คลังเก็บป้ายกำกับ: การหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

10 ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะต้องมีการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแล้ว การที่ทราบเกี่ยวกับทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่จำกัดสามารถจะเลือกเข้าช่วยเหลือในกลุ่มเสี่ยงโดยหากเข้าช่วยเหลือแต่แรกเริ่ม ผลการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะดี ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่อายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์จะมีช่วงที่ตื่นหรือรู้ตัวน้อยกว่า การพัฒนาทักษะของการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากยังไม่สมบูรณ์ ความแรงในการดูดนมน้อย การเข้าเต้ายากและจังหวะการดูดกลืนยังไม่สมบูรณ์
  2. ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2727 กรัมหรือ 6 ปอนด์
  3. ทารกแฝด
  4. ทารกที่มีลิ้นติด คางเล็กหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ทารกตัวเหลือง
  6. ทารกที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ โรคหัวใจ ติดเชื้อ หรือจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
  7. ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีความบกพร่องในการดูดนม
  8. ทารกที่เข้าเต้ายาก
  9. ทารกที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 หรือทารกที่ยังมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องหลังจากน้ำนมแม่มาแล้ว
  10. ทารกที่มีมารดามีการสร้างน้ำนมช้า เช่น มารดาตกเลือดหลังคลอด หรือมารดาที่เป็นเบาหวาน

การแก้ไขในกลุ่มทารกเหล่านี้ ใช้หลักการใหญ่ๆ คือ พยายามให้ลูกได้กินนมแม่ใช้วิธีให้ดูดนมจากเต้าข้างละ 5-10 นาที เสริมด้วยนมแม่ที่ได้จากการบีบหรือปั๊มนมตามความต้องการ จากนั้นปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถดูดนมจากเต้าเองได้ดี โดยประเมินจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มจากการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกินนม ซึ่งหากขึ้นได้ดีแล้ว นั่นแสดงว่ามีความสำเร็จในระยะแรกแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.