การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับสุขภาพของแม่

พ.อ.หญิง ผศ. พญ. ปริศนา? พานิชกุล

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ? ? ?การให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยในการคุมกำเนิด แต่จะใช้ได้ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือน และจะใช้ได้ในช่วงหกเดือนแรกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับกระดูก

??????????? ช่วงที่มารดาให้นมลูกอาจพบว่ามารดามีมวลกระดูกลดลง แต่หลังจากที่มารดาหยุดให้นมแม่แล้ว มวลกระดูกของมารดาจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่เหมาะสมของมารดาทั้งในช่วงที่มารดาให้นมบุตรและในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรมีปริมาณแคลเซียมที่พอเพียง

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งเต้านม

??????????? การที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมของมารดา และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของมารดาแม้ในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการพัฒนาสมองของมารดา

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ในช่วง peripartum period พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ในบางส่วนที่พิเศษที่อาจเรียกว่าเป็น ?วงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่ (maternal circuitry)? ที่มีความจำเป็นต่อการเริ่มต้น ต่อการคงไว้ และการควบคุมพฤติกรรมของการเป็นแม่ เช่น การสร้างรัง การปกป้องลูก เป็นต้น? นอกจากนี้บางส่วนควบคุมความจำ การเรียนรู้ และการตอบสนองต่อความกลัวและความเครียด1 โดยส่วนหนึ่งของ maternal circuitry นี้คือระบบที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของแม่ (maternal motivational system) ที่พบในการศึกษาในหนูทดลองของ Numan M. 2 ที่พบส่วนของสมองที่เรียกว่า medial preoptic area (MPOA) ที่เป็นส่วนวิกฤติที่จะเป็นส่วนที่รวมสัญญานจากฮอร์โมนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้ความรู้สึกที่เข้ามาในแม่นำไปสู่ maternal circuitry และยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า nucleus supraopticus (SON) ที่มีบทบาทสำคัญ1, 3

? ? ? ? ? การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่พบว่าขนาดของสมองส่วน pituitary จะขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจเป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ รวมถึงที่บริเวณ MPOA และ SON และส่วนอื่นๆ และยังพบมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ในสมองของแม่ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่คาดว่าเซลล์ประสาทใหม่เหล่านี้ทำงานประสานกับวงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และน่าจะช่วยส่งเสริมความอ่อนตัวและการตอบสนองของแม่ต่อสิ่งกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจงในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการอย่างมากในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ 1

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ?ในช่วง peripartum period โดยเฉพาะช่วงที่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสมองของแม่ที่พบเป็นผลมาจากฮอร์โมนหลัก 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกติน (prolactin) และออกซิโทซิน (oxytocin) โดยพบว่าระบบของโปรแลกตินและออกซิโทซินจะถูกกระตุ้นอย่างมากในช่วงนี้ พบว่ามี oxytocin- และ prolactin- mRNA expression และ oxytocin ?receptor, prolactin -receptor expression สูงในเนื้อสมอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด การมีการสร้างน้ำนมแม่ (lactogenesis) และการหลั่งของน้ำนมแม่ (milk ejection) รวมทั้งการเกิดพฤติกรรมหรือสัญชาตญานการเป็นแม่ 1

  1. ฮอร์โมนโปรแลกติน รวมทั้งฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันคือ closely-related placental lactogen ที่สร้างจากรก พบว่าฮอร์โมนโปรแลกตินนอกจากจะมีบทบาทที่สำคัญในการเจริญของต่อมน้ำนมและในการสร้างน้ำนมแล้ว ยังพบว่ามีผลต่อสมองของแม่ในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด นอกจากนี้โปรแลกตินที่สูงยังมีผลให้เกิดการกดไม่ให้เกิดการตกไข่ในขณะที่ตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกทั้งยังพบว่ามีบทบาทเฉพาะที่เกี่ยวกับการกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองของแม่ที่อาจช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในด้านอารมณ์และพฤติกรรมการเป็นแม่ 4 โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าส่วนของสมองที่ตอบสนองต่อโปรแลกตินอยู่ที่ MPOA หากส่วนของ prolactin -receptor ที่ MPOA นี้หายไปจะมีผลให้เกิดการไม่สนใจที่จะดูแลเลี้ยงลูกในหนูทดลอง 3? ??
  2. ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ (myoepithelial) ให้ต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมบีบน้ำนมออกจากเต้านม และยังมีผลกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกลดการตกเลือดในระยะหลังคลอด นอกจากนี้ออกซิโทซินยังมีบทบาทที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด รวมถึงการก่อเกิดสายสัมพันธ์แม่-ลูก หรือเพิ่มพฤติกรรมความเป็นแม่ โดยทำงานร่วมกับโดปามีน (dopamine)1, 5 โดยส่วนของสมองที่มีเซลล์ประสาทที่มีออกซิโทซินสูงจะอยู่ที่ส่วน SON นอกจากนี้ยังพบว่า oxytocin ?receptor expression ที่สูงในเนื้อสมองส่งผลเพิ่มพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น และยังมีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเครียดของแม่ขณะให้นม (lactation-associated anxiolysis) ทำให้แม่สงบได้มากกว่า???????

? ? ? ?จะเห็นได้ว่าการทำงานของทั้ง 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกตินและออกซิโทซิน โดยทำงานร่วมกันถือเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมเปลี่ยนแปลงบทบาทของแม่ในระยะหลังคลอด การจัดการกับความเครียดและความกังวล ช่วยส่งเสริมให้แม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสม และอาจส่งผลให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Hillerer KM, Jacobs VR, Fischer T, Aigner L. The Maternal Brain: An Organ with Peripartal Plasticity. Neural Plasticity 2014, Article ID 574159, 20 pages. Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2014/574159
  2. Numan M. Motivational systems and the neural circuitry of maternal behavior in the rat. Developmental Psychobiology 2007; 49 (1):12?21.
  3. Brown RSE, Aoki M, Ladyman SR, ?Phillipps HL, Wyatt A, Boehm U, et. al. Prolactin action in the medial preoptic area is necessary for postpartum maternal nursing behavior.? PNAS 2017; 114(40): 10779-84. Available from: pnas.org/cgi/doi/10.1073/pnas.1708025114
  4. Grattan D. A Mother?s Brain Knows. In: Neuro-endocrinology, briefing. J Neuroendocrinol.?2011;23(11):1188-9. doi: 10.1111/j.1365-2826.2011.02175.x.
  5. Cox EQ, Stuebe A, Pearson B, Grewen K, Rubinow D, Meltzer-Brody S. Oxytocin and HPA stress axis reactivity in postpartum women. Psychoneuroendocrinology 2015; 55: 164?172. doi:10.1016/j.psyneuen.2015.02.009.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์