การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 3

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

การเขียนวัตถุประสงค์ คำถาม และสมมุติฐานของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (research objective):? เป็นข้อความที่ระบุทิศทางของการแสวงหาความรู้และบอกภาพรวมของเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการบรรลุ ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ผู้วิจัยจะดำเนินการกับตัวแปรที่เป็นสถานการณ์ที่จะศึกษา

คำถามการวิจัย (research question)😕 เป็นคำถามที่ผู้วิจัยตั้ง ควรสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้? ลักษณะคำถามการวิจัย ต้องเฉพาะเจาะจง (specific) สั้น (short) ชัดเจน (clear) คม (sharp) ไม่มีอคติ (non-bias) สิ่งสำคัญต้องเป็นประโยคคำถาม มีการระบุตัวแปรและประชากรที่ศึกษา และสามารถทำวิจัยเพื่อตอบปัญหาได้ โดยผลที่ได้จากการวิจัยต้องเป็นประโยชน์

สมมุติฐานการวิจัย (hypothesis): เป็นข้อความเขียนถึงผลการวิจัย ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับ? จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการตั้งสมมุติฐาน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับสถานการณ์จริงที่สังเกต เป็นการขยายขอบความรู้ ซึ่งเป็นการอนุมานมาจากทฤษฎี ช่วยชี้ทิศทางของการทำวิจัยให้ชัดเจน?

การกำหนดตัวแปรในการวิจัย: การกำหนดตัวแปรที่ดีจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัด และวิธีการวัดตัวแปรนั้น ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม? ซึ่งตัวแปรในการวิจัย เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของบุคคลหรือสถานการณ์หรือมโนทัศน์ ที่ต้องการศึกษาที่แปรค่าได้ การเลือกตัวแปรที่เหมาะสมจะนำไปสู่การวิเคราะห์ผลได้ดีและส่งเสริมความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

? ? ? ? ? ? ? ?โดยสรุปแล้วงานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยที่น่าท้าทาย และไม่น่ายากจนเกินไป หากนักวิจัยและบุคลากรสุขภาพทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานประจำเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในการทางที่ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลทั้งตัวผู้วิจัย องค์กรหรือหน่วยงาน ผู้รับบริการ และสังคมในวงกว้างต่อไป? ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นงานวิจัยที่พัฒนามาจากงานประจำสู่งานวิชาการรับใช้สังคมที่ตอบสนองตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

 

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์