี้ให้ได้ การเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกนั้นนอกจากจะส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกแล้ว ยังส่งผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย หากมารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่า 6 ชั่วโมงหลังคลอดจะมีความเสี่ยงที่มารดาจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ในประเทศไทยอัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดพบราวร้อยละ 30 ปัจจัยที่มีผลทำให้มารดามีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ามีหลายอย่าง ที่สำคัญและมีความน่าสนใจ ได้แก่ การผ่าตัดคลอด และการได้เห็นโฆษณานมผง1 การโฆษณาของนมผงยังคงมีผลต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการตัดสินใจที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (CODE) แต่ยังขาดการติดตามควบคุมให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การตลาดที่เหมาะสม ในประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเรื่องการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กที่เรียกย่อ ๆ ว่า พรบ.นมผง เมื่อปี พ.ศ. 2560 ซึ่งปัจจุบันได้บังคับใช้แล้ว หวังว่าทุกภาคส่วนในสังคมจะร่วมมือการติดตามดูแลเพื่อลดการละเมิดกฎหมายนี้และเพิ่มโอกาสที่เด็กไทยจะได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Tongun JB, Sebit MB, Mukunya D, et al. actors associated with delayed initiation of breastfeeding: a cross-sectional study in South Sudan. International Breastfeeding Journal 2018; https://doi.org/10.1186/s13006-018-0170-0

การปั๊มนมเพื่อระบายน้ำนมลดการตึงคัดเต้านม

วิธีหนึ่งที่จะช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้านมของมารดาคือ การปั๊มนม ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมหรือระบายน้ำนมในมารดาที่มีเต้านมอักเสบ

การให้ลููกดูดนมเพื่อลดการตึงคัดเต้านม

การดูดนมของลูกจากเต้านมแม่จะช่วยระบายน้ำนมได้ดีที่สุด ซึ่งสามารถจะนำมาช่วยในการดูแลอาการตึงคัดเต้านมหรือภาวะเต้านมอักเสบที่ต้องการการระบายน้ำนมจากเต้านม

ตัวอย่างแบบประเมินและแผนการเยี่ยมบ้านสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ตัวอย่างแบบประเมินและแผนการเยี่ยมบ้านสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่