เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 3)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูดนมจนเกลี้ยงเต้า การที่ปล่อยให้มีน้ำนมสะสมอยู่ในเต้านมมาก เชื่อว่าจะมีสารเคมีที่ยับยั้งการสร้างน้ำนมสูงขึ้น ดังนั้นการดูดนมจนเกลี้ยงเต้าจะลดสารเคมีที่ยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำนม มารดาจึงต้องกระตุ้นให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า1,2 หากยังไม่หมดหรือไม่เกลี้ยงเต้า การบีบนมหรือปั๊มนมออกจะช่วยให้นมเกลี้ยงเต้าและสามารถเก็บน้ำนมไว้ป้อนทารกไว้ในช่วงเวลาที่ต้องการได้ เมื่อให้นมแม่ได้เกลี้ยงเต้า การเริ่มให้นมแม่ครั้งต่อไปจะให้โดยเต้านมอีกข้างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติในลักษณะเดียวกันให้เกลี้ยงเต้า หากปฏิบัติได้ทุกครั้ง การสร้างน้ำนมจะเร็วและได้ปริมาณน้ำนมมากขึ้น หากทารกดูดนมได้น้อยเทคนิคที่ใช้ช่วยในปัญหานี้อาจใช้วิธีให้ทารกดูดจากเต้าก่อนซึ่งอาจดูดได้เพียง 5-10 นาทีจากนั้นบีบนมหรือปั๊มนมออกมาป้อนให้ทารกเพิ่มโดยใช้วิธีป้อนด้วยถ้วยต่อ และเช่นเดียวกันหากน้ำนมในเต้านมยังเหลือต้องบีบหรือปั๊มออกจนเกลี้ยงเต้า ปฏิบัติแบบนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถจะดูดนมได้ด้วยตนเองจนเกลี้ยงเต้า สิ่งนี้จะทำให้ทารกได้นมแม่พอเพียงและมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด3

สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดของการที่มีน้ำนมเพียงพอหรือมากพอคือ ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด ซึ่งมารดาสามารถดูการขึ้นของน้ำหนักทารกที่เหมาะสมได้ในสมุดสุขภาพทารก แต่หากมีความกังวลอาจใช้การเทคนิคการชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังกินนมแม่ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้มารดาลดความกังวลลงได้4,5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 1: Infant demand and milk production in lactating women. J Hum Lact 1995;11:21-6.

2.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 2: The short-term control of milk synthesis in lactating women. J Hum Lact 1995;11:27-37.

3.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

4.???????? Meier PP, Furman LM, Degenhardt M. Increased lactation risk for late preterm infants and mothers: evidence and management strategies to protect breastfeeding. J Midwifery Womens Health 2007;52:579-87.

5.???????? Neifert MR. Prevention of breastfeeding tragedies. Pediatr Clin North Am 2001;48:273-97.

 

 

 

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเริ่มให้ทารกเริ่มดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้ทารกได้ดูดนมแม่เร็วจะกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูง และกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินที่ช่วยในการหลั่งน้ำนม ทำให้นมแม่มาเร็วและพอเพียง และเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น1

ความถี่ของการให้ทารกดูดนมแม่ จำเป็นต้องให้ทารกดูดนมแม่นานอย่างน้อย 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง นั่นคือวันละ 8-12 ครั้ง การดูดนมของทารกแต่ละครั้งจะกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูงและคงอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอในการสร้างนมแม่2 ดังนั้นเมื่อมารดาเข้าใจในเรื่องนี้ การที่มารดาจะทำให้ทารกดูดนมได้บ่อย เทคนิคหนึ่งคือ การนอนร่วมเตียงเดียวกับทารก3,4 ?และเปิดโอกาสให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง มีช่วงเวลาที่สงบ บรรยากาศที่เป็นส่วนตัว จะลดความอายของมารดาในการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกมารดาได้นาน และทารกได้ดูดนมแม่ได้ตามต้องการ ให้เวลาให้มารดาได้กระตุ้นทารกให้ดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้า การจำกัดผู้เข้าเยี่ยมหรือเวลาที่เข้าเยี่ยมจะช่วยให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนและมีเวลาส่วนตัวในการให้นมทารกได้อย่างเหมาะสม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Murray EK, Ricketts S, Dellaport J. Hospital practices that increase breastfeeding duration: results from a population-based study. Birth 2007;34:202-11.

2.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

3.???????? McCoy RC, Hunt CE, Lesko SM, et al. Frequency of bed sharing and its relationship to breastfeeding. J Dev Behav Pediatr 2004;25:141-9.

4.???????? Tan KL. Factors associated with exclusive breastfeeding among infants under six months of age in peninsular malaysia. Int Breastfeed J 2011;6:2.

5.???????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.

 

 

 

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หนึ่งในปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยคือ น้ำนมไม่พอหรือการที่มารดารู้สึกว่าน้ำนมมีไม่พอ1,2 การเรียนรู้เรื่องขั้นตอนการกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วและมามากจึงมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องนี้มาก เทคนิคการทำให้น้ำนมมาเพียงพอหรือมามาก มีดังนี้

การให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาในระยะแรกหลังคลอด เป็นจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาของการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดายิ่งนานจะช่วยให้การเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Gatti L. Maternal perceptions of insufficient milk supply in breastfeeding. J Nurs Scholarsh 2008;40:355-63.

2.???????? Li R, Fein SB, Chen J, Grummer-Strawn LM. Why mothers stop breastfeeding: mothers’ self-reported reasons for stopping during the first year. Pediatrics 2008;122 Suppl 2:S69-76.

3.???????? Bramson L, Lee JW, Moore E, et al. Effect of early skin-to-skin mother–infant contact during the first 3 hours following birth on exclusive breastfeeding during the maternity hospital stay. J Hum Lact 2010;26:130-7.

4.???????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

 

 

10 ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใส่ใจเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำความเข้าใจกับปัญหาในแต่ละหัวข้อจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ปัญหาที่พบบ่อย1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. มารดาการขาดความรู้และ/หรือเข้าร่วมการให้ความรู้ก่อนการคลอดน้อย
  2. ความไม่แน่ใจหรือการลังเลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. ความอายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  4. ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  5. การกลับเข้าทำงานของมารดา
  6. การเริ่มอาหารอื่นร่วมด้วยเร็ว
  7. การเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมปกติของทารก
  8. การที่น้ำนมไม่พอหรือรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ
  9. ความสะดวกสบายของการใช้และให้นมผสม
  10. การสนับสนุนของครอบครัวและสังคมที่ไม่พอเพียง

สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วย การให้ความรู้กับมารดาถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีสูงกว่า ทำให้มารดาเข้าใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก้ความเชื่อผิดๆ ชี้ให้เห็นลักษณะปกติของทารก และสอนวิธีการให้นมแม่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงาน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

 

 

10 ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะต้องมีการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแล้ว การที่ทราบเกี่ยวกับทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่จำกัดสามารถจะเลือกเข้าช่วยเหลือในกลุ่มเสี่ยงโดยหากเข้าช่วยเหลือแต่แรกเริ่ม ผลการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะดี ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่อายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์จะมีช่วงที่ตื่นหรือรู้ตัวน้อยกว่า การพัฒนาทักษะของการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากยังไม่สมบูรณ์ ความแรงในการดูดนมน้อย การเข้าเต้ายากและจังหวะการดูดกลืนยังไม่สมบูรณ์
  2. ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2727 กรัมหรือ 6 ปอนด์
  3. ทารกแฝด
  4. ทารกที่มีลิ้นติด คางเล็กหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ทารกตัวเหลือง
  6. ทารกที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ โรคหัวใจ ติดเชื้อ หรือจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
  7. ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีความบกพร่องในการดูดนม
  8. ทารกที่เข้าเต้ายาก
  9. ทารกที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 หรือทารกที่ยังมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องหลังจากน้ำนมแม่มาแล้ว
  10. ทารกที่มีมารดามีการสร้างน้ำนมช้า เช่น มารดาตกเลือดหลังคลอด หรือมารดาที่เป็นเบาหวาน

การแก้ไขในกลุ่มทารกเหล่านี้ ใช้หลักการใหญ่ๆ คือ พยายามให้ลูกได้กินนมแม่ใช้วิธีให้ดูดนมจากเต้าข้างละ 5-10 นาที เสริมด้วยนมแม่ที่ได้จากการบีบหรือปั๊มนมตามความต้องการ จากนั้นปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถดูดนมจากเต้าเองได้ดี โดยประเมินจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มจากการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกินนม ซึ่งหากขึ้นได้ดีแล้ว นั่นแสดงว่ามีความสำเร็จในระยะแรกแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)