เภสัชกลศาสตร์ของยาระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เภสัชกลศาสตร์ของยาระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความแตกต่างจากสตรีก่อนตั้งครรภ์ โดยในสตรีตั้งครรภ์จะมีภาวะน้ำเลือดเพิ่มขึ้น การกรองของหน่วยไตเพิ่มขึ้น และภาวะอัลบูมินต่ำจากการเจือจาง การดูดซึมของยาชนิดรับประทานจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากการที่มีการบีบตัวไล่อาหารในกระเพาะอาหารช้าลง แม้ว่าโดยทั่วไปไม่มีการปรับเปลี่ยนขนาดของยา แต่ยาที่บริหารโดยรับประทานวันละหลายครั้งจะมีช่วงระยะของผลของยายืดออกมากกว่ายาที่รับประทานวันหนึ่งครั้ง1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

 

ช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการให้ยาระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ช่วงเวลาที่ปลอดภัย ทารกจะมีความเสี่ยงเรื่องความผิดปกติทางร่างกายและอวัยวะสูงในช่วงของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่หนึ่ง สำหรับการพัฒนาระบบประสาท พฤติกรรม และอวัยวะบางอย่างอาจจะยังได้รับผลกระทบแม้หลังผ่านไตรมาสที่หนึ่งไปแล้ว มักจะแบ่งช่วงระยะของทารกในครรภ์ขณะที่ได้รับยาเป็นสามระยะ1 คือ

ระยะที่หนึ่งตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน ระยะนี้หากเซลล์ตัวอ่อนได้รับยาผลจะเป็นตามกฎ all or none คือแท้งหรือไม่มีผลต่อเซลล์ตัวอ่อน

ระยะที่สองตั้งแต่ 14 วันจนถึง 60 วันหลังปฏิสนธิ ระยะนี้จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนพัฒนาและสร้างอวัยวะ ความผิดปกติจะขึ้นอยู่กับยาเฉพาะแต่ละตัวที่จะมีผลเฉพาะในแต่ละช่วงเวลาของการพัฒนาการ เช่น ยา Thalidomide จะมีผลต่อทารกเฉพาะในช่วงตั้งแต่วันที่ 21-36 หลังการปฏิสนธิ Vaproic acid มีผลต่อ neural tube ในช่วงวันที่ 14-27 หลังการปฏิสนธิ

ระยะที่สามตั้งแต่วันที่ 60 หลังปฏิสนธิจนกระทั่งคลอด จะเป็นช่วงที่ทารกมีพัฒนาการในครรภ์ การได้รับยาในช่วงนี้จะมีผลต่อความผิดปกติของร่างกายและอวัยวะน้อยกว่า เช่น การได้รับ angiotension converting enzyme inhibitor ในระหว่างช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองและสาม จะทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ทารกไม่ปัสสาวะ pulmonary hypoplasia ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และทารกเสียชีวิตได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

?

 

การผ่านของยาผ่านรกในระหว่างตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

รกเป็นส่วนที่เชื่อมต่อของสารอาหาร น้ำ รวมทั้งยาที่มารดาได้รับสู่ทารกในครรภ์ โดยทั่วไปยาที่ให้จะผ่านรกด้วยปริมาณที่แตกต่างกัน การที่ทารกจะได้รับยาขึ้นอยู่กับลักษณะของยาในระบบร่างกายมารดา ขนาดโมเลกุล ชนิดของประจุไฟฟ้า และการละลายในไขมันของยา ยาที่จะผ่านรกได้ดีจะมีลักษณะที่จับกับไขมันได้ดี ขนาดโมเลกุลเล็ก และไม่มีประจุในช่วงความเป็นกรดด่างปกติของร่างกาย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

 

หลักในการให้ยาระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

 

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในระหว่างการตั้งครรภ์มีการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 50 ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลและให้การรักษาสตรีมีครรภ์ หลักการที่สำคัญที่ควรคำนึงถึง1 คือ

??????????????? -การผ่านของยาผ่านรก

??????????????? -ช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการใช้ยา

??????????????? -เภสัชกลศาสตร์ของยาระหว่างการตั้งครรภ์

??????????????? -ข้อมูลความปลอดภัยของยาระหว่างการตั้งครรภ์

??????????????? การจำแนกกลุ่มยาตามประเภทของยาที่ใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

การคุมกำเนิดในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรระมัดระวังเรื่องการตั้งครรภ์เนื่องจากจะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคและผลเสียจากการรักษาต่อมารดาและทารก ร่วมกับเมื่ออาการของโรคดีขึ้น โอกาสของการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น ดังนั้น การเลือกวิธีการคุมกำเนิดในผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรเลือกด้วยความระมัดระวังดังนี้

-การให้สามีใช้ถุงยางอนามัย วิธีนี้ปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสกำเริบของโรค

-การใส่ห่วงอนามัย วิธีนี้สามารถใส่ได้ทั้งชนิดที่ไม่มีและมีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภูมิคุ้มกันต่ำ การติดเชื้อง่าย การเฝ้าระวังการติดเชื้อในช่วงแรกของการใส่ห่วงอนามัยจึงมีความจำเป็น1,2 นอกจากนี้ ในผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยอาจมีอาการหน่วงหรือปวดท้องน้อยเล็กน้อยได้

-การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด กลุ่มยาฉีดคุมกำเนิดเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งไม่ส่งผลให้อาการของโรคกำเริบ จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องกระดูกบาง เนื่องจากหลังหยุดการใช้ยามวลกระดูกจะกลับสู่ภาวะปกติ3

-การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน หากเป็นฮอร์โมนรวม การใช้เอสโตรเจนมักสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค4 มีรายงานว่าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำได้ในช่วงที่อาการของโรคสงบ5,6 ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Campbell SJ, Cropsey KL, Matthews CA. Intrauterine device use in a high-risk population: experience from an urban university clinic. Am J Obstet Gynecol 2007;197:193 e1-6; discussion? e6-7.

2.???????????? Stringer EM, Kaseba C, Levy J, et al. A randomized trial of the intrauterine contraceptive device vs hormonal contraception in women who are infected with the human immunodeficiency virus. Am J Obstet Gynecol 2007;197:144 e1-8.

3.???????????? Chabbert-Buffet N, Amoura Z, Scarabin PY, et al. Pregnane progestin contraception in systemic lupus erythematosus: a longitudinal study of 187 patients. Contraception 2011;83:229-37.

4.???????????? Cutolo M, Capellino S, Straub RH. Oestrogens in rheumatic diseases: friend or foe? Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii2-5.

5.???????????? Sanchez-Guerrero J, Uribe AG, Jimenez-Santana L, et al. A trial of contraceptive methods in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2539-49.

6.???????????? Petri M, Kim MY, Kalunian KC, et al. Combined oral contraceptives in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2550-8.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)