คลังเก็บป้ายกำกับ: แหล่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

แหล่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

s__38207668-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัวเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มารดาเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ในการเรียนการสอนของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย และยังขาดการเพิ่มทักษะที่จะให้การดูแลมารดาเมื่อมีปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย หลักสูตรของแพทยศาสตร์บัณฑิตในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ยังมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่ความรู้และทักษะขึ้นอยู่กับว่า ขณะที่นักศึกษาแพทย์ผ่านการเรียนรู้ที่แผนกสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ มีอาจารย์ผู้ดูแลมีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่หรือไม่ หากไม่มี นักศึกษาบางคนอาจขาดทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนในขณะที่โรคต่างๆ เพิ่มขึ้นมากและระยะเวลาการอบรมเพื่อการเป็นแพทย์ยังมีความจำกัดที่ 6 ปี การให้หรือการจัดลำดับความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความแตกต่างกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับหลักสูตรพยาบาล ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การฝึกทักษะเพื่อให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัวยังมีความจำกัด ในพยาบาลผู้ที่จะมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่คลินิกนมแม่จึงต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติม ขณะที่สถานที่ที่จะอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นหลักสูตรที่เฉพาะยังมีน้อย ได้แก่ ที่ศิริราชพยาบาล โดยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นการจัดเพิ่มพูนทักษะทางปฏิบัติ ดังนั้น ความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางพยาบาลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นปัญหาในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การอนุมัติหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาลผู้ชำนาญการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา โดยโรงเรียนที่สอนพยาบาลควรได้รับการส่งเสริมให้เปิดหลักสูตรนี้พร้อมกับการสร้างบันไดอาชีพให้แก่พยาบาลผู้ชำนาญการทางด้านนี้

? ? ? ? ? ? ? ?ในบุคลากรสาขาอื่นๆ ที่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายบุคลากรทางสาธารณสุขในชุมชนก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมและให้ความรู้ ให้มีความรู้ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

  1. Webber E, Serowoky M. Breastfeeding Curricular Content of Family Nurse Practitioner Programs. J Pediatr Health Care 2017;31:189-95.