คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักศึกษาพยาบาล

IMG_5808

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า พยาบาลเป็นเสมือนบุคลากรหลักที่เป็นกำลังในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่สอนการพยาบาลนั้น แม้มีรายงานว่าส่วนใหญ่จะมีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ราวร้อยละ 80? แต่มีการเรียนการสอนส่วนใหญ่เพียง 1-2 ชั่วโมงและยังขาดหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 สิ่งนี้มีผลต่อการเริ่มดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาล เนื่องจากการขาดความรู้ ทำให้ขาดความมั่นใจในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัว โดยหากคาดหวังว่า แพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักศึกษาแพทย์นั้น มักมีการจัดการเรียนการสอนน้อยกว่าของพยาบาล ดังนั้น จึงต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักสูตรที่สร้างให้พยาบาลหรือแพทย์ที่จบมานั้น มีศักยภาพที่จะให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้นได้ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มใจ ซึ่งต้องมีการร่วมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะที่จัดการเรียนการสอนด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Webber E, Serowoky M. Breastfeeding Curricular Content of Family Nurse Practitioner Programs. J Pediatr Health Care 2017;31:189-95.

 

แหล่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

s__38207668-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัวเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มารดาเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ในการเรียนการสอนของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย และยังขาดการเพิ่มทักษะที่จะให้การดูแลมารดาเมื่อมีปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย หลักสูตรของแพทยศาสตร์บัณฑิตในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ยังมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่ความรู้และทักษะขึ้นอยู่กับว่า ขณะที่นักศึกษาแพทย์ผ่านการเรียนรู้ที่แผนกสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ มีอาจารย์ผู้ดูแลมีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่หรือไม่ หากไม่มี นักศึกษาบางคนอาจขาดทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนในขณะที่โรคต่างๆ เพิ่มขึ้นมากและระยะเวลาการอบรมเพื่อการเป็นแพทย์ยังมีความจำกัดที่ 6 ปี การให้หรือการจัดลำดับความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความแตกต่างกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับหลักสูตรพยาบาล ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การฝึกทักษะเพื่อให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัวยังมีความจำกัด ในพยาบาลผู้ที่จะมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่คลินิกนมแม่จึงต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติม ขณะที่สถานที่ที่จะอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นหลักสูตรที่เฉพาะยังมีน้อย ได้แก่ ที่ศิริราชพยาบาล โดยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นการจัดเพิ่มพูนทักษะทางปฏิบัติ ดังนั้น ความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางพยาบาลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นปัญหาในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การอนุมัติหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาลผู้ชำนาญการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา โดยโรงเรียนที่สอนพยาบาลควรได้รับการส่งเสริมให้เปิดหลักสูตรนี้พร้อมกับการสร้างบันไดอาชีพให้แก่พยาบาลผู้ชำนาญการทางด้านนี้

? ? ? ? ? ? ? ?ในบุคลากรสาขาอื่นๆ ที่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายบุคลากรทางสาธารณสุขในชุมชนก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมและให้ความรู้ ให้มีความรู้ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

  1. Webber E, Serowoky M. Breastfeeding Curricular Content of Family Nurse Practitioner Programs. J Pediatr Health Care 2017;31:189-95.

 

การให้เบี้ยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

IMG_2920

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันต้องการการแข่งขันสูง ดังนั้นการให้เบี้ยหรือเงินสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีการศึกษา โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ได้รับเบี้ยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหกเดือนหลังคลอดกับมารดาที่ไม่ได้รับเบี้ยสนับสนุน พบว่าในมารดาที่ได้รับเบี้ยสนับสนุนมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบทั้งในระยะหลังคลอด 1 เดือน 3 เดือน และที่หกเดือน แต่อย่างไรก็ตามพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่แตกต่างกัน1 จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียด เพื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์และความคุ้มค่าของการให้เบี้ยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Washio Y, Humphreys M, Colchado E, et al. Incentive-based Intervention to Maintain Breastfeeding Among Low-income Puerto Rican Mothers. Pediatrics 2017;139.

 

การใช้วัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3480

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ทุกโรงพยาบาลในปัจจุบันต้องมีการดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยหากเป็นโรงพยาบาลภาครัฐ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือที่โรงพยาบาลต่างๆ รู้จักคุ้นเคยกันในชื่อ HA (Hospital Accreditation) ซึ่งหลักการคือการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติและเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่จะช่วยให้มีการบริหารจัดการงานได้อย่างมีคุณภาพและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อมีการนำไปใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการศึกษาที่ใช้การพัฒนางานคุณภาพ โดยใช้หลักการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามตรวจสอบ และการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (plan-do-check-act) มาดำเนินงานในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการติดตามตัวชี้วัด การอยู่กันของมารดาและทารกตลอด 24 ชั่วโมงและการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อพบว่า พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในระยะที่มารดาได้รับการอนุญาตให้กลับบ้านและเมื่อติดตามเยี่ยมหลังคลอดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Ward LP, Williamson S, Burke S, Crawford-Hemphill R, Thompson AM. Improving Exclusive Breastfeeding in an Urban Academic Hospital. Pediatrics 2017;139.

การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนและอายุบิดาที่น้อยเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1606

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? หากมารดาตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผนหรือเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ จะพบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเฉพาะในมารดาที่อายุน้อยหรือมารดาวัยรุ่น ซึ่งจะส่งผลต่อการมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกน้ำหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำหนดได้ เมื่อทารกมีภาวะแทรกซ้อนมักมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ บิดาที่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบิดาก็จะน้อย และมักพบบิดาที่อายุน้อยร่วมกับการที่มารดาอายุน้อยหรือมารดาวัยรุ่น ซึ่งความรับผิดชอบหรือการให้การสนับสนุนมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะน้อยด้วย มีการศึกษาถึงความตั้งใจของบิดาต่อการตั้งครรภ์และผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า หากการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจและบิดาอายุน้อยจะมีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Wallenborn JT, Masho SW, Ratliff S. Paternal Pregnancy Intention and Breastfeeding Duration: Findings from the National Survey of Family Growth. Matern Child Health J 2017;21:554-61.