คลังเก็บป้ายกำกับ: ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การปฏิบัติตัวหากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

 

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด มีข้อแนะนำการปฏิบัติตัวดังนี้

-คุณแม่ควรใส่ชุดชั้นในให้แน่นกระชับพอเหมาะ

-หลีกเลี่ยงการกระตุ้นเต้านม และอาจประคบเย็นเพื่อความสบายหากตึงปวด

-อาจใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วยในกรณีมีอาการปวดมาก

-ไม่แนะนำให้ใช้ยากดการสร้างน้ำนม

ประโยชน์ของนมแม่มีอะไรบ้าง?

pregnant6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่สร้างมาให้เหมาะสมกับทารกและมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสารอาหารในน้ำนมตามอายุที่เปลี่ยนแปลงไปของทารก นมแม่สะดวก สามารถให้ได้ง่ายและเต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิคุ้มกันโรคที่จะปกป้องทารก และพบแนวโน้มคะแนนการทดสอบความฉลาดสูงในทารกที่กินนมแม่ นอกจากนี้ ในทารกที่กินนมแม่อาจจะพบปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยกว่า ได้แก่

-????????? การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อของหู

-????????? ปัญหาเรื่องผื่นที่ผิวหนัง

-????????? ปัญหาเรื่องเรื่องฟัน

-????????? ปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย

-????????? หอบหืด

-????????? ภูมิแพ้

-????????? เบาหวาน

-????????? โรคอ้วน

-????????? มะเร็งในวัยเด็ก ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

-????????? กลุ่มอาการทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน

-????????? ภาวะซีด

-????????? โรดหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเข้าโตเป็นผู้ใหญ่

ประโยชน์สำหรับตัวคุณแม่ ได้แก่ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว น้ำหนักลดลงเร็วจากการที่ร่างกายคุณแม่มีการเผาพลาญอาหารสูงขึ้นและต้องสร้างนมแม่ และช่วยคุมกำเนิดได้ในระยะหกเดือนแรก หากประจำเดือนยังไม่มา นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ในอนาคต ได้แก่

-????????? เบาหวาน

-????????? มะเร็งเต้านม

-????????? มะเร็งรังไข่

-????????? ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

-????????? ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

-????????? ภาวะกระดูกพรุน

ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างขยะจากขวดหรือกระป๋องนมผสมและลดภาวะโลกร้อน

เมื่อตั้งครรภ์ ควรวางแผนให้ลูกกินนมแม่ดีไหม?

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????????? นมแม่เป็นสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน และให้ร่วมกับอาหารอื่นได้นานตามความต้องการของมารดาและทารก การตัดสินใจขึ้นอยู่กับมารดาและครอบครัว ปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำเรื่องประโยชน์ของนมแม่เมื่อเทียบกับนมผสม เมื่อได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนแล้ว ?คุณจะสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ?

10 ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใส่ใจเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำความเข้าใจกับปัญหาในแต่ละหัวข้อจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ปัญหาที่พบบ่อย1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. มารดาการขาดความรู้และ/หรือเข้าร่วมการให้ความรู้ก่อนการคลอดน้อย
  2. ความไม่แน่ใจหรือการลังเลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. ความอายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  4. ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  5. การกลับเข้าทำงานของมารดา
  6. การเริ่มอาหารอื่นร่วมด้วยเร็ว
  7. การเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมปกติของทารก
  8. การที่น้ำนมไม่พอหรือรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ
  9. ความสะดวกสบายของการใช้และให้นมผสม
  10. การสนับสนุนของครอบครัวและสังคมที่ไม่พอเพียง

สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วย การให้ความรู้กับมารดาถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีสูงกว่า ทำให้มารดาเข้าใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก้ความเชื่อผิดๆ ชี้ให้เห็นลักษณะปกติของทารก และสอนวิธีการให้นมแม่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงาน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

 

 

10 ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะต้องมีการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแล้ว การที่ทราบเกี่ยวกับทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่จำกัดสามารถจะเลือกเข้าช่วยเหลือในกลุ่มเสี่ยงโดยหากเข้าช่วยเหลือแต่แรกเริ่ม ผลการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะดี ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่อายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์จะมีช่วงที่ตื่นหรือรู้ตัวน้อยกว่า การพัฒนาทักษะของการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากยังไม่สมบูรณ์ ความแรงในการดูดนมน้อย การเข้าเต้ายากและจังหวะการดูดกลืนยังไม่สมบูรณ์
  2. ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2727 กรัมหรือ 6 ปอนด์
  3. ทารกแฝด
  4. ทารกที่มีลิ้นติด คางเล็กหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ทารกตัวเหลือง
  6. ทารกที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ โรคหัวใจ ติดเชื้อ หรือจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
  7. ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีความบกพร่องในการดูดนม
  8. ทารกที่เข้าเต้ายาก
  9. ทารกที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 หรือทารกที่ยังมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องหลังจากน้ำนมแม่มาแล้ว
  10. ทารกที่มีมารดามีการสร้างน้ำนมช้า เช่น มารดาตกเลือดหลังคลอด หรือมารดาที่เป็นเบาหวาน

การแก้ไขในกลุ่มทารกเหล่านี้ ใช้หลักการใหญ่ๆ คือ พยายามให้ลูกได้กินนมแม่ใช้วิธีให้ดูดนมจากเต้าข้างละ 5-10 นาที เสริมด้วยนมแม่ที่ได้จากการบีบหรือปั๊มนมตามความต้องการ จากนั้นปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถดูดนมจากเต้าเองได้ดี โดยประเมินจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มจากการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกินนม ซึ่งหากขึ้นได้ดีแล้ว นั่นแสดงว่ามีความสำเร็จในระยะแรกแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.