สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สารที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด ได้แก่ erythropoietin สารนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดง? erythropoietin จะพบมากในนมแม่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดจากการเสียเลือด พยาธิสภาพในลำไส้ หรือการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ของระบบการสร้างเม็ดเลือดซึ่งจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาการของทารกผิดปกติ1 การให้ erythropoietin จะช่วยเพิ่มการความเข้มข้นของเลือดแต่ควรพิจารณาการเสริมธาตุเหล็กให้เพียงพอ2-4 นอกจากนี้ erythropoietin ยังช่วยให้รอยต่อของเซลล์ที่ผนังลำไส้เกาะติดกันแน่นขึ้น5 มีรายงานว่าอาจช่วยลดการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก6และลดการเกิด necrotizing enterocolitis ลงได้5,7

?

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Kett JC. Anemia in infancy. Pediatr Rev 2012;33:186-7.

2.???????????? Carbonell-Estrany X, Figueras-Aloy J, Alvarez E. Erythropoietin and prematurity–where do we stand? J Perinat Med 2005;33:277-86.

3.???????????? Kling PJ, Willeitner A, Dvorak B, Blohowiak SE. Enteral erythropoietin and iron stimulate erythropoiesis in suckling rats. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2008;46:202-7.

4.???????????? Pasha YZ, Ahmadpour-Kacho M, Hajiahmadi M, Hosseini MB. Enteral erythropoietin increases plasma erythropoietin level in preterm infants: a randomized controlled trial. Indian Pediatr 2008;45:25-8.

5.???????????? Shiou SR, Yu Y, Chen S, et al. Erythropoietin protects intestinal epithelial barrier function and lowers the incidence of experimental neonatal necrotizing enterocolitis. J Biol Chem 2011;286:12123-32.

6.???????????? Arsenault JE, Webb AL, Koulinska IN, Aboud S, Fawzi WW, Villamor E. Association between breast milk erythropoietin and reduced risk of mother-to-child transmission of HIV. J Infect Dis 2010;202:370-3.

7.???????????? Claud EC, Savidge T, Walker WA. Modulation of human intestinal epithelial cell IL-8 secretion by human milk factors. Pediatr Res 2003;53:419-25.

?

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต

 

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สารที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ vascular endothelial growth factor (VEGF) สารนี้จะมีผลต่อการสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยจะพบว่าปริมาณของ VEGF จะสูงในหัวน้ำนม1 ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงในเรื่องตาบอดจากภาวะ retinopathy of prematurity (ROP) ซึ่งเกิดจากการให้ออกซิเจนและการทำงานที่ผิดปกติของการเจริญของหลอดเลือดของจอประสาทตา2,3 การให้ทารกได้กินนมแม่จะช่วยให้กลไกการสร้างหลอดเลือดเป็นปกติและเชื่อว่าอาจลดภาวะแทรกซ้อนของการเกิด ROP ได้

หนังสืออ้างอิง

?

1.???????????? Loui A, Eilers E, Strauss E, Pohl-Schickinger A, Obladen M, Koehne P. Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) and soluble VEGF receptor 1 (sFlt-1) levels in early and mature human milk from mothers of preterm versus term infants. J Hum Lact 2012;28:522-8.

2.???????????? Reynolds JD. The management of retinopathy of prematurity. Paediatr Drugs 2001;3:263-72.

3.???????????? DiBiasie A. Evidence-based review of retinopathy of prematurity prevention in VLBW and ELBW infants. Neonatal Netw 2006;25:393-403.

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยการเจริญเติบโตเนื้อเยื่อ

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ได้แก่? สารในกลุ่มของ insulin-like growth factor ชนิดของ insulin-like growth factor จะมี insulin-like growth factor-1(IGF-1) และ insulin-like growth factor-2 (IGF-2) สารเหล่านี้พบในน้ำนมโดยจะพบมากในหัวน้ำนมและลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป1-3 ลักษณะของ insulin-like growth factor ในน้ำนมจะจับกับโปรตีนและเอนไซม์ การออกฤทธิ์จะช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและลดความรุนแรงในการเกิดการฝ่อของลำไส้4,5 นอกจากนี้ IGF-1 ยังออกฤทธิ์ช่วยป้องกัน enterocyte จากการถูกทำลายโดย oxidation stress6 และการให้ IGF-1 จะช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดได้7

หนังสืออ้างอิง

1.????? Blum JW, Baumrucker CR. Colostral and milk insulin-like growth factors and related substances: mammary gland and neonatal (intestinal and systemic) targets. Domest Anim Endocrinol 2002;23:101-10.

2.????? Burrin DG. Is milk-borne insulin-like growth factor-I essential for neonatal development? J Nutr 1997;127:975S-9S.

3.????? Milsom SR, Blum WF, Gunn AJ. Temporal changes in insulin-like growth factors I and II and in insulin-like growth factor binding proteins 1, 2, and 3 in human milk. Horm Res 2008;69:307-11.

4.????? Peterson CA, Gillingham MB, Mohapatra NK, et al. Enterotrophic effect of insulin-like growth factor-I but not growth hormone and localized expression of insulin-like growth factor-I, insulin-like growth factor binding protein-3 and –5 mRNAs in jejunum of parenterally fed rats. JPEN J Parenter Enteral Nutr 2000;24:288-95.

5.????? Murali SG, Nelson DW, Draxler AK, Liu X, Ney DM. Insulin-like growth factor-I (IGF-I) attenuates jejunal atrophy in association with increased expression of IGF-I binding protein-5 in parenterally fed mice. J Nutr 2005;135:2553-9.

6.????? Elmlinger MW, Hochhaus F, Loui A, Frommer KW, Obladen M, Ranke MB. Insulin-like growth factors and binding proteins in early milk from mothers of preterm and term infants. Horm Res 2007;68:124-31.

7.????? Kling PJ, Taing KM, Dvorak B, Woodward SS, Philipps AF. Insulin-like growth factor-I stimulates erythropoiesis when administered enterally. Growth Factors 2006;24:218-23.

?

?

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหาร

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหารในนมแม่ ได้แก่ neuronal growth factor ในการพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหารต้องอาศัยการทำงานของ neurotrophic factor จากสมองและจาก glial cell-line ซึ่งจะกระตุ้นทำให้การบีบตัวของลำไส้ (peristalsis) และทำให้ลำไส้ทำงานปกติ1,2 โดยระบบการทำงานนี้จะพบได้บ่อยว่าทำงานไม่สมบูรณ์ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด สารที่ช่วยการเจริญเติบโตเหล่านี้ร่วมกับ ciliary neurotrophic factor ที่พบในน้ำนมในช่วง 90 วันหลังคลอดจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและช่วยให้อัตราการรอดชีวิตของเซลล์ประสาทสูงขึ้น3,4

?

หนังสืออ้างอิง

1.????? Rodrigues DM, Li AY, Nair DG, Blennerhassett MG. Glial cell line-derived neurotrophic factor is a key neurotrophin in the postnatal enteric nervous system. Neurogastroenterol Motil 2011;23:e44-56.

2.????? Boesmans W, Gomes P, Janssens J, Tack J, Vanden Berghe P. Brain-derived neurotrophic factor amplifies neurotransmitter responses and promotes synaptic communication in the enteric nervous system. Gut 2008;57:314-22.

3.????? Li R, Xia W, Zhang Z, Wu K. S100B protein, brain-derived neurotrophic factor, and glial cell line-derived neurotrophic factor in human milk. PLoS One 2011;6:e21663.

4.????? Fichter M, Klotz M, Hirschberg DL, et al. Breast milk contains relevant neurotrophic factors and cytokines for enteric nervous system development. Mol Nutr Food Res 2011;55:1592-6.

?

?

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -สารที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้ ได้แก่ ?epidermal growth factor ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในน้ำคร่ำและน้ำนม1,2 สารนี้จะทนทานต่อภาวะกรดในกระเพาะและทนทานต่อเอนไซม์ในลำไส้เล็กจึงผ่านไปถึงลำไส้เล็กได้และกระตุ้นเซลล์ของลำไส้ (enterocyte) ให้เพิ่มการสังเคราะห์ดีเอนเอ การแบ่งเซลล์ การดูดกลับของน้ำและน้ำตาล และการสังเคราะห์โปรตีน3,4 นอกจากนี้ยังมีผลด้านการยับยั้งกระบวนการการเสื่อมและการเสียชีวิตของเซลล์ (programmed cell death) การปรับให้โปรตีนที่เชื่อมรอยต่อระหว่างตับกับลำไส้จัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม5 และ epidermal growth factor บางตัว คือ heparin-binding epidermal growth factor จะช่วยรักษาความเสียหายจากผลของการขาดออกซิเจน หรือการขาดเลือดไปเลี้ยงของเซลล์ได้ รักษาอาการบาดเจ็บจากการเสียเลือด อาการช็อก และ necrotizing enterocolitis6 ปริมาณของ epidermal growth factor ในน้ำนมจะมีมากในน้ำนมระยะแรกและค่อยๆ ลดลง โดยจะมีความเข้มข้นในหัวน้ำนม? (colostrum) มากเป็น? 2000 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำนมในระยะสมบูรณ์ (mature milk) และมากเป็น 100 เท่าเมื่อเทียบกับปริมาณในกระแสเลือดมารดา ยิ่งกว่านั้น ในน้ำนมของมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดจะพบ epidermal growth factor สูงกว่าในน้ำนมมารดาที่คลอดทารกครบกำหนด ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนดเหล่านี้7,8

หนังสืออ้างอิง

1.????? Wagner CL, Taylor SN, Johnson D. Host factors in amniotic fluid and breast milk that contribute to gut maturation. Clin Rev Allergy Immunol 2008;34:191-204.

2.????? Hirai C, Ichiba H, Saito M, Shintaku H, Yamano T, Kusuda S. Trophic effect of multiple growth factors in amniotic fluid or human milk on cultured human fetal small intestinal cells. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2002;34:524-8.

3.????? Chang CJ, Chao JC. Effect of human milk and epidermal growth factor on growth of human intestinal Caco-2 cells. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2002;34:394-401.

4.????? Read LC, Upton FM, Francis GL, Wallace JC, Dahlenberg GW, Ballard FJ. Changes in the growth-promoting activity of human milk during lactation. Pediatr Res 1984;18:133-9.

5.????? Khailova L, Dvorak K, Arganbright KM, Williams CS, Halpern MD, Dvorak B. Changes in hepatic cell junctions structure during experimental necrotizing enterocolitis: effect of EGF treatment. Pediatr Res 2009;66:140-4.

6.????? Radulescu A, Zhang HY, Chen CL, et al. Heparin-binding EGF-like growth factor promotes intestinal anastomotic healing. J Surg Res 2011;171:540-50.

7.????? Dvorak B, Fituch CC, Williams CS, Hurst NM, Schanler RJ. Increased epidermal growth factor levels in human milk of mothers with extremely premature infants. Pediatr Res 2003;54:15-9.

8.????? Dvorak B, Fituch CC, Williams CS, Hurst NM, Schanler RJ. Concentrations of epidermal growth factor and transforming growth factor-alpha in preterm milk. Adv Exp Med Biol 2004;554:407-9.

?

?

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)