คลังเก็บป้ายกำกับ: การเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 6)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????? โปรไบโอติก (probiotics) การรับประทานโปรไบโอติกซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่รับประทานโปรไบโอติกจะพบอาการผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) ได้น้อยกว่า8 และอาจจะลดภูมิแพ้ในทารกที่ผ่าตัดคลอด9 แต่ข้อมูลยังมีการศึกษาน้อย ดังนั้นในด้านความชัดเจนของประโยชน์คงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แต่เนื่องจากอาหารที่มีโปรไบโอติกราคาไม่แพงและไม่พบข้อเสียจากการรับประทาน การที่สตรีตั้งครรภ์จะรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกจึงไม่เป็นข้อห้าม

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Mallory J. Integrative care of the mother-infant dyad. Prim Care 2010;37:149-63.

2.???????? Dunstan JA, Simmer K, Dixon G, Prescott SL. Cognitive assessment of children at age 2(1/2) years after maternal fish oil supplementation in pregnancy: a randomised controlled trial. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2008;93:F45-50.

3.???????? McGregor JA, Allen KG, Harris MA, et al. The omega-3 story: nutritional prevention of preterm birth and other adverse pregnancy outcomes. Obstet Gynecol Surv 2001;56:S1-13.

4.???????? Holick MF. Vitamin D deficiency. N Engl J Med 2007;357:266-81.

5.???????? Merewood A, Mehta SD, Chen TC, Bauchner H, Holick MF. Association between vitamin D deficiency and primary cesarean section. J Clin Endocrinol Metab 2009;94:940-5.

6.???????? Wagner CL, Taylor SN, Hollis BW. Does vitamin D make the world go ’round’? Breastfeed Med 2008;3:239-50.

7.???????? Taylor SN, Wagner CL, Hollis BW. Vitamin D supplementation during lactation to support infant and mother. J Am Coll Nutr 2008;27:690-701.

8.???????? Lee J, Seto D, Bielory L. Meta-analysis of clinical trials of probiotics for prevention and treatment of pediatric atopic dermatitis. J Allergy Clin Immunol 2008;121:116-21 e11.

9.???????? Kuitunen M, Kukkonen K, Juntunen-Backman K, et al. Probiotics prevent IgE-associated allergy until age 5 years in cesarean-delivered children but not in the total cohort. J Allergy Clin Immunol 2009;123:335-41.

 

 

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 5)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? วิตามินดี มีข้อมูลว่าการเสริมวิตามินดีจะมีผลดีต่อมารดาและทารกในเรื่องการป้องกันเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกอ่อน (ricket) และมะเร็งหลายชนิด4 และในสตรีตั้งครรภ์ที่มีระดับวิตามินดีต่ำสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น5 มีการแนะนำให้วิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรวันละ 4000-6400 ยูนิต6,7 ข้อแนะนำนี้ใช้ในชาติตะวันตกซึ่งเป็นเมืองหนาว มีแสงแดดน้อย ในประเทศไทยสมัยก่อนการทำงานจะมีการอยู่กลางแจ้งบ้างแต่ในปัจจุบันลักษณะงานโดยเฉพาะในชุมชนเมืองมีโอกาสที่จะขาดวิตามินดีสูงขึ้น ส่วนนี้จึงต้องพิจารณาถึงลักษณะสตรีตั้งครรภ์ การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อประกอบการพิจารณาเสริมวิตามินนี้ หากไม่มีข้อมูล การรับประทานยาบำรุงครรภ์ชนิดรวมโดยทั่วไปมักจะมีวิตามินดีขนาดที่เพียงพออยู่แล้ว นั่นคือรับประทานวันละหนึ่งเม็ดเพียงพอ

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมผสม ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า มีผลประโยชน์ต่อมารดาและทารกน้อยกว่านมแม่ และเมื่อเริ่มต้นให้แล้ว มารดามักจะให้ทารกต่อเนื่องไปทำให้ลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อให้นมแม่ลดลงน้ำนมแม่จะน้อยลงตามและเกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนที่เป็นช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่องค์กรอนามัยโลกแนะนำ1 การลดการให้นมผสมควรเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ตั้งแต่มารดาอยู่ขณะฝากครรภ์โดยการเริ่มให้นมผสมมักเกิดจากการขาดความรู้ของมารดาหรือการขาดการได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ที่เหนือกว่านมผสม นอกจากนี้ขณะเลี้ยงดูทารกหลังคลอดสาเหตุที่มารดามักให้เหตุผลในการใช้นมผสม ได้แก่ รู้สึกเหนื่อย หัวน้ำนม (colostrum) มีไม่เพียงพอ เจ็บเต้านม ทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน การเข้าเต้ายาก2,3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? DaMota K, Banuelos J, Goldbronn J, Vera-Beccera LE, Heinig MJ. Maternal request for in-hospital supplementation of healthy breastfed infants among low-income women. J Hum Lact 2012;28:476-82.

3.???????????? Gagnon AJ, Leduc G, Waghorn K, Yang H, Platt RW. In-hospital formula supplementation of healthy breastfeeding newborns. J Hum Lact 2005;21:397-405.

 

 

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

? ? ? ? ? ??หลังจากมีการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์แล้ว ?คุณแม่พร้อมสามีควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที เพื่อแพทย์จะได้ ซักประวิติ ตรวจร่ายกายและตรวจสอบเพิ่มเติม (โดยแพทย์อาจจะแนะนำการเจาะเลือดสามีเพื่อคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย) สำหรับการวางแผนดูแลครรภ์ และแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครรภ์โดยการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์มักแบ่งเป็นสามช่วงเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ คือ ช่วงสามเดือนแรกหรือไตรมาสแรกได้แก่เริ่มตั้งครรภ์ถึงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ช่วงสามเดือนที่สองหรือไตรมาสที่สองได้แก่อายุครรภ์ 14 ถึง 28 สัปดาห์ และช่วงสามเดือนที่สามหรือไตรมาสที่สามได้แก่อายุครรภ์ 28 ถึง 42 สัปดาห์ โดยช่วงเวลาตั้งแต่อายุครรภ์ 37 ถึง 42 สัปดาห์ ถือว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมหรือให้คลอดได้โดยเรียกการคลอดในช่วงระยะนี้ว่าเป็น ?การคลอดครบกำหนด? ซึ่งเป็นช่วงก่อนวันกำหนดคลอด 3 สัปดาห์และหลังกำหนดคลอด 2 สัปดาห์

บทความโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การนับอายุครรภ์และการคำนวณวันครบกำหนดคลอด นับกันอย่างไร?

การคำนวณวันครบกำหนดคลอด

? ? ? ? ? ??ในหนึ่งเดือนช่วงที่จะมีการตั้งครรภ์ได้คือช่วงที่มีการตกไข่แล้วมีการปฏิสนธิ ปกติแล้ว วันตกไข่ในสตรีที่มีรอบของประจำเดือนทุก 28 วัน คือวันที่ 14 นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 266 วัน นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวันคลอด? เราจึงหาวันครบกำหนดคลอดได้จากการนับ 266+14 = 280 วันนับจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (แต่ในทางการแพทย์มักใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายในการคำนวณหาวันครบกำหนดคลอดโดยใช้วิธีง่ายๆ คือ บวกจำนวนวันไปอีก 7 วัน และนับย้อนเดือนไป 3 เดือน? ก็จะได้วันที่เป็นวันครบกำหนดคลอด)? การนับการอายุทารกตั้งแต่ปฏิสนธิมีความลำบากและไม่มีจุดอ้างอิงให้จดจำเหมือนประจำเดือน ดังนั้น เพื่อความสะดวกและแม่นยำการนับอายุครรภ์จึงนิยมนับเป็นสัปดาห์เริ่มต้นจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเช่นกัน ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจ เวลาไปพบแพทย์แล้ว แพทย์บอกว่า 6 สัปดาห์ทั้งที่เพิ่งขาดประจำเดือนไปเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์