คลังเก็บป้ายกำกับ: การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมผสม ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า มีผลประโยชน์ต่อมารดาและทารกน้อยกว่านมแม่ และเมื่อเริ่มต้นให้แล้ว มารดามักจะให้ทารกต่อเนื่องไปทำให้ลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อให้นมแม่ลดลงน้ำนมแม่จะน้อยลงตามและเกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนที่เป็นช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่องค์กรอนามัยโลกแนะนำ1 การลดการให้นมผสมควรเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ตั้งแต่มารดาอยู่ขณะฝากครรภ์โดยการเริ่มให้นมผสมมักเกิดจากการขาดความรู้ของมารดาหรือการขาดการได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ที่เหนือกว่านมผสม นอกจากนี้ขณะเลี้ยงดูทารกหลังคลอดสาเหตุที่มารดามักให้เหตุผลในการใช้นมผสม ได้แก่ รู้สึกเหนื่อย หัวน้ำนม (colostrum) มีไม่เพียงพอ เจ็บเต้านม ทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน การเข้าเต้ายาก2,3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? DaMota K, Banuelos J, Goldbronn J, Vera-Beccera LE, Heinig MJ. Maternal request for in-hospital supplementation of healthy breastfed infants among low-income women. J Hum Lact 2012;28:476-82.

3.???????????? Gagnon AJ, Leduc G, Waghorn K, Yang H, Platt RW. In-hospital formula supplementation of healthy breastfeeding newborns. J Hum Lact 2005;21:397-405.

 

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนิยามอาหารสำหรับทารกแรกเกิด

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งมารดาและทารก ข้อแนะนำในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมนั้น คือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเสริมอาหารอื่นๆ ให้ควบคู่กับนมแม่จนกระทั่งครบหนึ่งปี โดยยังสามารถให้นมแม่ต่อไปอีกจนครบสองปีหรือแล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก1 ลักษณะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคำอธิบายหรือคำนิยามที่แสดงความชัดเจนของลักษณะการเลี้ยงดูทารก ตาม WHO2 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (exclusive breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกโดยให้เฉพาะนมแม่อย่างเดียว อาจพิจารณาให้สารน้ำ แร่ธาตุ วิตามินและยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลัก (predominant breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยถือว่าเป็นแหล่งของสารอาหารหลักของทารก ร่วมกับมีการของเหลวที่ได้แก่ น้ำ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น (complementary feeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding) หากใช้เพียงคำนี้เท่านั้น หมายถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ ความหมายทางนัยจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น

การเลี้ยงลูกด้วยขวดนม (bottle feeding) คือ การเลี้ยงลูกจากการให้นมแม่ นมผสม นมอื่นๆ จากการป้อนด้วยขวดนม และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็งร่วมด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

 

การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ??ในสังคมไทยปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีมาก จากข้อมูลการสำรวจการเลี้ยงลูกของ UNICEF ในปี 2550 พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเท่ากับร้อยละ 5.41 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำมาก การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องสร้างความตะหนักแก่สังคมโดยความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยฝ่ายรัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างชัดเจนพร้อมการสื่อสารลงมาในองค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการดูแลส่งเสริมในด้านปฏิบัติ มีการติดตามข้อมูลอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดำเนินการซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มการอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน ในฝ่ายเอกชนและผู้ประกอบการจะมีส่วนในด้านการสนับสนุนการลาหลังคลอดบุตรเพื่อให้แม่ให้นมลูกร่วมกับหลังแม่กลับมาทำงาน การจัดสถานที่ให้แม่สามารถมีสถานที่ในการเก็บน้ำนมระหว่างการทำงานหรือจัดสถานเลี้ยงเด็กเล็กให้แม่สามารถมาให้นมลูกระหว่างการทำงานได้ นอกจากนี้ การจัดมุมนมแม่ในสถานที่สาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อให้แม่ได้ให้นมลูกระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันได้อย่างสะดวก

ครอบครัว เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ด้วยครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายอยู่ร่วมกัน หรือแม้ไม่ได้อยู่ร่วมกันก็มีอิทธิพลอย่างมากในวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้ให้ผู้ใหญ่ในครอบครัวเข้าใจ และให้เขาเหล่านั้นมีบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยจะเป็นส่วนผลักดันกลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครอบครัวได้

สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการทางการแพทย์ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่จะให้ความรู้ คำปรึกษา คอยติดตาม ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหน่วยงานนี้มีข้อแนะนำ 10 ขั้นตอนในการสร้างความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 คือ

  1. เขียนนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสื่อสารให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทราบ
  2. ฝึกบุคลากรให้มีทักษะในการนำนโยบายมาปฏิบัติ
  3. แจ้งสตรีที่ตั้งครรภ์เกี่ยวกับประโยชน์และการดำเนินการเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  4. ช่วยให้แม่เริ่มการให้นมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
  5. สอนคุณแม่ให้รู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และรู้วิธีทำให้นมแม่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเมื่อจำเป็นต้องแยกจากลูก
  6. ไม่ให้น้ำหรืออาหารเสริมอื่นๆ นอกจากนมแม่ ยกเว้นมีความจำเป็นทางการแพทย์
  7. ให้แม่ได้อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง
  8. สนับสนุนให้ลูกได้ดูดนมตามความต้องการ
  9. ไม่ให้ทารกดูดหัวนมหลอกหรือดูดนมจากขวดนม
  10. สร้างทีมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อรับส่งต่อการดูแลหลังจากแม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน

ข้อแนะนำ 10 ขั้นตอนนี้ หากหน่วยงานปฏิบัติด้วยความเข้มงวดและสม่ำเสมอ ร่วมกับความร่วมมือในภาคส่วนอื่นๆ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยก็น่าจะสูงขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Largest-ever survey on situation of children and women in Thailandshows progress and challenges. UNICEF. [Cited August 25, 2009] Available from : http://www.unicef.org/infobycountry/media_39098.html
  2. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์