คลังเก็บป้ายกำกับ: การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 1)

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นการใช้นมผสม การวางแผนแก้ไขจึงดำเนินไปตามสาเหตุ ได้แก่ การให้ความรู้กับมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์โดยจัดให้มีการสอนเรื่องประโยชน์ของนมแม่ ในระยะหลังคลอด มารดาจะรู้สึกเหนื่อย การมีบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัวให้กำลังใจ สอนให้มารดาจัดเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หากทารกนอนมารดาควรพักผ่อนด้วย ควบคุมเวลาเยี่ยมของญาติหรือเพื่อนเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเพียงพอ4 เรื่องน้ำนมไม่พอควรมีการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด กระตุ้นและให้ทารกดูดนมครั้งละ 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงและให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยหากดูดไม่หมดอาจใช้การบีบนมหรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้น้ำนมมีมาเพียงพอ เรื่องการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกดูดนมไม่เหมาะสม มารดาอาจตรวจสอบการเข้าเต้าให้ถูกต้องโดยปรึกษากับพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลเพื่อช่วยแก้ไข เรื่องทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน หากมารดาเข้าใจลักษณะทารกและจัดให้นมให้เหมาะสม หากทารกหงุดหงิดอาจให้ป้อนนมจากนมแม่ที่ปั๊มออกมาโดยวิธีป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยก่อนเมื่อทารกสงบแล้วจึงจัดป้อนนมจากเต้าอีกครั้ง ในกรณีทารกง่วงนอนอาจใช้การกระตุ้นให้ทารกดูดนมหรือป้อนนมช่วย แล้วค่อยๆ ฝึกให้ทารกดูดจากเต้าให้ได้นานขึ้นและเพียงพอ สำหรับการเข้าเต้ายากนั้น คงต้องตรวจสอบสาเหตุอาจจะเป็นจากลักษณะหัวนมหรือท่าในการให้นมซึ่งเช่นเดียวกันการปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวินิจฉัยและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาได้ ช่วยให้ลดการใช้ในผสมในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลได้และช่วยให้ทารกสามารถได้รับนมแม่อย่างน้อยหกเดือนได้

หนังสืออ้างอิง

4.???????????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.

 

 

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมผสม ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า มีผลประโยชน์ต่อมารดาและทารกน้อยกว่านมแม่ และเมื่อเริ่มต้นให้แล้ว มารดามักจะให้ทารกต่อเนื่องไปทำให้ลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อให้นมแม่ลดลงน้ำนมแม่จะน้อยลงตามและเกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนที่เป็นช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่องค์กรอนามัยโลกแนะนำ1 การลดการให้นมผสมควรเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ตั้งแต่มารดาอยู่ขณะฝากครรภ์โดยการเริ่มให้นมผสมมักเกิดจากการขาดความรู้ของมารดาหรือการขาดการได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ที่เหนือกว่านมผสม นอกจากนี้ขณะเลี้ยงดูทารกหลังคลอดสาเหตุที่มารดามักให้เหตุผลในการใช้นมผสม ได้แก่ รู้สึกเหนื่อย หัวน้ำนม (colostrum) มีไม่เพียงพอ เจ็บเต้านม ทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน การเข้าเต้ายาก2,3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? DaMota K, Banuelos J, Goldbronn J, Vera-Beccera LE, Heinig MJ. Maternal request for in-hospital supplementation of healthy breastfed infants among low-income women. J Hum Lact 2012;28:476-82.

3.???????????? Gagnon AJ, Leduc G, Waghorn K, Yang H, Platt RW. In-hospital formula supplementation of healthy breastfeeding newborns. J Hum Lact 2005;21:397-405.