คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับสถานการณ์ฉุกเฉิน

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับสุขภาพของแม่

พ.อ.หญิง ผศ. พญ. ปริศนา? พานิชกุล

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ? ? ?การให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยในการคุมกำเนิด แต่จะใช้ได้ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือน และจะใช้ได้ในช่วงหกเดือนแรกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับกระดูก

??????????? ช่วงที่มารดาให้นมลูกอาจพบว่ามารดามีมวลกระดูกลดลง แต่หลังจากที่มารดาหยุดให้นมแม่แล้ว มวลกระดูกของมารดาจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่เหมาะสมของมารดาทั้งในช่วงที่มารดาให้นมบุตรและในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรมีปริมาณแคลเซียมที่พอเพียง

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งเต้านม

??????????? การที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมของมารดา และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของมารดาแม้ในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการพัฒนาสมองของมารดา

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ในช่วง peripartum period พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ในบางส่วนที่พิเศษที่อาจเรียกว่าเป็น ?วงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่ (maternal circuitry)? ที่มีความจำเป็นต่อการเริ่มต้น ต่อการคงไว้ และการควบคุมพฤติกรรมของการเป็นแม่ เช่น การสร้างรัง การปกป้องลูก เป็นต้น? นอกจากนี้บางส่วนควบคุมความจำ การเรียนรู้ และการตอบสนองต่อความกลัวและความเครียด1 โดยส่วนหนึ่งของ maternal circuitry นี้คือระบบที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของแม่ (maternal motivational system) ที่พบในการศึกษาในหนูทดลองของ Numan M. 2 ที่พบส่วนของสมองที่เรียกว่า medial preoptic area (MPOA) ที่เป็นส่วนวิกฤติที่จะเป็นส่วนที่รวมสัญญานจากฮอร์โมนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้ความรู้สึกที่เข้ามาในแม่นำไปสู่ maternal circuitry และยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า nucleus supraopticus (SON) ที่มีบทบาทสำคัญ1, 3

? ? ? ? ? การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่พบว่าขนาดของสมองส่วน pituitary จะขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจเป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ รวมถึงที่บริเวณ MPOA และ SON และส่วนอื่นๆ และยังพบมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ในสมองของแม่ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่คาดว่าเซลล์ประสาทใหม่เหล่านี้ทำงานประสานกับวงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และน่าจะช่วยส่งเสริมความอ่อนตัวและการตอบสนองของแม่ต่อสิ่งกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจงในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการอย่างมากในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ 1

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ?ในช่วง peripartum period โดยเฉพาะช่วงที่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสมองของแม่ที่พบเป็นผลมาจากฮอร์โมนหลัก 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกติน (prolactin) และออกซิโทซิน (oxytocin) โดยพบว่าระบบของโปรแลกตินและออกซิโทซินจะถูกกระตุ้นอย่างมากในช่วงนี้ พบว่ามี oxytocin- และ prolactin- mRNA expression และ oxytocin ?receptor, prolactin -receptor expression สูงในเนื้อสมอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด การมีการสร้างน้ำนมแม่ (lactogenesis) และการหลั่งของน้ำนมแม่ (milk ejection) รวมทั้งการเกิดพฤติกรรมหรือสัญชาตญานการเป็นแม่ 1

  1. ฮอร์โมนโปรแลกติน รวมทั้งฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันคือ closely-related placental lactogen ที่สร้างจากรก พบว่าฮอร์โมนโปรแลกตินนอกจากจะมีบทบาทที่สำคัญในการเจริญของต่อมน้ำนมและในการสร้างน้ำนมแล้ว ยังพบว่ามีผลต่อสมองของแม่ในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด นอกจากนี้โปรแลกตินที่สูงยังมีผลให้เกิดการกดไม่ให้เกิดการตกไข่ในขณะที่ตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกทั้งยังพบว่ามีบทบาทเฉพาะที่เกี่ยวกับการกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองของแม่ที่อาจช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในด้านอารมณ์และพฤติกรรมการเป็นแม่ 4 โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าส่วนของสมองที่ตอบสนองต่อโปรแลกตินอยู่ที่ MPOA หากส่วนของ prolactin -receptor ที่ MPOA นี้หายไปจะมีผลให้เกิดการไม่สนใจที่จะดูแลเลี้ยงลูกในหนูทดลอง 3? ??
  2. ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ (myoepithelial) ให้ต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมบีบน้ำนมออกจากเต้านม และยังมีผลกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกลดการตกเลือดในระยะหลังคลอด นอกจากนี้ออกซิโทซินยังมีบทบาทที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด รวมถึงการก่อเกิดสายสัมพันธ์แม่-ลูก หรือเพิ่มพฤติกรรมความเป็นแม่ โดยทำงานร่วมกับโดปามีน (dopamine)1, 5 โดยส่วนของสมองที่มีเซลล์ประสาทที่มีออกซิโทซินสูงจะอยู่ที่ส่วน SON นอกจากนี้ยังพบว่า oxytocin ?receptor expression ที่สูงในเนื้อสมองส่งผลเพิ่มพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น และยังมีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเครียดของแม่ขณะให้นม (lactation-associated anxiolysis) ทำให้แม่สงบได้มากกว่า???????

? ? ? ?จะเห็นได้ว่าการทำงานของทั้ง 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกตินและออกซิโทซิน โดยทำงานร่วมกันถือเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมเปลี่ยนแปลงบทบาทของแม่ในระยะหลังคลอด การจัดการกับความเครียดและความกังวล ช่วยส่งเสริมให้แม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสม และอาจส่งผลให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Hillerer KM, Jacobs VR, Fischer T, Aigner L. The Maternal Brain: An Organ with Peripartal Plasticity. Neural Plasticity 2014, Article ID 574159, 20 pages. Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2014/574159
  2. Numan M. Motivational systems and the neural circuitry of maternal behavior in the rat. Developmental Psychobiology 2007; 49 (1):12?21.
  3. Brown RSE, Aoki M, Ladyman SR, ?Phillipps HL, Wyatt A, Boehm U, et. al. Prolactin action in the medial preoptic area is necessary for postpartum maternal nursing behavior.? PNAS 2017; 114(40): 10779-84. Available from: pnas.org/cgi/doi/10.1073/pnas.1708025114
  4. Grattan D. A Mother?s Brain Knows. In: Neuro-endocrinology, briefing. J Neuroendocrinol.?2011;23(11):1188-9. doi: 10.1111/j.1365-2826.2011.02175.x.
  5. Cox EQ, Stuebe A, Pearson B, Grewen K, Rubinow D, Meltzer-Brody S. Oxytocin and HPA stress axis reactivity in postpartum women. Psychoneuroendocrinology 2015; 55: 164?172. doi:10.1016/j.psyneuen.2015.02.009.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 3

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

การเขียนวัตถุประสงค์ คำถาม และสมมุติฐานของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (research objective):? เป็นข้อความที่ระบุทิศทางของการแสวงหาความรู้และบอกภาพรวมของเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการบรรลุ ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ผู้วิจัยจะดำเนินการกับตัวแปรที่เป็นสถานการณ์ที่จะศึกษา

คำถามการวิจัย (research question)😕 เป็นคำถามที่ผู้วิจัยตั้ง ควรสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้? ลักษณะคำถามการวิจัย ต้องเฉพาะเจาะจง (specific) สั้น (short) ชัดเจน (clear) คม (sharp) ไม่มีอคติ (non-bias) สิ่งสำคัญต้องเป็นประโยคคำถาม มีการระบุตัวแปรและประชากรที่ศึกษา และสามารถทำวิจัยเพื่อตอบปัญหาได้ โดยผลที่ได้จากการวิจัยต้องเป็นประโยชน์

สมมุติฐานการวิจัย (hypothesis): เป็นข้อความเขียนถึงผลการวิจัย ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับ? จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการตั้งสมมุติฐาน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับสถานการณ์จริงที่สังเกต เป็นการขยายขอบความรู้ ซึ่งเป็นการอนุมานมาจากทฤษฎี ช่วยชี้ทิศทางของการทำวิจัยให้ชัดเจน?

การกำหนดตัวแปรในการวิจัย: การกำหนดตัวแปรที่ดีจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัด และวิธีการวัดตัวแปรนั้น ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม? ซึ่งตัวแปรในการวิจัย เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของบุคคลหรือสถานการณ์หรือมโนทัศน์ ที่ต้องการศึกษาที่แปรค่าได้ การเลือกตัวแปรที่เหมาะสมจะนำไปสู่การวิเคราะห์ผลได้ดีและส่งเสริมความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

? ? ? ? ? ? ? ?โดยสรุปแล้วงานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยที่น่าท้าทาย และไม่น่ายากจนเกินไป หากนักวิจัยและบุคลากรสุขภาพทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานประจำเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในการทางที่ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลทั้งตัวผู้วิจัย องค์กรหรือหน่วยงาน ผู้รับบริการ และสังคมในวงกว้างต่อไป? ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นงานวิจัยที่พัฒนามาจากงานประจำสู่งานวิชาการรับใช้สังคมที่ตอบสนองตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

 

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 2

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

แนวทางในการพัฒนาหัวข้องานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การพัฒนาหัวข้อ/โจทย์ในการวิจัย

? ? ? ? ? ?ในการพัฒนาโจทย์วิจัยอาจจะเริ่มจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากงานประจำที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ และต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาต่อยอดหรือขยายผลงานที่ทำอยู่? โดยใช้กระบวนการหาคำตอบด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ตัดสินใจในการพัฒนาคนและพัฒนางานในระบบสุขภาพ? ทั้งนี้งานวิจัยนั้นจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

  • เป็นงานอิสระทางวิชาการและสามารถประยุกต์ใช้กับงานประจำ
  • เป็นเครื่องมือในการเปิดแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน
  • ช่วยผู้ปฏิบัติงานในการสร้างความรู้และสามารถย้อนกลับมาช่วยงานประจำที่ทำอยู่
  • ไม่ควรยึดติดรูปแบบการวิจัย แต่ควรถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • ไม่จำเป็นต้องได้องค์ความรู้ใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการค้นหาวิธีการพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทของผู้วิจัย
  • เป็นเครื่องมือการพัฒนาคนให้รู้จักพัฒนาฐานข้อมูล ใช้ข้อมูล และสามารถคิดเชิงระบบ
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศักยภาพทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่รอบตัวมากขึ้น
  • ช่วยสร้างระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย และเอื้อเฟื้อกันในการทำงานระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
  • สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเพื่อทำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้

การพัฒนาหัวข้อวิจัยและทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนนั้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกประเด็นที่สนใจ อาจจะใช้จินตนาการ และลองเขียนแผนผังความคิด ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อกว้างๆ(general idea) ที่ยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องวิพากษ์ วิจารณ์ใด ๆ ในครั้งแรก พยายามให้ความคิดพรั่งพรู หลั่งไหลออกมาก่อน หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาคัดเลือก โดยใช้หลักการดังนี้
  • ความสนใจของผู้วิจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะทำ
  • ความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ /ต่อยอด
  • ปัญหามีความสำคัญ/ประโยชน์ต่อพัฒนางานด้านสุขภาพในหน่วยงาน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
  • เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้โดยใช้กระบวนการวิจัยได้
  • มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่ศึกษา และกลุ่มเป้าหมาย อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ ความร่วมมือจากบุคคลอื่นและหน่วยงาน งบประมาณ แหล่งสนับสนุน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ประสบการณ์และความชำนาญของผู้วิจัย
  1. ปรับหัวข้อที่กว้าง ให้แคบลง เป็นหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง (specific topic) เพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ทำวิจัยได้ โดยการตั้งถามว่า 5 W (Why, Who, What, Where, When) และ 1 H (How) ดังนี้
  • ทำไม (Why) ทำไมต้องศึกษาเรื่องนี้
  • ใคร (Who) ที่มีปัญหาหรือเป็นกลุ่มที่ต้องการการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุง
  • อะไร (What) เป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพล หรืออะไรผลที่ตามมา
  • ที่ไหน (Where) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้ที่ไหน
  • เมื่อไหร่ (When) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้เมื่อไหร่
  • อย่างไร (How) วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นอย่างไร
  1. ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจ เพื่อให้ชัดเจนเกี่ยวกับความรู้ของหัวข้อนั้น เพื่อหาช่องว่างขององค์ความรู้ที่สนใจ และตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจน
  2. เขียนปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนรวมทั้งข้อมูลสนับสนุน โดยการเริ่มเขียนปัญหาการวิจัย อาจเป็นเพียง 2-3 ประโยคก่อน แล้วจึงขยายความเป็น ?ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา? ที่มีประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ ความสำคัญของปัญหา (significant of problem) ภูมิหลัง (background) สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และวิธีการดำเนินการศึกษาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  3. ประเมินปัญหาการวิจัย ตามหลักการกำหนดปัญหาการวิจัย เพื่อพิจารณาคัดเลือกประเด็นที่สนใจซึ่งอาจจะมีหลายประเด็น ให้เหลือประเด็นที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ประเมินเช่นเดียวกันกับการเลือกหัวข้อวิจัย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 1

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

? ? ? ? ? ? ? ? ?การวิจัยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างที่บางคนคิด? หากเราได้เรียนรู้ เข้าใจ และได้ทดลองนำมาใช้ ในทางตรงกันข้ามการวิจัยช่วยให้ทำงานประจำได้อย่างสนุก ไม่น่าเบื่อกับการงานที่ซ้ำซากแต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร? หากเพียงแต่เรารู้สังเกต ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ โดยการมีมุมมองใหม่ที่ผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างรอบด้านและมีวิจารณญาณ รวมทั้งมีการค้นหาวิธีใหม่มาทดลองใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ปัญหากับงานประจำที่เราต้องเผชิญทุกวัน เราก็จะพบว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่น่าสนใจและท้าทายให้คนเราเผชิญสถานการณ์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างมีเหตุมีผล มีระบบระเบียบ เกิดการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างกว้างขวางทั้งในประโยชน์ในส่วนตัว องค์กร/หน่วยงาน และสังคมโดยรวม?

? ? ? ? ? ? ?การทำวิจัยจากงานประจำ (routine to research) หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ปัญหาและพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กร? การพิจารณาว่างานวิจัยที่ถือว่าพัฒนามาจากงานประจำนั้น อาจต้องพิจารณาจากโจทย์วิจัย ผู้ทำวิจัย ผลลัพธ์ของการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ?โจทย์วิจัย? ต้องมาจากงานประจำเป็นการแก้ปัญหา/พัฒนางานประจำ
  • ?ผู้ทำวิจัย? ต้องเป็นผู้ทำงานประจำ มีบทบาทหลักของการวิจัย
  • ?ผลลัพธ์ของการวิจัย? ต้องวัดที่ผลต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น เช่น ระดับสารต่าง ๆ ในร่างกาย/ผลการตรวจพิเศษต่าง ๆ
  • ?การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์? ต้องมีผลต่อเปลี่ยนแปลงการให้บริการผู้ป่วยโดยตรงหรือต่อการจัดบริการผู้รับบริการ

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

01_335

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย ได้แก่ ทารกตื่นบ่อยเวลากลางคืน ทารกแหวะนม ทารกถ่ายอุจจาระบ่อย ท้องเสียหรือท้องผูก ภาวะตัวเหลือง สายสะดืออักเสบ ผดผื่น ผื่นผ้าอ้อม การร้องไห้ของทารก อาการโคลิก และการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเหล่านี้ ควรมีการให้ความรู้ถึงสาเหตุของปัญหา แนะนำการแก้ปัญหาเบื้องต้นและแนวทางการขอรับความช่วยเหลือให้มารดาได้มีความมั่นใจในการดูแลทารกและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่