การใช้วัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3480

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ทุกโรงพยาบาลในปัจจุบันต้องมีการดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยหากเป็นโรงพยาบาลภาครัฐ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือที่โรงพยาบาลต่างๆ รู้จักคุ้นเคยกันในชื่อ HA (Hospital Accreditation) ซึ่งหลักการคือการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติและเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่จะช่วยให้มีการบริหารจัดการงานได้อย่างมีคุณภาพและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อมีการนำไปใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการศึกษาที่ใช้การพัฒนางานคุณภาพ โดยใช้หลักการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามตรวจสอบ และการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (plan-do-check-act) มาดำเนินงานในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการติดตามตัวชี้วัด การอยู่กันของมารดาและทารกตลอด 24 ชั่วโมงและการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อพบว่า พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในระยะที่มารดาได้รับการอนุญาตให้กลับบ้านและเมื่อติดตามเยี่ยมหลังคลอดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Ward LP, Williamson S, Burke S, Crawford-Hemphill R, Thompson AM. Improving Exclusive Breastfeeding in an Urban Academic Hospital. Pediatrics 2017;139.