คลังเก็บป้ายกำกับ: อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1)

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 6)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????? โปรไบโอติก (probiotics) การรับประทานโปรไบโอติกซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่รับประทานโปรไบโอติกจะพบอาการผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) ได้น้อยกว่า8 และอาจจะลดภูมิแพ้ในทารกที่ผ่าตัดคลอด9 แต่ข้อมูลยังมีการศึกษาน้อย ดังนั้นในด้านความชัดเจนของประโยชน์คงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แต่เนื่องจากอาหารที่มีโปรไบโอติกราคาไม่แพงและไม่พบข้อเสียจากการรับประทาน การที่สตรีตั้งครรภ์จะรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกจึงไม่เป็นข้อห้าม

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Mallory J. Integrative care of the mother-infant dyad. Prim Care 2010;37:149-63.

2.???????? Dunstan JA, Simmer K, Dixon G, Prescott SL. Cognitive assessment of children at age 2(1/2) years after maternal fish oil supplementation in pregnancy: a randomised controlled trial. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2008;93:F45-50.

3.???????? McGregor JA, Allen KG, Harris MA, et al. The omega-3 story: nutritional prevention of preterm birth and other adverse pregnancy outcomes. Obstet Gynecol Surv 2001;56:S1-13.

4.???????? Holick MF. Vitamin D deficiency. N Engl J Med 2007;357:266-81.

5.???????? Merewood A, Mehta SD, Chen TC, Bauchner H, Holick MF. Association between vitamin D deficiency and primary cesarean section. J Clin Endocrinol Metab 2009;94:940-5.

6.???????? Wagner CL, Taylor SN, Hollis BW. Does vitamin D make the world go ’round’? Breastfeed Med 2008;3:239-50.

7.???????? Taylor SN, Wagner CL, Hollis BW. Vitamin D supplementation during lactation to support infant and mother. J Am Coll Nutr 2008;27:690-701.

8.???????? Lee J, Seto D, Bielory L. Meta-analysis of clinical trials of probiotics for prevention and treatment of pediatric atopic dermatitis. J Allergy Clin Immunol 2008;121:116-21 e11.

9.???????? Kuitunen M, Kukkonen K, Juntunen-Backman K, et al. Probiotics prevent IgE-associated allergy until age 5 years in cesarean-delivered children but not in the total cohort. J Allergy Clin Immunol 2009;123:335-41.

 

 

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 5)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? วิตามินดี มีข้อมูลว่าการเสริมวิตามินดีจะมีผลดีต่อมารดาและทารกในเรื่องการป้องกันเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกอ่อน (ricket) และมะเร็งหลายชนิด4 และในสตรีตั้งครรภ์ที่มีระดับวิตามินดีต่ำสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น5 มีการแนะนำให้วิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรวันละ 4000-6400 ยูนิต6,7 ข้อแนะนำนี้ใช้ในชาติตะวันตกซึ่งเป็นเมืองหนาว มีแสงแดดน้อย ในประเทศไทยสมัยก่อนการทำงานจะมีการอยู่กลางแจ้งบ้างแต่ในปัจจุบันลักษณะงานโดยเฉพาะในชุมชนเมืองมีโอกาสที่จะขาดวิตามินดีสูงขึ้น ส่วนนี้จึงต้องพิจารณาถึงลักษณะสตรีตั้งครรภ์ การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อประกอบการพิจารณาเสริมวิตามินนี้ หากไม่มีข้อมูล การรับประทานยาบำรุงครรภ์ชนิดรวมโดยทั่วไปมักจะมีวิตามินดีขนาดที่เพียงพออยู่แล้ว นั่นคือรับประทานวันละหนึ่งเม็ดเพียงพอ

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 4)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? โอเมก้า-3 การเสริมโอเมก้า-3 จำเป็นในสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมีโอเมก้า-3 น้อยในอาหารที่รับประทาน ซึ่งสารอาหารนี้จำเป็นในการพัฒนาการของสมองส่วนกลางและพัฒนาระบบประสาทของทารก2 มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับโอเมก้า-3 จะยืดอายุครรภ์ของสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ลดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ (preeclampsia) และความผิดปกติของสมอง (cerebral palsy) ของทารก3 การเสริมโอเมก้า-3 นั้นในน้ำมันปลาชนิดแคปซูล (fish oil capsule) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปจะมีโอเมก้า-3 สตรีตั้งครรภ์สามารถจะซื้อมารับประทานได้ ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลถึงสภาวะของโอเมก้า-3 ในสตรีตั้งครรภ์และปริมาณโอเมก้า-3 ในสารอาหารที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ประโยชน์จะได้ต่อเมื่อสตรีตั้งครรภ์มีโอกาสขาดสารอาหารนี้ ดังนั้นการแนะนำขั้นต้นควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและให้ความสำคัญกับอาหารที่มีโอเมก้า-3 สูง การรับประทานน้ำมันปลาแคปซูลคงจะต้องพิจาณาถึงประโยชน์ที่อาจจะได้เมื่อเทียบกับราคาด้วย

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 3)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? แคลเซียม คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสตรีตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมสูงขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงความต้องการแคลเซียมในสตรีตั้งครรภ์นั้นไม่แตกต่างจากสตรีทั่วไปคือวันละ 1200 มิลลิกรัม ส่วนสตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตรนั้นความต้องการแคลเซียมสูงขึ้นคือวันละ 1500 มิลลิกรัม ลักษณะอาหารในชาติตะวันตกส่วนใหญ่จะมีการรับประทานเนย นม และผลิตภัณฑ์จากนมค่อนข้างมากการรับประทานนมเพิ่มเล็กน้อยมักจะเพียงพอในระหว่างการตั้งครรภ์ ในประเทศไทย อาหารต่อวันจะมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 400 มิลลิกรัม ซึ่งยังขาดปริมาณแคลเซียมอีกมาก การรับประทานนมจำเป็นต้องรับประทานมากจึงอาจขาดหรือไม่เพียงพอในสตรีตั้งครรภ์บางราย แพทย์ผู้ดูแลอาจดูจากประวัติสตรีตั้งครรภ์ สอบถามถึงการรับประทานอาหารของสตรีตั้งครรภ์เพื่อประกอบการพิจารณาการเสริมแคลเซียมและเลือกให้ปริมาณเสริมต่อวันให้เหมาะสม ปริมาณแคลเซียมที่มีขายในท้องตลาด จะมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับชนิดสารประกอบแคลเซียม การแตกตัวและการดูดซึม ข้อมูลเหล่านี้แพทย์ผู้ดูแลต้องดูรายละเอียดในแต่ละชนิดเพื่อหากต้องการเสริมในสตรีที่ขาดจะได้เสริมได้ในขนาดที่พอเหมาะ สำหรับสตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตรการเสริมแคลเซียมอาจจำเป็นเนื่องจากความต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้น และจำเป็นต้องได้รับต่อเนื่องจนกระทั่งหยุดให้นมบุตร

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 2)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? ธาตุเหล็ก ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยจากการเจาะเลือดตรวจระหว่างฝากครรภ์1 ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้เสริมแก่สตรีตั้งครรภ์ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กที่เสริมมีอยู่ในรูปสารประกอบหลายประเภทที่จะแตกตัวและดูดซึมแตกต่างกัน แพทย์ผู้ให้คำแนะนำต้องทราบถึงปริมาณที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับเมื่อแตกตัวและดูดซึมแล้วเพื่อให้เสริมในขนาดที่เหมาะสม สำหรับในประเทศไทยในอดีตภาวะโลหิตจางพบได้สูง ปัจจุบันภาวะโลหิตจางในแต่ละภาคหรือแต่ละพื้นที่ มีสาเหตุที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งเป็นจากธาลัสซีเมียซึ่งอุบัติการณ์ของสาเหตุของโลหิตจางในแต่ละพื้นที่ควรมีการศึกษาเพื่อให้การเสริมธาตุเหล็กอย่างเหมาะสมและด้วยความมั่นใจ หากไม่มีข้อมูล แนะนำให้รับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กเสริมวันละหนึ่งเม็ดเนื่องจากยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กมักเสริมในขนาดที่เพียงพอวันละหนึ่งเม็ดอยู่แล้ว