สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในน้ำนมแม่มีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตของทารกโดยมีผลต่อระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ แบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ได้ดังนี้

??????????????? -สารที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้ ได้แก่ ?epidermal growth factor

??????????? -สารที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหาร ได้แก่ neuronal growth factor

??????????????? -สารที่ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ได้แก่? สารในกลุ่มของ insulin-like growth factor

??????????????? -สารที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ vascular endothelial growth factor

??????????? -สารที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด ได้แก่ erythropoietin

??????????? -ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ได้แก่ calcitonin และ somatostatin

??????????? -สารที่ช่วยควบคุมการเผาพลาญและสัดส่วนของร่างกาย ได้แก่ adiponectin และฮอร์โมนอื่นๆ

??????????????? จะเห็นว่า สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่นั้น มีคุณสมบัติที่มากกว่าเรื่องความครบถ้วนของสารอาหาร เนื่องจากสารเหล่านี้ช่วยควบคุมระบบการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในน้ำนม

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ (bioactive component in human milk) คือสารที่ออกฤทธิ์ต่อกระบวนการทางชีวภาพ มีผลต่อหน้าที่การทำงานของร่างกาย สภาวะหรือตลอดจนสุขภาพ แหล่งกำเนิดของสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ อาจจะมีมาจากการสร้างจากเซลล์เยื่อบุผิวในเต้านม เซลล์ที่มีอยู่ในน้ำนม หรือผ่านมาจากกระแสเลือดโดยผ่านตัวรับที่เซลล์ของเต้านม นอกเหนือจากความสำคัญในด้านสารอาหารในนมแม่ที่มีอย่างครบถ้วนแล้ว นมแม่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพของทารกในด้านการควบคุมการเจริญเติบโต พัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกันด้วย

สารอาหารที่มีน้อยในนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารอาหารที่มีน้อยในนมแม่ คือ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ วิตามินและแร่ธาตุในนมแม่ที่มีปริมาณขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาและปริมาณสารอาหารที่สะสมอยู่ในร่างกายได้แก่ วิตามิน A, B1, B2, B3, B6, B12, C, D และไอโอดีน การรับประทานอาหารของมารดาอาจมีการรับประทานอาหารไม่ได้ครบสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นการเสริมวิตามินและแร่ธาตุในมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับปริมาณสารอาหารเหล่านี้ต่ำจึงจำเป็น วิตามิน K มีปริมาณต่ำมากในนมแม่ จึงแนะนำให้ฉีดวิตามิน K ให้ทารกทุกรายหลังคลอด วิตามิน D มีปริมาณต่ำในนมแม่ แม้วิตามิน D ร่างกายมารดาสามารถผลิตได้จากการได้รับแสงแดด แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณวิตามิน D ที่พบในน้ำนมมารดายังน้อย1 จึงมีข้อแนะนำให้รับประทานวิตามิน D เสริมสำหรับมารดาในระยะให้นมบุตรด้วย?? 2,3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Dawodu A, Zalla L, Woo JG, et al. Heightened attention to supplementation is needed to improve the vitamin D status of breastfeeding mothers and infants when sunshine exposure is restricted. Matern Child Nutr 2012.

2.??????????? Greer FR. Do breastfed infants need supplemental vitamins? Pediatr Clin North Am 2001;48:415-23.

3.??????????? Allen LH. B vitamins in breast milk: relative importance of maternal status and intake, and effects on infant status and function. Adv Nutr 2012;3:362-9.

 

 

 

สารอาหารที่มีมากในนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กลุ่มของโปรตีนในน้ำนมจะแบ่งเป็นชนิดเวย์ (whey) เคซีน (casein) โปรตีนที่จำเพาะและเปปไตด์ (peptide)1,2 โปรตีนส่วนใหญ่จะเป็นเคซีน อัลฟาแลคตาบูมิน แลคโตเฟอริน secretory IgA ไลโซไซม์ (lysozyme) และอัลบูมิน3 นอกจากนี้ยังมีสารประกอบที่มีไนโตเจนที่ไม่ใช่โปรตีน ได้แก่ ยูเรีย ยูริคแอซิด (uric acid) คีเอทีน (creatine) คีเอตินิน (creatinine) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนของไนโตรเจนในน้ำนมร้อยละ 25 ความเข้มข้นของโปรตีนไม่ขึ้นกับการรับประทานอาหารของมารดา แต่ขึ้นกับดัชนีมวลกายและปริมาณน้ำนม4

ไขมันในน้ำนมส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของกรดไขมัน palmitic และ oleic น้ำนมขณะเริ่มให้นมจะเรียกน้ำนมส่วนหน้า (foremilk) จะมีความเข้มข้นของปริมาณไขมันน้อยกว่าน้ำนมส่วนหลัง (hindmilk) ซึ่งเป็นน้ำนมเมื่อให้นมใกล้จะเสร็จ 2-3 เท่า5 และปริมาณไขมันในนมแม่ขณะที่ให้นมลูกในช่วงกลางคืนและตอนเช้าจะต่ำกว่าขณะที่ให้นมลูกในช่วงกลางวันและตอนเย็น6 นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของปริมาณไขมันในน้ำนมกับการรับประทานโปรตีนของมารดาร้อยละ 254 ปริมาณน้ำนมสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารของมารดาด้วยโดยเฉพาะกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลยาว (long-chain polyunsaturated fatty acid) ซึ่งได้แก่ โอเมก้า-6 โอเมก้า-3 และ docosahexaenoic acid (DHA) พบอาหารในอเมริกาเหนือมีระดับ DHA ต่ำจึงมีข้อแนะนำให้มารดาการรับประทาน DHA เสริมระหว่างให้นมลูก7-9

น้ำตาลในนมแม่ส่วนใหญ่จะเป็น disaccharide lactose ระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในนมแม่ค่อนข้างจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสูงขึ้นในมารดาที่มีน้ำนมปริมาณมาก4 และพบโอลิโกแซคคาไรด์ร้อยละ 1 ในแม่

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Liao Y, Alvarado R, Phinney B, Lonnerdal B. Proteomic characterization of human milk whey proteins during a twelve-month lactation period. J Proteome Res 2011;10:1746-54.

2.??????????? Gao X, McMahon RJ, Woo JG, Davidson BS, Morrow AL, Zhang Q. Temporal changes in milk proteomes reveal developing milk functions. J Proteome Res 2012;11:3897-907.

3.??????????? Lonnerdal B. Human milk proteins: key components for the biological activity of human milk. Adv Exp Med Biol 2004;554:11-25.

4.??????????? Nommsen LA, Lovelady CA, Heinig MJ, Lonnerdal B, Dewey KG. Determinants of energy, protein, lipid, and lactose concentrations in human milk during the first 12 mo of lactation: the DARLING Study. Am J Clin Nutr 1991;53:457-65.

5.??????????? Saarela T, Kokkonen J, Koivisto M. Macronutrient and energy contents of human milk fractions during the first six months of lactation. Acta Paediatr 2005;94:1176-81.

6.??????????? Kent JC, Mitoulas LR, Cregan MD, Ramsay DT, Doherty DA, Hartmann PE. Volume and frequency of breastfeedings and fat content of breast milk throughout the day. Pediatrics 2006;117:e387-95.

7.??????????? Valentine CJ, Morrow G, Fernandez S, et al. Docosahexaenoic Acid and Amino Acid Contents in Pasteurized Donor Milk are Low for Preterm Infants. J Pediatr 2010;157:906-10.

8.??????????? Valentine CJ, Morrow G, Pennell M, et al. Randomized controlled trial of docosahexaenoic acid supplementation in midwestern U.S. Human milk donors. Breastfeed Med 2013;8:86-91.

9.??????????? Martin MA, Lassek WD, Gaulin SJ, et al. Fatty acid composition in the mature milk of Bolivian forager-horticulturalists: controlled comparisons with a US sample. Matern Child Nutr 2012;8:404-18.

 

 

 

การศึกษาเรื่องส่วนประกอบของน้ำนม

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การศึกษาเรื่องส่วนประกอบของน้ำนมแม่มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากการศึกษาที่ผ่านมามีความแตกต่างกัน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากรูปแบบการเก็บน้ำนมที่แตกต่างกัน การเก็บน้ำนมแม่ที่เป็นมาตรฐานควรเก็บตัวอย่างจากน้ำนมที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเก็บจากหลายช่วงเวลา แต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือของมารดา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง จึงมักเลือกเก็บน้ำนมในเวลาที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ในช่วงเวลาเช้า เก็บน้ำนมจนเกลี้ยงเต้า ซึ่งเต้านมที่เก็บน้ำนมควรจะห่างจากการให้นมครั้งสุดท้าย 2-3 ชั่วโมง1-3 ลักษณะการเก็บรักษาที่แตกต่างกันมีผลต่อส่วนประกอบของน้ำนมด้วย ได้แก่ การเก็บแช่แข็ง จำนวนครั้งของการละลายที่จะนำมาใช้ตรวจ ระยะเวลาของการเก็บรักษา และการให้ความร้อนเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น การทำ pasteurization ดังนั้นในการนำผลการศึกษาไปใช้จำเป็นต้องทราบข้อจำกัดเหล่านี้

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Nommsen LA, Lovelady CA, Heinig MJ, Lonnerdal B, Dewey KG. Determinants of energy, protein, lipid, and lactose concentrations in human milk during the first 12 mo of lactation: the DARLING Study. Am J Clin Nutr 1991;53:457-65.

2.??????????? Bauer J, Gerss J. Longitudinal analysis of macronutrients and minerals in human milk produced by mothers of preterm infants. Clin Nutr 2011;30:215-20.

3.??????????? Geraghty SR, Davidson BS, Warner BB, et al. The development of a research human milk bank. J Hum Lact 2005;21:59-66.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)