ระยะของการสร้างน้ำนม

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมแม่ในระยะแรกจะเป็นหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลือง (colostrums) ซึ่งจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่อุดมไปด้านสารประกอบที่ช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันกับทารก ได้แก่ เม็ดเลือดขาว แลคโตเฟอริน (lactoferrin) และ secretory immunoglobulin A (IgA) สารที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้แก่ epidermal growth factor หัวน้ำนมจะมีแลคโตส โปแตสเซียมและแคลเซียมต่ำ โซเดียม คลอไรด์ และแมกนีเซียมสูง1-3 เมื่อถึงระยะการสร้างน้ำนมระยะที่สองราว 72 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมจะเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional milk) ในวันที่ 5-14 วันหลังคลอด จากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำนมระยะสมบูรณ์ (mature milk) ซึ่งจะมีปริมาณและสัดส่วนของสารอาหารที่สูงขึ้นกว่าน้ำนมในระยะเปลี่ยนผ่านและหัวน้ำนม

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Castellote C, Casillas R, Ramirez-Santana C, et al. Premature delivery influences the immunological composition of colostrum and transitional and mature human milk. J Nutr 2011;141:1181-7.

2.??????????? Pang WW, Hartmann PE. Initiation of human lactation: secretory differentiation and secretory activation. J Mammary Gland Biol Neoplasia 2007;12:211-21.

3.??????????? Kulski JK, Hartmann PE. Changes in human milk composition during the initiation of lactation. Aust J Exp Biol Med Sci 1981;59:101-14.

 

 

 

ส่วนประกอบของนมแม่


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจุบันแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และให้ต่อไปได้ถึง 1-2 ปีขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก นมแม่จะมีสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของทารก1 นอกจากส่วนประกอบของสารอาหารแล้ว ในนมแม่ยังประกอบด้วยส่วนประกอบที่ออกฤทธิ์ด้านอื่นๆ ด้วย ได้แก่ สารประกอบที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและการติดเชื้อ สารที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโต สารที่ช่วยเรื่องการย่อยและการขับถ่าย และเซลล์ ส่วนประกอบของนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลานับตั้งแต่การคลอด การให้นมในช่วงกลางวันหรือกลางคืน ระยะของการให้นม ปริมาณน้ำนม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับทารก โดยสารอาหารบางชนิดจะมีปริมาณขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของมารดา เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับปัจจัยหลายอย่าง มารดาและบุคลากรทางการแพทย์จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำนม เพื่อให้วางแผนการให้นม เก็บน้ำนม หรือรับประทานอาหารเสริมที่จำเป็นให้นมแม่มีคุณค่าสูงสุด

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Oftedal OT. The evolution of milk secretion and its ancient origins. Animal 2012;6:355-68.

 

การบีบหรือปั๊มนมสำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต

w34

????????????? การบีบหรือปั๊มนมสำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต การที่ทารกต้องอยู่ที่หอทารกวิกฤตมักเกิดจากการที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์หรือการคลอด ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ทารกอาจต้องใส่สายยางเข้ากระเพาะอาหารและป้อนนมทางสายยาง โดยอาจจะต้องใช้เวลาในการดูแลรักษา สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่หากอายุครรภ์น้อยจำเป็นต้องอยู่ที่หอทารกวิกฤตนาน การดูแลให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงต้องอาศัยการบีบหรือปั๊มนมช่วย ซึ่งขณะนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล มารดาควรได้รับการสอนการบีบหรือปั๊มนมเพื่อให้มีน้ำนมและมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น นอกจากนี้บริเวณหอทารกวิกฤตควรจัดสถานที่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้มารดาได้บีบนมหรือปั๊มนมสำหรับทารกด้วย

??????????? การให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ในทารกที่อยู่ที่หอทารกวิกฤตมีความจำเป็น เนื่องจากมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดส่วนหนึ่งเป็นจากมารดามีความเสี่ยง ได้แก่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีเศรษฐานะและการศึกษาน้อย ไม่ฝากครรภ์ ทำให้มารดาเหล่านี้อาจไม่ได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างฝากครรภ์ จึงควรให้ข้อมูลเหล่านี้กับมารดาและครอบครัวเพิ่มเติมในระหว่างการรอคลอดและหลังคลอด ซึ่งควรเน้นว่า ?นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว การให้ลูกได้กินนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของทารกดีขึ้น? การให้คำปรึกษาทีมที่ให้การดูแลรักษา คือ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรทำร่วมกัน23 มีรายงานว่าการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมารดาที่คลอดก่อนกำหนดที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสม ผลคือทำให้มารดาเริ่มการบีบหรือปั๊มนมแม่ร้อยละ 85 ?และความวิตกกังวลในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสมและกลุ่มที่ตั้งใจจะให้นมแม่ไม่แตกต่างกัน โดยจะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป24

??????????? การบีบหรือปั๊มนมแม่สำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต เวลาในการเริ่มการบีบหรือปั๊มนมแม่ควรเริ่มให้เร็วที่สุดหากสามารถทำได้โดยไม่มีข้อห้าม โดยเริ่มบีบหรือปั๊มนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด25,26 จะทำให้โอกาสในการประสบความสำเร็จในการให้นมแม่สูงขึ้นระยะเวลาในการบีบหรือปั๊มนมจะใช้เวลา 10-15 นาทีในช่วงแรก และเมื่อน้ำนมมาแล้ว การบีบหรือปั๊มนมควรทำจนกระทั่งน้ำนมหมดไปแล้ว 2 นาทีเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำนมเกลี้ยงเต้าแล้ว และควรบีบหรือปั๊มนม 8-12 ครั้งต่อวัน27

??????????? การเลือกให้นมแก่ทารกที่หอทารกวิกฤตมีความแตกต่างกันตามลักษณะของอาการและความรุนแรงของอาการทารก บางรายอาจต้องเริ่มให้นมแม่ทางสายยางเข้ากระเพาะอาหาร บางรายให้นมทางปากได้ แต่ทารกเข้าเต้าหรือดูดได้ไม่ดี จึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาร่วมกันในทีมการดูแลรักษาเพื่อให้ทารกได้ประโยชน์สูงสุดจากนมแม่

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Pineda RG, Foss J, Richards L, Pane CA. Breastfeeding changes for VLBW infants in the NICU following staff education. Neonatal Netw 2009;28:311-9.

2.???????????? Sisk PM, Lovelady CA, Dillard RG, Gruber KJ. Lactation counseling for mothers of very low birth weight infants: effect on maternal anxiety and infant intake of human milk. Pediatrics 2006;117:e67-75.

3.???????????? Furman L, Minich N, Hack M. Correlates of lactation in mothers of very low birth weight infants. Pediatrics 2002;109:e57.

4.???????????? Parker LA, Sullivan S, Krueger C, Kelechi T, Mueller M. Effect of early breast milk expression on milk volume and timing of lactogenesis stage II among mothers of very low birth weight infants: a pilot study. J Perinatol 2012;32:205-9.

5.???????????? Dougherty D, Luther M. Birth to breast–a feeding care map for the NICU: helping the extremely low birth weight infant navigate the course. Neonatal Netw 2008;27:371-7.

?

 

 

ช่วงเวลาในการเริ่มบีบหรือปั๊มนม

w34

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ช่วงเวลาในการเริ่มบีบหรือปั๊มนม การบีบหรือปั๊มนมโดยทั่วไปจะปฏิบัติในช่วงหลังการสร้างน้ำนมระยะที่สอง (lactogenesis II) ซึ่งจะอยู่ในช่วง 32-96 ชั่วโมงหลังคลอด สำหรับการบีบหรือปั๊มนมตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด (early milk expression) ก่อนการสร้างน้ำนมระยะที่สอง ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลของการบีบหรือปั๊มนมในระยะนี้1-3 มีรายงานว่าในระยะแรกหลังคลอด การบีบน้ำนมด้วยมือจะได้น้ำนมมากกว่าการปั๊มนมและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ระยะสองเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ?เทียบกับการปั๊มนม4 การปั๊มนมไม่ได้ช่วยให้ปริมาณหัวน้ำนม (colostrum) เพิ่มขึ้น และไม่ได้ช่วยให้การเข้าสู่การสร้างน้ำนมระยะที่สองเร็วขึ้น แต่พบว่าจะช่วยให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นในวันที่หกหลังคลอด5 ผลตามรายงานนี้มีความพยายามจะอธิบายว่า การบีบน้ำนมด้วยมืออาจจะช่วยให้หัวน้ำนมไหลออกได้มากกว่าและมารดาที่บีบน้ำนมด้วยมือรู้สึกดีกว่าการที่ต้องปั๊มนม อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการสอนให้มารดาสามารถบีบน้ำนมด้วยมือก่อนที่จะอนุญาตให้มารดากลับบ้าน

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Becker GE, Cooney F, Smith HA. Methods of milk expression for lactating women. Cochrane Database Syst Rev 2011:CD006170.

2.???????????? Slusher T, Hampton R, Bode-Thomas F, Pam S, Akor F, Meier P. Promoting the exclusive feeding of own mother’s milk through the use of hindmilk and increased maternal milk volume for hospitalized, low birth weight infants (< 1800 grams) in Nigeria: a feasibility study. J Hum Lact 2003;19:191-8.

3.???????????? Ohyama M, Watabe H, Hayasaka Y. Manual expression and electric breast pumping in the first 48 h after delivery. Pediatr Int 2010;52:39-43.

4.???????????? Flaherman VJ, Gay B, Scott C, Avins A, Lee KA, Newman TB. Randomised trial comparing hand expression with breast pumping for mothers of term newborns feeding poorly. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2012;97:F18-23.

5.???????????? Meier PP, Engstrom JL, Janes JE, Jegier BJ, Loera F. Breast pump suction patterns that mimic the human infant during breastfeeding: greater milk output in less time spent pumping for breast pump-dependent mothers with premature infants. J Perinatol 2012;32:103-10.

?

 

 

ข้อบ่งชี้ในการบีบหรือปั๊มนม

w34

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ข้อบ่งชี้ในการบีบหรือปั๊มนม มีข้อบ่งชี้ในการบีบหรือปั๊มนมหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่ การที่มารดากลับเข้าทำงาน ช่วงเวลาที่บีบหรือปั๊มนมมีผลต่อปริมาณน้ำนมด้วย การบีบหรือปั๊มนมในช่วง 6.00 นาฬิกาถึง 12.00 นาฬิกาจะให้ปริมาณน้ำนมสูงสุด ส่วนในช่วงหลัง 18.00 นาฬิกาจะให้ปริมาณน้ำนมต่ำสุด1 การแนะนำการบีบหรือปั๊มนม แนะนำให้มารดาบีบหรือปั๊มนมก่อนออกไปทำงาน ระหว่างการทำงานควรบีบหรือปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง และบีบหรือปั๊มนมหลังจากกลับจากทำงานสำหรับข้อบ่งชี้อื่นๆ ได้แก่ มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกต้องเข้าหอผู้ป่วยทารกวิกฤต ทารกที่มีเพดาโหว่ที่ไม่สามารถสร้างแรงดูดที่จะดูดนมจากเต้านมแม่ได้ ข้อบ่งชี้อีกกรณีหนึ่ง คือต้องการให้มีน้ำนมมากขึ้น การปั๊มนมวันละสองครั้งเสริมการจากให้ลูกดูดนมแม่ปกติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะทำให้น้ำนมมาเพิ่มขึ้นวันละ 175 มิลลิลิตร2 อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่ทารกคลอดครบกำหนดปกติที่ปั๊มนมให้ลูกอย่างเดียวโดยไม่ให้นมจากเต้ามักไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบหกเดือน3 จึงแนะนำว่าหากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ควรดูดนมจากเต้า

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Boutte CA, Garza C, Fraley JK, Stuff JE, Smith EO. Comparison of hand- and electric-operated breast pumps. Hum Nutr Appl Nutr 1985;39:426-30.

2.???????????? Hopkinson J, Heird W. Maternal response to two electric breast pumps. Breastfeed Med 2009;4:17-23.

3.???????????? Geraghty SR, Khoury JC, Kalkwarf HJ. Human milk pumping rates of mothers of singletons and mothers of multiples. J Hum Lact 2005;21:413-20.

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)