คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ภาวะลิ้นติด (tongue-tie) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะลิ้นติดเป็นภาวะที่ทีมแพทย์ผู้ดูแล คุณแม่และครอบครัวมีความวิตกกังวลถึงผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบมีอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 1.7-10.72-4 เนื่องจากมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่หลากหลาย โดยมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี และการหยุดนมแม่เร็ว นอกจานี้ยังอาจพบมีความยากในการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ T, D, Z, S, N, J, L, CH, TH, DG และ R4,5 แต่ไม่ได้พบว่าเป็นสาเหตุของการพูดช้า5 สำหรับการเลือกทารกที่ควรจะได้รับการผ่าตัดรักษา โดยจากข้อมูลในปัจจุบันจะใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดร่วมกับการมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยวัดคะแนนการเจ็บเต้านม คะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือคะแนนการเข้าเต้า โดยการผ่าตัดรักษานิยมใช้การผ่าตัด frenotomy หรือ frenulotomy ผลลัพธ์ของการรักษาได้ผลดีและไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง2,3,6

 

หนังสืออ้างอิง

 

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

3.???????????? Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

4.???????????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

6.???????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

?

 

LATCH score (คะแนนการเข้าเต้า)

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีจุดเริ่มต้นที่การเข้าเต้า ขั้นตอนการเข้าเต้าจะมีการประเมิน ดังตารางที่ 1 โดยหากคะแนนการเข้าเต้ามากกว่า 8 ขึ้นไปจะสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ตารางที่ 1 การประเมินคะแนนการเข้าเต้าหรือ LATCH score

? คะแนน

รายละเอียด

Latch

2

อมเต้านมได้ถูกต้องคือ ปากอ้ากว้าง ริมฝีปากล่างไม่เม้มเข้า คางแนบเต้านม อมลึกถึงลานหัวนมและสามารถดูดนมได้เป็นจังหวะ

1

อมไม่ลึกถึงลานหัวนม อมแค่ระดับหัวนม

0

ไม่สนใจหรือง่วงซึม ไม่อมเต้านม
Audible

2

ได้ยินกลืนน้ำนมดังฟังชัด เป็นจังหวะ

1

ได้ยินกลืนน้ำนมไม่ชัดเจน

0

ไม่ได้ยินเสียงกลืนน้ำนม
Type of nipples

2

ปกติ

1

มีความผิดปกติบ้าง แต่ไม่มาก

0

หัวนมบอด บุ๋มหรือใหญ่มาก หรือเต้านมหรือลานหัวนมแข็ง
Comfort

2

สะดวกสบาย ไม่เจ็บปวด เวลาให้นมหรือหลังให้นมลูก

1

มีความไม่สะดวกสบายบ้าง แต่ไม่มาก

0

ไม่สะดวกสบายหรือเจ็บปวดขณะให้นมหรือหลังให้นม ซึ่งได้จากทั้งการสอบถามหรือการตรวจร่างกายพบเต้านมเป็นแผลหรือมีเต้านมคัดมากหรือมีลักษณะของการอักเสบหรือเป็นหนอง
Hold

2

อุ้มเด็กตะแคงตัวหันหน้าเข้าหาแม่แนบชิด ท้องแนบท้อง ใช้มือประคองเต้านมได้ถูกต้อง ทำท่าเข้าเต้าได้ดีและสะดวกสบาย ไม่เมื่อยไม่ปวด

1

ประคองทารกได้ดีปานกลาง ส่วนใหญ่ถูกต้อง แต่มีบางส่วนต้องแก้ไข

0

ประคองทารกผิด ทำให้เข้าเต้าไม่ดี หรือเกิดความไม่สะดวกสบายหรือปวดเมื่อย

แนวทางในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

 

 

? ? ? ? ? นมแม่เป็นอาหารสำหรับทารกแรกเกิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาตลอดช่วงสองร้อยล้านปี ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาตลอดช่วงสองร้อยล้านปีลักษณะของนมสัตว์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันตามการดำรงชีวิต ความแตกต่างของโปรตีนและไขมันที่ทำให้เหมาะสมในช่วงเวลาที่ให้ในระหว่างวัน โดยที่ลักษณะหนึ่งของนมแม่ที่เหมือนกันคือ นมแม่มีสารอาหาร ภูมิคุ้มกัน สารชีวภาพ และสารอื่นๆ ที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ปกป้องการติดเชื้อที่ส่งต่อให้เกิดการดำรงเผ่าพันธุ์มาจนทุกวันนี้

? ? ? ? ? ?นมแม่ดีมีประโยชน์ และได้รับการใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการเลี้ยงทารก1 โดยตั้งแต่ พ.ศ.2522 องค์การอนามัยโลก แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ให้อาหารอื่น แม้แต่น้ำในระยะทารกอายุ 4-6 เดือนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2544 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม2 จึงเริ่มป้อนอาหารอื่น และน้ำ พร้อมกินนมแม่ควบคู่ไปด้วย จนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น การดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2549) ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน อย่างน้อยร้อยละ 30?แต่ถ้าติดตามผลการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2536-2544 พบตั้งแต่ร้อยละ 1.0-16.33 ซึ่งตัวเลขของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่บรรลุเป้าหมาย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ความรู้ของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาชีพของมารดาทั้งก่อนและหลังการมีบุตรคนล่าสุด ภาวะผิดปกติหรืออาการแทรกซ้อนของเด็กขณะอยู่ในโรงพยาบาล ระยะเวลาที่คิดจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา ความพึงพอใจของมารดาที่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การได้รับการสนับสนุนจากสามี การให้ลูกสัมผัสและดูดนมแม่ในชั่วโมงแรกของชีวิต การปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาได้รับคำแนะนำจากสถานบริการ การได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่และการมีกลุ่มช่วยเหลือแม่ในหมู่บ้าน3-5

? ? ? ? ? ? เมื่อทบทวนอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยการสนับสนุนของยูนิเซฟในปี 2550 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนจากการสำรวจ 43000 ครัวเรือน พบว่ามีเพียงร้อยละ 5.46? ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำที่สุดในโลก6 ?สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ทุกคนต่างเห็นประโยชน์ แต่ในการปฏิบัติจริงกลับมีผู้ที่ปฏิบัติได้เพียงจำนวนน้อย คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ?เมื่อเห็นคุณค่าของนมแม่แล้วใยไม่นำไปใช้ประโยชน์? ปัญหาอุปสรรคคืออะไร? จากการศึกษาและวิเคราะห์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ปัญหาทางด้านกายภาพและสุขภาพของมารดาและทารก และปัญหาด้านพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาและครอบครัว

ปัญหาและแนวทางสนับสนุน

? ? ? ? ? ?ปัญหาทางด้านกายภาพของเต้านมมารดาที่พบบ่อยตั้งแต่ก่อนและในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ หัวนมบอด หัวนมสั้นและหัวนมบุ๋ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หากมีการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้นฝากครรภ์ในระยะแรก7 ให้การแก้ไขด้วยการกระตุ้นดึงหัวนม (Hoffman maneuver) หรือใช้เครื่องมือช่วยดูดหัวนม (Nipple puller) จะสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได้

? ? ? ? ? ?ปัญหาทางด้านกายภาพของเต้านมมารดาที่พบบ่อยในระยะหลังคลอด ได้แก่ หัวนมแตก เต้านมอักเสบและเป็นหนอง ซึ่งเกิดจากลักษณะการดูดนมแม่ของลูกไม่เหมาะสม การป้องกันและแก้ไขต้องอาศัย การเรียนรู้ของมารดาจากการเอาใจใส่ในการสอนของผู้สอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าที่เหมะสม การให้ลูกอมหัวนมและลานหัวนม งับแล้วใช้เหงือกกดบริเวณลานหัวนมด้านบนร่วมกับใช้ลิ้นกดลานหัวนมด้านล่าง ขณะดูดนมกล้ามเนื้อลิ้นจะหดตัวจากปลายไปสู่โคนเกิดจังหวะการดูดนมเป็นระลอก7 ทำให้น้ำนมไหลออกดีผิดกับการดูดนมที่ลูกดูดนมเฉพาะนม น้ำนมจะไม่ค่อยออก ลูกก็ต้องดูดแรงขึ้น เกิดแผลแตกที่หัวนม และเมื่อมีการติดเชื้อจากบริเวณผิวหนังเข้าไปในแผลก็ทำให้เกิดเต้านมอักเสบและเป็นหนองได้

? ? ? ? ? ? ปัญหาทางด้านสุขภาพของมารดา มารดามีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ มีการติดเชื้อเอชไอวี ติดเชื้อวัณโรคที่ยังไม่ได้รับการรักษา ติดเชื้องูสวัดบริเวณผิวหนังที่เต้านม หรือมีการใช้ยาต้านมะเร็ง ยาที่มีสารรังสี ยาเสพติดและแอลกอฮอล์??????? การให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในคุณแม่เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียของการเลือกให้นมแม่ แต่สำหรับสารเสพติดและแอลกอฮอล์หากงดแล้ว ก็สามารถให้นมแม่ได้

? ? ? ? ? ? ปัญหาทางด้านกายภาพและสุขภาพของทารกแรกเกิดที่พบได้แก่ ภาวะลิ้นติด (Tongue tie) ปากแหว่งเพดานโหว่ หายใจเร็ว ทารกตัวเหลืองหรือจำเป็นต้องย้ายเข้าดูแลในหอผู้ป่วยทารกวิกฤต ปัญหาเหล่านี้จะรบกวนกลไกการดูดนมแม่ หรืออาจชะลอการให้กระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก หากแต่มีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจให้นมแม่โดยการป้อนด้วยแก้วก่อนระหว่างรอการแก้ไขในแต่ละปัญหา

? ? ? ? ? ? ปัญหาทางด้านการเลี้ยงดูของมารดา ปัญหานี้ส่วนใหญ่เข้าใจว่ามารดารู้ว่านมแม่มีประโยชน์แต่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติจริง ขั้นตอนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ ย้ำเรื่องประโยชน์และความเพียงพอของนมแม่ที่มีให้กับลูกทุกคนหากให้ถูกวิธี เมื่อมารดามีความตั้งใจ มุ่งมั่นแล้ว จุดเริ่มต้นอีกจุดคือ หลังคลอดทันทีหรือภายในครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงแรกควรให้มารดาและบุตรได้สัมผัสกัน สร้างสายใยสายสัมพันธ์ระหว่างกันและกระตุ้นการให้นมแม่เลย2,4 จากจุดนี้ติดตามต่อโดยการให้การกระตุ้นนมแม่ทุกสองหรือสามชั่วโมง และให้มารดาอยู่ร่วมกับทารกตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล (Rooming-in) 2,4 ?ขณะที่มารดาและบุตรอยู่ด้วยกันก็สร้างให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายใต้การเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์ จนกระทั่งมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างถูกต้อง ถูกท่า สบายและสามารถให้ได้นานพอ และน้ำนมพอก่อนกลับบ้าน เมื่อมารดากลับบ้านไปแล้ว การเปิดช่องทางให้มีการปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การมีสายด่วนนมแม่รับปรึกษาปัญหาการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอด 24 ชั่วโมง การมีคลินิกนมแม่เพื่อรับแก้ปัญหาในกรณีที่คุณแม่ต้องการผู้ฝึกหัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ การเยี่ยมบ้านของทีมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่จะช่วยค้นหาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำการแก้ไขเชิงรุก

? ? ? ? ? ? ปัญหาทางด้านการเลี้ยงดูของครอบครัว ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่ โดยในบ้านจะมีหลักของครอบครัวเป็นผู้นำความคิด อาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า หรือสามี บุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับความรู้เรื่องประโยชน์ของนมแม่ ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเชิญชวนมาเป็นแนวร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จะมีศักยภาพในการบริหารจัดการ สอดส่องดูแลเอาในใส่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาขณะที่อยู่ที่บ้าน และเป็นผู้ช่วยในกรณีมารดาต้องไปทำงาน ปัญหาเรื่องมารดาต้องไปทำงานก็เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่ต้องสอนให้มารดารู้จักบีบนมแม่และรู้จักเก็บรักษาอย่างถูกต้อง นมแม่ในอุณหภูมิปกติจะเก็บไว้ได้นาน 6 ชั่วโมง เก็บไว้ในกระติกใส่น้ำแข็งได้นาน 24 ชั่วโมงหากไม่มีตู้เย็นที่ทำงาน เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้นาน 5-8 วัน เก็บไว้ในช่องแข็งในตู้เย็นชนิดประตูเดียวได้นาน 2 สัปดาห์ เก็บไว้ในช่องแข็งในตู้เย็นชนิดประตูแยกได้นาน 3-6 เดือน และในกรณีที่นำนมแม่ที่แช่แข็งออกมาปล่อยให้ละลายเก็บไว้ได้นาน 24 ชั่วโมง2 การรู้จักเก็บรักษานมแม่จะมีส่วนช่วยอย่างมากในกรณีที่มารดาต้องไปทำงาน? การบีบเก็บนมแม่จะช่วยคงการกระตุ้นนมแม่ระหว่างวัน โดยมารดาอาจใช้เวลาช่วงพักหรือเข้าห้องน้ำบีบเก็บนมแม่เก็บเข้ากระติกน้ำแข็งหรือตู้เย็นที่ทำงาน แล้วนำมาเก็บเข้าช่องแข็งของตู้เย็นที่บ้านในกรณีที่จะเก็บไว้นาน สำหรับในสถานประกอบการที่มีมุมนมแม่ก็มีส่วนช่วยสนับสนุนให้มารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดียิ่งขึ้น

? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ การช่วยสนับสนุนจากนโยบายสุขภาพของรัฐบาลที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน การอนุญาตให้ลาพักหลังคลอดเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับเครือข่ายขององค์กร สถานประกอบการที่มีแนวทางในฝ่ายบุคคลเพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีมุมนมแม่ในโรงงานและห้างสรรพสินค้า โดยนโยบายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างเสริมให้เกิดทรัพยากรที่ดีและมีคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต

สรุป

? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เป็นสิ่งที่ทั่วโลกยอมรับ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนนั้นต้องวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนได้ โดยปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาทางด้านกายภาพและสุขภาพของมารดาและทารก และปัญหาด้านพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาและครอบครัว ซึ่งแต่ละปัญหาต้องอาศัยความใส่ใจของมารดา ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ ร่วมกับนโยบายสุขภาพของรัฐบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือสถานประกอบการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาบุคลากรของประเทศชาติ

?

เอกสารอ้างอิง

  1. Kramer MS, Kakuma R. The optimal duration of exclusive breastfeeding. A systemic review. WHO 2002.
  2. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008;54:343-411.
  3. จินตนา พัฒนพงศ์ธร,ศันสนีย์ เจตน์ประยุกต์. รายงานการวิจัยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย 2547.
  4. Keister D, Roberts KT, Werner KL. Strategies for breastfeeding success. Am Fam Physician 2008;78:225-32.
  5. Nelson AM. A metasynthesis of qualitative breastfeeding studies. J Midwifery Womens Health 2006;51:e13-20.
  6. Largest-ever survey on situation of children and women in Thailandshows progress and challenges. UNICEF. Accessed August 25, 2009, at: http://www.unicef.org/infobycountry/media_39098.html
  7. Zembo CT.Breastfeeding. Obstet Gynecol Clin North Am 2002;29: 51-76.

 

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

 

การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ??ในสังคมไทยปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีมาก จากข้อมูลการสำรวจการเลี้ยงลูกของ UNICEF ในปี 2550 พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเท่ากับร้อยละ 5.41 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำมาก การสร้างความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องสร้างความตะหนักแก่สังคมโดยความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยฝ่ายรัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างชัดเจนพร้อมการสื่อสารลงมาในองค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการดูแลส่งเสริมในด้านปฏิบัติ มีการติดตามข้อมูลอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดำเนินการซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มการอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน ในฝ่ายเอกชนและผู้ประกอบการจะมีส่วนในด้านการสนับสนุนการลาหลังคลอดบุตรเพื่อให้แม่ให้นมลูกร่วมกับหลังแม่กลับมาทำงาน การจัดสถานที่ให้แม่สามารถมีสถานที่ในการเก็บน้ำนมระหว่างการทำงานหรือจัดสถานเลี้ยงเด็กเล็กให้แม่สามารถมาให้นมลูกระหว่างการทำงานได้ นอกจากนี้ การจัดมุมนมแม่ในสถานที่สาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อให้แม่ได้ให้นมลูกระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันได้อย่างสะดวก

ครอบครัว เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ด้วยครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายอยู่ร่วมกัน หรือแม้ไม่ได้อยู่ร่วมกันก็มีอิทธิพลอย่างมากในวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้ให้ผู้ใหญ่ในครอบครัวเข้าใจ และให้เขาเหล่านั้นมีบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยจะเป็นส่วนผลักดันกลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครอบครัวได้

สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการทางการแพทย์ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่จะให้ความรู้ คำปรึกษา คอยติดตาม ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหน่วยงานนี้มีข้อแนะนำ 10 ขั้นตอนในการสร้างความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 คือ

  1. เขียนนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสื่อสารให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทราบ
  2. ฝึกบุคลากรให้มีทักษะในการนำนโยบายมาปฏิบัติ
  3. แจ้งสตรีที่ตั้งครรภ์เกี่ยวกับประโยชน์และการดำเนินการเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  4. ช่วยให้แม่เริ่มการให้นมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
  5. สอนคุณแม่ให้รู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และรู้วิธีทำให้นมแม่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเมื่อจำเป็นต้องแยกจากลูก
  6. ไม่ให้น้ำหรืออาหารเสริมอื่นๆ นอกจากนมแม่ ยกเว้นมีความจำเป็นทางการแพทย์
  7. ให้แม่ได้อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง
  8. สนับสนุนให้ลูกได้ดูดนมตามความต้องการ
  9. ไม่ให้ทารกดูดหัวนมหลอกหรือดูดนมจากขวดนม
  10. สร้างทีมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อรับส่งต่อการดูแลหลังจากแม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน

ข้อแนะนำ 10 ขั้นตอนนี้ หากหน่วยงานปฏิบัติด้วยความเข้มงวดและสม่ำเสมอ ร่วมกับความร่วมมือในภาคส่วนอื่นๆ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยก็น่าจะสูงขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Largest-ever survey on situation of children and women in Thailandshows progress and challenges. UNICEF. [Cited August 25, 2009] Available from : http://www.unicef.org/infobycountry/media_39098.html
  2. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

นมแม่ มีประโยชน์สุด…สุด

นมแม่

 

? ? ? ? ? เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คำถามที่มักจะถูกถามว่า วางแผนจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไหม? คุณแม่บางคนอาจตอบโดยไม่ต้องใช้เวลาคิดว่า ?ตั้งใจ? กระบวนการการตัดสินใจนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่คุณแม่มีเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรามาเรียนรู้ในสิ่งนี้กันเถอะ

? ? ? ? ? ประโยชน์ของนมแม่ นอกจากการมีสารอาหารที่ครบถ้วนและมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ แล้ว ในเด็กที่กินนมแม่จะพบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้น้อยกว่าเด็กที่กินนมผง1 ได้แก่

– การอักเสบของหูชั้นกลาง

– การอับเสบของกระเพาะและลำไส้

– การอับเสบของลำไส้ชนิดเนื้อตาย (necrotizing enterocolitis)

– การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง

– หอบหืด

– การตายของทารกเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (sudden infant death syndrome)

– โรคผื่นแพ้ที่ผิวหนัง

? ? ? ? ?จะเห็นว่า เมื่อการเจ็บป่วยในทารกที่กินนมแม่พบน้อยกว่าในช่วงขวบปีแรก ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทารกจึงใช้น้อยกว่า ทำให้นอกจากประหยัดค่านมผงแล้ว ยังประหยัดค่ารักษาพยาบาลของทารกด้วย ส่วนผลในระยะยาวช่วยลดโอกาสการเกิด โรคอ้วน โรคเบาหวาน2และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็ก

? ? ? ? ?สำหรับผลดีที่พบในคุณแม่ที่ให้นมบุตร จะลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม3 แถมในระหว่างให้นมบุตรช่วงหกเดือนแรก หากให้นมแม่อย่างเดียว จะมีผลช่วยคุมกำเนิดได้ด้วย โดยโอกาสที่จะตั้งครรภ์มีน้อยเพียงร้อยละ 1-2

? ? ? ? ?เมื่อคุณแม่เห็นข้อดีต่างๆ มากมายเหล่านี้แล้ว น่าจะช่วยให้สามารถตอบคำถามว่า ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ด้วยความมั่นใจ และจูงใจให้คุณแม่และครอบครัวมีความมุ่งมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. Stuebe AM, Rich-Edwards JW, Willett WC, Manson JE, Michels KB. Duration of lactation and incidence of type 2 diabetes. JAMA 2005;294:2601-10
  3. Bernier MO, Plu-Bureau G, Bossard N, Ayzac L, Thalabard JC. Breastfeeding and risk of breast cancer: a metaanalysis of published studies. Hum Reprod Update 2000;6:374-86.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์