คลังเก็บป้ายกำกับ: น้ำนมไม่พอ

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นการใช้นมผสม การวางแผนแก้ไขจึงดำเนินไปตามสาเหตุ ได้แก่ การให้ความรู้กับมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์โดยจัดให้มีการสอนเรื่องประโยชน์ของนมแม่ ในระยะหลังคลอด มารดาจะรู้สึกเหนื่อย การมีบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัวให้กำลังใจ สอนให้มารดาจัดเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หากทารกนอนมารดาควรพักผ่อนด้วย ควบคุมเวลาเยี่ยมของญาติหรือเพื่อนเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเพียงพอ4 เรื่องน้ำนมไม่พอควรมีการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด กระตุ้นและให้ทารกดูดนมครั้งละ 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงและให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยหากดูดไม่หมดอาจใช้การบีบนมหรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้น้ำนมมีมาเพียงพอ เรื่องการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกดูดนมไม่เหมาะสม มารดาอาจตรวจสอบการเข้าเต้าให้ถูกต้องโดยปรึกษากับพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลเพื่อช่วยแก้ไข เรื่องทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน หากมารดาเข้าใจลักษณะทารกและจัดให้นมให้เหมาะสม หากทารกหงุดหงิดอาจให้ป้อนนมจากนมแม่ที่ปั๊มออกมาโดยวิธีป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยก่อนเมื่อทารกสงบแล้วจึงจัดป้อนนมจากเต้าอีกครั้ง ในกรณีทารกง่วงนอนอาจใช้การกระตุ้นให้ทารกดูดนมหรือป้อนนมช่วย แล้วค่อยๆ ฝึกให้ทารกดูดจากเต้าให้ได้นานขึ้นและเพียงพอ สำหรับการเข้าเต้ายากนั้น คงต้องตรวจสอบสาเหตุอาจจะเป็นจากลักษณะหัวนมหรือท่าในการให้นมซึ่งเช่นเดียวกันการปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวินิจฉัยและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาได้ ช่วยให้ลดการใช้ในผสมในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลได้และช่วยให้ทารกสามารถได้รับนมแม่อย่างน้อยหกเดือนได้

หนังสืออ้างอิง

4.???????????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.

 

 

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมผสม ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า มีผลประโยชน์ต่อมารดาและทารกน้อยกว่านมแม่ และเมื่อเริ่มต้นให้แล้ว มารดามักจะให้ทารกต่อเนื่องไปทำให้ลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อให้นมแม่ลดลงน้ำนมแม่จะน้อยลงตามและเกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนที่เป็นช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่องค์กรอนามัยโลกแนะนำ1 การลดการให้นมผสมควรเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ตั้งแต่มารดาอยู่ขณะฝากครรภ์โดยการเริ่มให้นมผสมมักเกิดจากการขาดความรู้ของมารดาหรือการขาดการได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ที่เหนือกว่านมผสม นอกจากนี้ขณะเลี้ยงดูทารกหลังคลอดสาเหตุที่มารดามักให้เหตุผลในการใช้นมผสม ได้แก่ รู้สึกเหนื่อย หัวน้ำนม (colostrum) มีไม่เพียงพอ เจ็บเต้านม ทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน การเข้าเต้ายาก2,3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? DaMota K, Banuelos J, Goldbronn J, Vera-Beccera LE, Heinig MJ. Maternal request for in-hospital supplementation of healthy breastfed infants among low-income women. J Hum Lact 2012;28:476-82.

3.???????????? Gagnon AJ, Leduc G, Waghorn K, Yang H, Platt RW. In-hospital formula supplementation of healthy breastfeeding newborns. J Hum Lact 2005;21:397-405.

 

 

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หนึ่งในปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยคือ น้ำนมไม่พอหรือการที่มารดารู้สึกว่าน้ำนมมีไม่พอ1,2 การเรียนรู้เรื่องขั้นตอนการกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วและมามากจึงมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องนี้มาก เทคนิคการทำให้น้ำนมมาเพียงพอหรือมามาก มีดังนี้

การให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาในระยะแรกหลังคลอด เป็นจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาของการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดายิ่งนานจะช่วยให้การเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Gatti L. Maternal perceptions of insufficient milk supply in breastfeeding. J Nurs Scholarsh 2008;40:355-63.

2.???????? Li R, Fein SB, Chen J, Grummer-Strawn LM. Why mothers stop breastfeeding: mothers’ self-reported reasons for stopping during the first year. Pediatrics 2008;122 Suppl 2:S69-76.

3.???????? Bramson L, Lee JW, Moore E, et al. Effect of early skin-to-skin mother–infant contact during the first 3 hours following birth on exclusive breastfeeding during the maternity hospital stay. J Hum Lact 2010;26:130-7.

4.???????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก ได้แก่

  • อายุของมารดา อายุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1
  • ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3
  • วิธีการคลอด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,5 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7
  • หัวนมสั้นและหัวนมบอด พบว่าหัวนมของมารดาที่สั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จน้อยกว่า
  • การเจ็บเต้านม การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก8,9 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว10,11
  • การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) มีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ12
  • การเริ่มให้นมลูก มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด4
  • ?การเข้าเต้า (latch on) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม คาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม การเข้าเต้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13
  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน14
  • ทารกมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก ในทารกที่มีเพดาโหว่ จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้15
  • ?ภาวะลิ้นติด ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-8916,17 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-9516,18-20 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 321 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ19,20,22 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 1616 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 6519 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า23
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่24
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม4
  • น้ำนมไม่พอ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 5025
  • มารดาหรือทารกป่วย การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่26 นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย27
  • ทารกร้องกวน มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่27

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

8.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

9.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

10.????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

11.????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

12.????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

13.????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

14.????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

15.????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.

16.????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

17.????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

18.????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

19.????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

20.????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

21.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

22.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

23.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

24.????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

25.????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

26.????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

27.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.