คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ประโยชน์ของนมแม่มีอะไรบ้าง?

pregnant6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่สร้างมาให้เหมาะสมกับทารกและมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสารอาหารในน้ำนมตามอายุที่เปลี่ยนแปลงไปของทารก นมแม่สะดวก สามารถให้ได้ง่ายและเต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิคุ้มกันโรคที่จะปกป้องทารก และพบแนวโน้มคะแนนการทดสอบความฉลาดสูงในทารกที่กินนมแม่ นอกจากนี้ ในทารกที่กินนมแม่อาจจะพบปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยกว่า ได้แก่

-????????? การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อของหู

-????????? ปัญหาเรื่องผื่นที่ผิวหนัง

-????????? ปัญหาเรื่องเรื่องฟัน

-????????? ปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย

-????????? หอบหืด

-????????? ภูมิแพ้

-????????? เบาหวาน

-????????? โรคอ้วน

-????????? มะเร็งในวัยเด็ก ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

-????????? กลุ่มอาการทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน

-????????? ภาวะซีด

-????????? โรดหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเข้าโตเป็นผู้ใหญ่

ประโยชน์สำหรับตัวคุณแม่ ได้แก่ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว น้ำหนักลดลงเร็วจากการที่ร่างกายคุณแม่มีการเผาพลาญอาหารสูงขึ้นและต้องสร้างนมแม่ และช่วยคุมกำเนิดได้ในระยะหกเดือนแรก หากประจำเดือนยังไม่มา นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ในอนาคต ได้แก่

-????????? เบาหวาน

-????????? มะเร็งเต้านม

-????????? มะเร็งรังไข่

-????????? ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

-????????? ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

-????????? ภาวะกระดูกพรุน

ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างขยะจากขวดหรือกระป๋องนมผสมและลดภาวะโลกร้อน

เมื่อตั้งครรภ์ ควรวางแผนให้ลูกกินนมแม่ดีไหม?

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????????? นมแม่เป็นสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน และให้ร่วมกับอาหารอื่นได้นานตามความต้องการของมารดาและทารก การตัดสินใจขึ้นอยู่กับมารดาและครอบครัว ปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำเรื่องประโยชน์ของนมแม่เมื่อเทียบกับนมผสม เมื่อได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนแล้ว ?คุณจะสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ?

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นการใช้นมผสม การวางแผนแก้ไขจึงดำเนินไปตามสาเหตุ ได้แก่ การให้ความรู้กับมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์โดยจัดให้มีการสอนเรื่องประโยชน์ของนมแม่ ในระยะหลังคลอด มารดาจะรู้สึกเหนื่อย การมีบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัวให้กำลังใจ สอนให้มารดาจัดเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หากทารกนอนมารดาควรพักผ่อนด้วย ควบคุมเวลาเยี่ยมของญาติหรือเพื่อนเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเพียงพอ4 เรื่องน้ำนมไม่พอควรมีการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด กระตุ้นและให้ทารกดูดนมครั้งละ 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงและให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยหากดูดไม่หมดอาจใช้การบีบนมหรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้น้ำนมมีมาเพียงพอ เรื่องการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกดูดนมไม่เหมาะสม มารดาอาจตรวจสอบการเข้าเต้าให้ถูกต้องโดยปรึกษากับพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลเพื่อช่วยแก้ไข เรื่องทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน หากมารดาเข้าใจลักษณะทารกและจัดให้นมให้เหมาะสม หากทารกหงุดหงิดอาจให้ป้อนนมจากนมแม่ที่ปั๊มออกมาโดยวิธีป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยก่อนเมื่อทารกสงบแล้วจึงจัดป้อนนมจากเต้าอีกครั้ง ในกรณีทารกง่วงนอนอาจใช้การกระตุ้นให้ทารกดูดนมหรือป้อนนมช่วย แล้วค่อยๆ ฝึกให้ทารกดูดจากเต้าให้ได้นานขึ้นและเพียงพอ สำหรับการเข้าเต้ายากนั้น คงต้องตรวจสอบสาเหตุอาจจะเป็นจากลักษณะหัวนมหรือท่าในการให้นมซึ่งเช่นเดียวกันการปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวินิจฉัยและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาได้ ช่วยให้ลดการใช้ในผสมในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลได้และช่วยให้ทารกสามารถได้รับนมแม่อย่างน้อยหกเดือนได้

หนังสืออ้างอิง

4.???????????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.

 

 

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 3)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูดนมจนเกลี้ยงเต้า การที่ปล่อยให้มีน้ำนมสะสมอยู่ในเต้านมมาก เชื่อว่าจะมีสารเคมีที่ยับยั้งการสร้างน้ำนมสูงขึ้น ดังนั้นการดูดนมจนเกลี้ยงเต้าจะลดสารเคมีที่ยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำนม มารดาจึงต้องกระตุ้นให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า1,2 หากยังไม่หมดหรือไม่เกลี้ยงเต้า การบีบนมหรือปั๊มนมออกจะช่วยให้นมเกลี้ยงเต้าและสามารถเก็บน้ำนมไว้ป้อนทารกไว้ในช่วงเวลาที่ต้องการได้ เมื่อให้นมแม่ได้เกลี้ยงเต้า การเริ่มให้นมแม่ครั้งต่อไปจะให้โดยเต้านมอีกข้างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติในลักษณะเดียวกันให้เกลี้ยงเต้า หากปฏิบัติได้ทุกครั้ง การสร้างน้ำนมจะเร็วและได้ปริมาณน้ำนมมากขึ้น หากทารกดูดนมได้น้อยเทคนิคที่ใช้ช่วยในปัญหานี้อาจใช้วิธีให้ทารกดูดจากเต้าก่อนซึ่งอาจดูดได้เพียง 5-10 นาทีจากนั้นบีบนมหรือปั๊มนมออกมาป้อนให้ทารกเพิ่มโดยใช้วิธีป้อนด้วยถ้วยต่อ และเช่นเดียวกันหากน้ำนมในเต้านมยังเหลือต้องบีบหรือปั๊มออกจนเกลี้ยงเต้า ปฏิบัติแบบนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถจะดูดนมได้ด้วยตนเองจนเกลี้ยงเต้า สิ่งนี้จะทำให้ทารกได้นมแม่พอเพียงและมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด3

สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดของการที่มีน้ำนมเพียงพอหรือมากพอคือ ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด ซึ่งมารดาสามารถดูการขึ้นของน้ำหนักทารกที่เหมาะสมได้ในสมุดสุขภาพทารก แต่หากมีความกังวลอาจใช้การเทคนิคการชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังกินนมแม่ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้มารดาลดความกังวลลงได้4,5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 1: Infant demand and milk production in lactating women. J Hum Lact 1995;11:21-6.

2.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 2: The short-term control of milk synthesis in lactating women. J Hum Lact 1995;11:27-37.

3.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

4.???????? Meier PP, Furman LM, Degenhardt M. Increased lactation risk for late preterm infants and mothers: evidence and management strategies to protect breastfeeding. J Midwifery Womens Health 2007;52:579-87.

5.???????? Neifert MR. Prevention of breastfeeding tragedies. Pediatr Clin North Am 2001;48:273-97.

 

 

 

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเริ่มให้ทารกเริ่มดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้ทารกได้ดูดนมแม่เร็วจะกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูง และกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินที่ช่วยในการหลั่งน้ำนม ทำให้นมแม่มาเร็วและพอเพียง และเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น1

ความถี่ของการให้ทารกดูดนมแม่ จำเป็นต้องให้ทารกดูดนมแม่นานอย่างน้อย 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง นั่นคือวันละ 8-12 ครั้ง การดูดนมของทารกแต่ละครั้งจะกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูงและคงอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอในการสร้างนมแม่2 ดังนั้นเมื่อมารดาเข้าใจในเรื่องนี้ การที่มารดาจะทำให้ทารกดูดนมได้บ่อย เทคนิคหนึ่งคือ การนอนร่วมเตียงเดียวกับทารก3,4 ?และเปิดโอกาสให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง มีช่วงเวลาที่สงบ บรรยากาศที่เป็นส่วนตัว จะลดความอายของมารดาในการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกมารดาได้นาน และทารกได้ดูดนมแม่ได้ตามต้องการ ให้เวลาให้มารดาได้กระตุ้นทารกให้ดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้า การจำกัดผู้เข้าเยี่ยมหรือเวลาที่เข้าเยี่ยมจะช่วยให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนและมีเวลาส่วนตัวในการให้นมทารกได้อย่างเหมาะสม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Murray EK, Ricketts S, Dellaport J. Hospital practices that increase breastfeeding duration: results from a population-based study. Birth 2007;34:202-11.

2.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

3.???????? McCoy RC, Hunt CE, Lesko SM, et al. Frequency of bed sharing and its relationship to breastfeeding. J Dev Behav Pediatr 2004;25:141-9.

4.???????? Tan KL. Factors associated with exclusive breastfeeding among infants under six months of age in peninsular malaysia. Int Breastfeed J 2011;6:2.

5.???????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.