การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 1

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

? ? ? ? ? ? ? ? ?การวิจัยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างที่บางคนคิด? หากเราได้เรียนรู้ เข้าใจ และได้ทดลองนำมาใช้ ในทางตรงกันข้ามการวิจัยช่วยให้ทำงานประจำได้อย่างสนุก ไม่น่าเบื่อกับการงานที่ซ้ำซากแต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร? หากเพียงแต่เรารู้สังเกต ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ โดยการมีมุมมองใหม่ที่ผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างรอบด้านและมีวิจารณญาณ รวมทั้งมีการค้นหาวิธีใหม่มาทดลองใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ปัญหากับงานประจำที่เราต้องเผชิญทุกวัน เราก็จะพบว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่น่าสนใจและท้าทายให้คนเราเผชิญสถานการณ์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างมีเหตุมีผล มีระบบระเบียบ เกิดการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างกว้างขวางทั้งในประโยชน์ในส่วนตัว องค์กร/หน่วยงาน และสังคมโดยรวม?

? ? ? ? ? ? ?การทำวิจัยจากงานประจำ (routine to research) หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ปัญหาและพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กร? การพิจารณาว่างานวิจัยที่ถือว่าพัฒนามาจากงานประจำนั้น อาจต้องพิจารณาจากโจทย์วิจัย ผู้ทำวิจัย ผลลัพธ์ของการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ?โจทย์วิจัย? ต้องมาจากงานประจำเป็นการแก้ปัญหา/พัฒนางานประจำ
  • ?ผู้ทำวิจัย? ต้องเป็นผู้ทำงานประจำ มีบทบาทหลักของการวิจัย
  • ?ผลลัพธ์ของการวิจัย? ต้องวัดที่ผลต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น เช่น ระดับสารต่าง ๆ ในร่างกาย/ผลการตรวจพิเศษต่าง ๆ
  • ?การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์? ต้องมีผลต่อเปลี่ยนแปลงการให้บริการผู้ป่วยโดยตรงหรือต่อการจัดบริการผู้รับบริการ

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์